อ่านจาก screen บน tablet vs อ่านจากหนังสือจริง : ความแตกต่างของการทำงานของสมอง
วันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก มันคงเปลี่ยนไปตั้งแต่ยุคที่เริ่มมี internet และเริ่มมี mobile device ที่ทำให้การเข้าถึงข้อมูลง่ายแบบพลิกผ่ามือจริง ๆ เรียกว่าพอหยิบมือถือ อยากอ่านข้อมูลอะไรก็ search เลย และมันก็เลยไปจนถึงการอ่าน content หนังสือบนหน้าจอ tablet
คำถามหลายคำถามที่ทุกคนควรรู้ โดยเฉพาะเราที่เสพข้อมูล เราที่มีลูก หลานที่อ่านข้อมูลใน tablet เป็นกิจวัตรแทบจะแทนที่หนังสือกันเสียแล้ว
1. การอ่านบนหน้าจอ screen ให้ผลต่างจากการอ่านบนหนังสือจริง ๆ หรือไม่
2. การอ่านหน้าจอ screen จะทำให้มนุษย์เราเปลี่ยนวิถีและวิธีในการอ่านแบบดั้งเดิมหรือไม่
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 แล้วที่มีผู้ศึกษาที่มาจากศาสตร์ด้านจิตวิทยา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล บรรณารักษ์ สนใจในการหาคำตอบของความแตกต่าง ผลที่ได้ และผลกระทบของการอ่านจากหนังสือและการอ่านจากหน้าจอ tablet ซึ่งเห็นได้จากมีผลงานตีพิมพ์กว่า 100 ฉบับ ซึ่งอาจจะสรุปจากงานต่างๆ ได้โดยง่ายว่า การอ่านหนังสือผ่านหน้าจอ screen จะทำให้ อ่านได้ช้า แม่นยำน้อย และ ไม่เป็นที่ตอบสนองในทักษะการอ่านของเราอย่างแท้จริง แต่นั่นก็ยังสวนทางกับเปอร์เซนของการอ่านบน จอ screen ที่มีจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ
ความแตกต่างของการอ่านจากหนังสือและจอ screen มีให้เห็นเป็นประจักษ์จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และประสาทวิทยาสมอง หลายด้านดังนี้
1. Navigating textual landscape (ความแตกต่างในการสร้างแผนที่นำทางในสมอง)
สมองคนเราทำงานอย่างไรเมื่ออ่านหนังสือ ? สมองของมนุษย์ ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้อ่านหนังสือ แต่ในวิวัฒนาการอันยาวนาน มันถูกออกแบบมาให้มองและแปลภาพวัตถุ ดังนั้น ในระยะแรกเริ่มการประดิษฐ์ตัวอักษร (ยกตัวอย่าง อักษรดั้งเดิม "Sumarian cuneiform" ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะสิ่งของต่าง ๆ เช่น หัวคน ปลา ต้นไม้ เป็นต้น
เมื่ออ่านหนังสือ สมองจะรับรู้การอ่านตัวอักษรเป็นแบบ "physical landscape" หรือ เป็นแบบแผนที่ที่จับต้องได้ ซึ่งอาจเปรียบได้กับการเดินทางปีนเขา ที่จะมีการประมวลเส้นทาง ระยะ การเดินผ่าน และการก้าวย่างมองหลังและหน้าตลอดระยะทางที่ทำการเดินทาง นันเปรียบเหมือนการอ่านหนังสือที่จะมีการวางตำแหน่งของข้อมูลที่เราจะอ่าน มองเห็นหน้า ซ้ายและขวา มุมที้ง 8 ของหนังสือ ผู้อ่านสามารถเพ่งไปที่ข้อมูลที่สนใจโดยไม่สูญเสียการสังเกตไปยังข้อมูลแวดล้อม การพลิกไปทีละหน้าจะเปรียบเสมือนการก้าวย่างผ่านข้อมูลที่ได้รับรู้ไปแล้ว ไปยังข้อมูลถัดไป มันได้ย้ำให้เรารู้ว่า เราได้ก้าวย่างมาไกลแค่ไหนแล้ว
ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้การอ่านหนังสือ สามารถจะประมวลผลได้ดี ความจำแม่นยำ เสมือนการสร้าง "Mental map" หรือ "แผนที่ในสมอง" ซึ่งจะแตกต่าง จากการอ่านจาก screen ที่มีข้อจำกัดในการมองย้อน การประมวลผลโดยรวม และมันก็ส่งผลต่อความจำ
Anne Megan จาก University of Stanranger ได้ทดสอบเทียบนักศึกษา 2 กลุ่มที่ให้อ่านตัวหนังสือบน screen และ ตัวหนังสือจากหนังสือจริง เป็นจำนวน 1500 คำ พบว่า กลุ่มที่อ่านจากหนังสือจริง สามารถทำข้อสอบที่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้ดีกว่า นั่นทำให้เห็นว่า หากต้องการจดจำและทำข้อสอบให้ดี การอ่านหนังสือบน screen ไม่ใช่ทางออกที่ดีมากนัก
2. Sensory and tactile experience
การรู้สึกถึงสิ่งที่สัมผัสว่ามีอยู่จริง มีความสำคัญกว่า ที่เราคิดมากนัก ตัวหนังสือกระด้างบน screen ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่จริง และไม่เป็นเจ้าของข้อมูลดังกล่าว ส่วนตัวหนังสือที่พิมพ์บนกระดาษ เราสัมผัสกระดาษและตัวหนังสือที่ถูกพิมพ์ลงบนกระดาษที่แบนราบ กลิ่นหมีก เราสามารถพับงอกระดาษ และพลิกได้ด้วยมือเพียงข้างเดียว การได้ยินเสียงพลิกกระดาษจากโสตประสาทหูเป็นการกระตุ้นประบบประสาทรับความรู้สึกด้านต่าง ๆ (multisensory stimulation) ทำให้การรับรู้ อารมณ์และความจำดีขึ้น มันเป็น sense of reality อย่างแท้จริง
3. Exhaustive reading
นักจิตวิทยา ได้ให้เหตุผลของการจำข้อมูลใน paper และ screen 2 ประการ
- remembering something -> หมายถึงการรับรู้ และจำข้อมูลในรายละเอียดของข้อมูลซึ่งได้แก่ Where, when, how
- knowing something -> เป็นการรับรู้ข้อมูลที่รับรู้และรู้สึกได้ว่าจริงโดยไม่ต้องใช้ความจดจ่อในการจำมากนัก และการจดจำข้อมูลแบบนี้ จะติดทนนานไปกว่าแบบ remembering s.th เสียอีก
การอ่านบน screen ยังทำให้การอ่านมีความเหนื่อยล้ามาก เพราะจะต้องถูกเบี่ยงเบนความสนใจไปยังการค้นหา การให้ scroll การขยายตัวอักษร อีก ทำให้เกิดปัญหา หากมีอ่านข้อมูลเป็นประจำ อาจทำให้มีปัญหากับการจดจ่อได้
ทั้งที่กล่าวมา ไม่ใช้ว่า การอ่านข้อมูลบนหน้าจอ computer หรือ smart phone จะได้ดี เพราะการ generate content ที่เคลื่อนไหวได้ การอ่านข้อมูลที่เป็นบทความสั้น ๆ ก็เป็นประโยชน์ในการเสริมข้อมูลจากการอ่านหนังสือหลักได้เป็นอย่างดี เพราะอย่างไรคนเราก็คงหนี trend ไม่พ้น
บทความแปลและแก้ไข จาก Scientific American: The reading Brain in the Digital Age: the Science of Paper versus Screen 2013 by Ferris Jabr