Default Alive or Default Dead : รอวันโต หรือ รอวันตาย - สิ่งที่ผู้ก่อตั้ง startup ต้องรู้ก่อนสาย
ในช่วง 6 ปีทีผ่านมา ผมได้มีโอกาสฟัง การนำเสนอ pitching เป็น coach ให้แก่ start-up หรือ ธุรกิจแบบ SMEs หลายราย ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจนวัตกรรม ที่ต้องการสร้างสิ่งใหม่เข้าสู่ตลาด ตามความฝันที่ถูกผล้กดันด้วยแรงเหวี่ยงของสังคม หรือ ได้ทุนในการพัฒนาตามนโยบายรัฐบาลหรือองค์กรของตัวเอง
ธุรกิจทางสุขภาพ คือธุรกิจส่วนใหญ่ที่ได้มีโอกาสดูแลผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Health Hackatthon, Incubation Program, Coaching student ที่เรียน primary school หรือ คณะด้านการบริหารจัดการนวัตกรรม และ startup หรือ ธุรกิจต่าง ๆ ก็มีตั้งแต่ Ideas, MVP, early business, หรือ growth stage
สิ่งสำคัญที่ได้พบสำหรับผู้ที่ได้ดำเนินธุรกิจ startup หรือ innovation คือ เราจะพบว่า บางธุรกิจนั้น ดูท่าจะไปไม่น่ารอด ในขณะที่บางธุรกิจนั้น มีแนวหรือว่ามันไปได้แน่ ๆ และสิ่งนี้ Paul Graham ผู้ที่เป็น co-founder ของโปรแกรมบ่มเพาะ startup ชื่อดัง Y Combinator ได้กล่าวไว้ว่า มันคือลักษณะของบริษัทที่เป็น บริษัท “Default Alive หรือ รอวันโต” และในทางตรงข้าม อีกบริษัทคือ “Default Dead หรือ รอวันตาย”
เมื่อไหร่จะรู้ว่าฉันรอวันอะไร? Dead or Alive
สิ่งที่สอบถามผู้ประกอบการว่า รู้ไหมว่า ธุรกิจจะรอดหรือไม่ คำตอบส่วนใหญ่สำหรับผู้ที่ตั้งธุรกิจมาระยะนึงแล้วกลับบอกว่า “ไม่รู้” เมื่อถามว่าทำไมไม่รู่ ก็บอกว่า “ยังไม่ได้คิด”
“ในเมื่อคนที่ไม่เคยล้ม เค้าอาจจะไม่รู้ว่า การล้มเจ็บเพียงใด” เฉกเช่นเดียวกับการดำเนินธุรกิจ คนที่ไม่เคยผ่านความท้าทายมาก่อนย่อมไม่ทราบว่า ความท้าทายฝ่าคลื่นมรสุมลมแรงในการทำธุรกิจคืออะไร ทั้งเรื่องการการคาดการณ์ การจัดการทีมงาน การจัดการกระแสเงินสด หรือ การจัดการกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะ ธุรกิจ startup ที่ผู้ก่อตั้งมักคาดการณ์เกินจริง และการดีด feasibility อาจไม่แม่นยำเพราะทุกสิ่งเป็นความใหม่
การคาดการณ์ในระยะ Idea stage และ Prototype
เมื่อทีมมีความคิดและ idea ใหม่ ๆ ในการผลิตนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนา prototype หรือ minimally viable product การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Creative Design Thinking Process) ได้แก่ การประเมินความเป็นไปได้ของการสร้างนวัตกรรม โดยประเมินจาก 3 มุมมองของความเป็นไปได้ ได้แก่ 1) designrability (ความเป็นไปได้ด้านตลาดและความต้องการของผู้ใช้งาน) ( 2) viability (ความเป็นไปได้ทางธุรกิจและผลกำไร) 3) feasibility (ความเป็นไปได้เชิงเทคนิคและการพัฒนา) แต่เมื่อผ่านระยะในการสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ว การคาดการณ์ว่าจะไปรอดไหมจะมีปัจจัยอื่นมาช่วยกำหนดว่าจะโต หรือ จะตายกันแน่
สำหรับ coach แล้ว การรู้ว่า ธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่นั้น เป็น Default Alive หรือ Default Dead เป็นสิ่งสำคัญ
เหตุผลที่ผมอยากรู้ว่าสตาร์ทอัพเป็น Default Alive หรือ Default Dead ก่อนก็คือ การสนทนาที่เหลือขึ้นอยู่กับคำตอบ
หากบริษัทเป็น Default Alive เราสามารถพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งใหม่ที่ทะเยอทะยานที่พวกเขาสามารถทำได้
หากเป็น Default Dead เราอาจต้องพูดคุยเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือบริษัท เราทราบว่าวิถีการในปัจจุบันจะจบลงไม่ดี แล้วพวกเขาจะเปลี่ยนวิถีทางนั้นได้อย่างไร?
สำหรับธุรกิจที่เป็น Default Dead นั้นมีหลายปัจจัย ซึ่งสามารถมีมุมมองในการคาดการณ์จากการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยสิ่งที่สังเกตได้
การเติบโตเป็นไปอย่างเนิบช้า บางทีอาจหวือหวาในช่วงแรก แต่แล้วก็ชะลอหรือหยุดการเติบโต
มีปัญหาที่มีระยะเวลา หรือ ปัญหาทางเทคนิคที่เกินความสามารถในการแก้ไข
ตลาดที่แท้จริงไม่มี
“การเรียนรู้การคาดการณ์ดังกล่าวมีความสำคัญ เพราะผู้ก่อตั้งส่วนใหญ่ มักมองโลกในแง่ดีเกินไป ทำให้เกิดการระดมทุนและการจ้างพนักงานเเกินจริง และเมื่อถึงระยะที่มีสัญญาณบ่งบอกว่า ธุรกิจอาจไปไม่รอด บางทีก็สายเกินแก้จนต้องเลิกกิจการไป”
แน่นอนว่าในโลกของธุรกิจนวัตกรรม มันไม่มีอะไรแน่นอน และการปรับเปลี่ยนมันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เหมือนที่เราต่างเรียนกันมาว่า “Pivot” หรือการสร้างผลิตภัณฑ์และนำไปทดสอบตลาดเพื่อนำมาปรับปรุงใหม่นั้นมีความสำคัญ แต่บางทีการขาดการคาดการณ์และการวางแผนที่ดี การปรับเปลี่ยนอาจไม่ทันการ
References
Default Alive or Default Dead : http://paulgraham.com/aord.html
Default Alive >> https://medium.com/swlh/are-you-default-alive-or-default-dead-151118025a13
Founder-compensated startups are default dead >> https://opencoreventures.com/blog/2023-08-founder-compensated-startups-are-default-dead/
Y Combinator Asks Startup Founders To “Plan For The Worst”, Sends 10 Point Survival Strategy >> https://inc42.com/buzz/y-combinator-startup-founders-plan-worst-10-point-survival-strategy/