surat tanprawate

View Original

Science Startup: Getting Science out of the Lab

การค้นอะไรใหม่ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น แต่การนำสิ่งที่ค้นพบออกมาใช้จริงได้แก่สังคม เป็นเรื่องที่น่า challenge และวิธีการของมันก็แทบจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการปิ้งแว้บไอเดียออกมาแล้วก็ปั้นออกมาเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสารที่มี Impact Factor สูงลิบลิ่ว 

การจะ spinning out science ออกจากการทำงานด้านวิชาการไม่ใช่เรื่องใหม่ หน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นอย่าง Technology Transfer Officers (TTOs) มีอยู่ในทุกมหาวิทยาลัย เพื่อเป้าหมายในการนำงานวิจัยที่วางอยู่บนหิ้งมาใช้งานจริงในตลาดจริงๆ และจุดมุ่งหมายของ TTOs เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองที่จะคอยสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยอีกทางนึง 

แต่ การที่จะนำการค้นพบ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่มีการทดลองในสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดเพื่อขจัดปัจจัยที่เรียกว่า confounding factors แล้วนำมาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง กลับมีเปอร์เซ็นต์ในการประสบความสำเร็จต่ำเสียน่าตกใจ จนหลายๆ คนนิยามการกระโดดจากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ว่าเป็น “Valley of Dealth” หรือหุบเขาแห่งความตายที่จะกระโดดข้ามไปที ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ประเด็นสำคัญของการล้มเหลวในการ Transfer research to market หลัก ๆ คือ โจทย์วิจัยทำในสิ่งที่ไม่แก้ปัญหาของตลาด ถ้าไม่นับการทดลองผลิตยาที่เป็นการค้นพบในการแก้ปัญหาในการรักษาโรคอย่างตรงไปตรงมาแล้ว การทดลองวิจัยอื่น ๆ แทบจะไม่ประสบความสำเร็จเอาเสียเลย  หรืออาจเรียกได้ว่า “สร้างของดี แต่อาจจะไม่มีคนซื้อ” นั่นคือประเด็นอยู่ที่ market validation และ market size และสิ่งนี้แทบจะเรียกได้ว่า ต้องอาศัยทักษะและความรู้ของการเป็นผู้ประกอบการนอกเหนือจากการเป็นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นที่การทดสอบสมมุติฐานและทักษะการวิพากษ์และเขียนงาน paper ลงตีพิมพ์

เมื่อโลกเปลี่ยนไป และหมุนไวกว่าเดิม การสร้างนักวิทยาศาสตร์ และ นักวิจัย ที่มีวิธีคิดที่แตกต่างและใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบ เริ่มด้วยปัญหามาก่อน (problem-led) แล้วใช้วิธี approche ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบ startup จึงเป็นจุดเปลี่ยน ไม่สิ เป็นจุดรอด ของนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ที่ต้องมีเป้าเป็นการตอบโจทย์ตลาดและสังคม หรือเราเรียกนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ว่า “Science Startup” 

Life of Science Startup by Adriana Tajonar (2014)

ยกตัวอย่าง London-based Deep Science Venture (DSV) ที่เป็น venture-focused science institute ที่มองหาทางแก้ปัญหาในเรื่อง Alzheimer’s disease, antimicrobial resistance มาก่อน จากนั้น ขบวนการระดมผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ ที่มีความเข้าใจในการประกอบธุรกิจและการบ่มเพาะแบบ startup จึงเริ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และเขาก็นำทีมเข้า accelerator programme โดยที่ให้ทีมนำเสนอ ideas ในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย แล้ว seed เงินทุนลงไปเพื่อพัฒนา prototype ผ่านการทดลองวิจัย จนออกมาเป็น Living neural implants, efficient bioprocessing และ one-day antibody design

ในการแข่งขัน Helsinki Challenge เป็นการเข่งขันที่เป็น science-based competition และ accelerator ที่รวบรวมนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักพัฒนา ที่มีแนวคิดแบบ science startup เพื่อเฟ้นหากลุ่มผู้ประกอบการนักคิดค้น เป้าหมายในการช่วย UN Sustainable Development 

Mikael Sokero นักวิจัยและเจ้าของโครงการ Demos Helsinki ได้บอกว่า แนวทางการ approach แบบนี้ไม่เป็นเพียงการนำงานวิจัยและวิทยาศาสตร์มาถ่ายทอดสู่เชิงพาณิชย์เท่านั้น แต่มันเป็นการเปิดแนวทางการทำงานของนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ ให้มาแก้ปัญหาของโลกให้เร็วขึ้น กว้างขวางขึ้น และ เปลี่ยนจากผู้สังเกตการเป็นไปของโลก มาเป็นผู้ลงมือและเกี่ยวเนื่องกับการใช้ผลิตผลแห่งงานวิจัยที่แก้ปัญหาตรงประเด็นและแท้จริงได้มากขึ้น 

Dave Messina ที่จบการศึกษาจากโปรแกรม Genomics และเริ่มจากที่เข้ามาเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านยีน แต่เพียงเริ่มไปได้ไม่นาน Messina ก็พบว่า การที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านยีนที่แสนสมาร์ทและตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ รวมถึงอยู่ในวงการวิชาการนั้นมันไม่ได้เป็นไปตามฝันเขานัก จนในที่สุดเขาก็ได้ออกมาทำ PhD  ด้าน computational biology ที่พัฒนา software ที่ทำการวิเคราะห์ยีน และก่อตั้งบริษัทชื่อ Cofactor Genomics โดยได้รับเงินลงทุนและการเริ่งการเติบโตโดย Y Combinator (https://cofactorgenomics.com)

เดี๋ยวนี้ในมหาวิทยาลัยที่มีการผลิตแพทย์ ก็ได้เริ่มมีการมุ่งเน้นด้านนวัตกรรมและการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ร่วมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยให้มีความเป็นนวัตกรมากยิ่งขึ้น 

ตัวอย่างจาก StartX ที่มีส่วนทางการแพทย์ StartX Med (https://startx.com/med) ในการบ่มเพาะและขยายผลให้เกิดนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริงมากมาย รวมถึงการดึงผู้ประกอบการมาอยู่ในโครงการ accelerator ของมหาวิทยาลัยและก่อกำเนิด ecosystem ในมหาวิทยาลัย Standford ขึ้น โดยที่มีการพัฒนาให้เป็น problem-led organization และเชื่อมโยง ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมแก้ปัญหาและนำออกสู่ตลาดเพื่อขยายผลงานออกสู่เชิงพาณิชย์ให้มากที่สุด 

จริง ๆ แล้ว การทำงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ค้นหาและทดสอบสิ่งที่เป็นพื้นฐานของธรรมชาติและมนุษย์ ก็มีความสำคัญมาก แต่หากจะขยายขอบเขตออกมาสู่สังคมแบบใช้นวัตกรรมได้จริงและฉับไว คงต้องคิดแบบ science startup เพื่อจะได้ไม่ออกแรงกระโดดมากเท่าไหร่ ก็ตก Valley of Dealth อยู่ร่ำไป

Reference

  1. https://www.forbes.com/sites/gemmamilne/2018/08/08/want-to-start-a-science-startup-find-a-problem-not-a-discovery/#30646b962b15

  2. https://www.ycombinator.com/library/3y-how-scientists-can-thrive-in-the-startup-world

  3. https://www.hottopics.ht/16111/top-science-startups-supercharge-science-tech-industry/

  4. https://cofactorgenomics.com