surat tanprawate

View Original

The Evolution of Website: From 1.0 to 3.0

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ผุดขึ้นมาจนปรับตัวไม่ทัน บางเทคโนโลยี มาแล้วก็หายไปไว บางเทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีอนาคต ที่ไม่ปรับตัวก็ตกเทรน เช่น Blockchain, Smart Contract Decentralized Finance (DeFi) Non-Fungible Token (NFT)

ในส่วนของเทคโนโลยี website ก็ได้มีการปรับตัวมาหลายระยะ และเรากำลังเข้าสู่การพัฒนาเป็น Web 3.0

วิวัฒนาการของเว็บไซต์ (Website)

เรามาดูวัฒนาการของ website ที่เราจะกล่าวถึงกัน ว่าการวิวัฒนาการ Web 1.0,  Web 2.0, Web 3.0 คืออะไร

WEB 1.0

Web 1.0 เป็นเว็บไซต์ในช่วงยุคเริ่มต้นราวปี 1990 – 2000 ที่สร้างขึ้นจาก ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) เป็นวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษผู้คิดค้นระบบข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ World Wide Web โดยได้มีการออกแบบเทคโนโลยีที่เป็นองค์ประกอบหลัก 3 อย่าง ซึ่งเป็นรากฐานของเว็บไซต์ได้แก่ HTML, URL และ HTTP Web 1.0 ถูกออกแบบเพื่อส่งข้อมูลข่าวสารไปถึงผู้บริโภคทางเดียวเป็นหลัก โต้ตอบโดยผู้รับข่าวสารไม่ได้

WEB 2.0

Web 2.0 เป็นการพัฒนาให้สามารถทำได้ทั้งอ่าน และเขียนเพื่อโต้ตอบกันได้อย่างอิสระเป็นแบบสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) ทำให้เกิดยุคของการสร้างสังคมออนไลน์ (Social Network) และเกิดการใช้งานขอบบริษัทพัฒนาตัวกลางต่าง ๆเช่น facebook, discord, และ communication tools ต่าง ๆ

ตัวกลางเหล่านี้ จะเป็นผู้เก็บและจัดการข้อมูลต่าง ๆ โดยทำให้เกิดการแสวงหาผลกำไรและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวเป็นอย่างมาก จึงทำให้เกิดการพัฒนาการส่งต่อข้อมูลโดยไม่ต้องผ่านตัวกลางคือ web3.0 ต่อไป

กำเนิด WEB 3.0

Web 3.0 คือแนวคิดที่มีการจัดการข้อมูลและ own ข้อมูลโดยผู้ใช้งาน มีการ decentralize การจัดการข้อมูล และเปลี่ยนผู้ถือครองข้อมูลเป็นผู้ใช้ ซึ่งทั้งนี้ รวมถึงการออกแบบรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ ด้วย

องค์ประกอบของ WEB 3.0 เป็นอย่างไร?

โครงสร้างและองค์ประกอบของ Web 3.0 จาก Web 3.0 Foundation ที่ได้แสดงข้อมูลของ Technology Stack ของเว็บไว้ให้ โดยแบ่งออกเป็น 5 Layers ได้แก่

  • Layer 0 เป็นส่วนพื้นฐานของ Stack เทคโนโลยีของ Web 3.0 ที่ประกอบไปด้วยวิธีการสื่อสารของ Nodes ต่าง ๆ และวิธีการติดตั้งโปรแกรมในระดับ Lowest Level

  • Layer 1 เป็นส่วนที่ทำหน้าทั้งในส่วนของการจัดเก็บ, แจกจ่าย และการโต้ตอบข้อมูลระหว่าง Nodes ด้วยกัน

  • Layer 2 เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุน Layer 1 ด้วยการเพิ่มความสามารถฟังก์ชันต่าง ๆ อย่างเช่น การทำ Scaling, การจัดเก็บข้อมูลแบบเข้ารหัส (Encrypted Messaging) และ Distributed Computing (เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันบนเครือข่ายเข้าเป็นกลุ่ม เพื่อแบ่งปันข้อมูลและประสานพลังการประมวลผล)

  • Layer 3 เป็นส่วนเกี่ยวกับภาษาโปรแกรมมิ่ง และ Libraries ที่รวบรวมชุดฟังก์ชันต่าง ๆ เพื่อสำหรับให้นักพัฒนาเข้ามาใช้พัฒนาตัว Applications ได้อย่างเหมาะสม

  • Layer 4 เป็นส่วนบนสุดของ Stack ที่ได้รวบรวมโปรแกรมต่าง ๆให้ผู้ใช้งานทั่วไป ที่ไม่ใช่นักพัฒนาเข้ามาใช้งานโดยตรงกับ Blockchain ได้

ดังนั้น สิ่งที่เป็นประโยชน์ของการพัฒนา Web 3.0 คือ การเป็นเจ้าของข้อมูล และ การตัดปัญหาของตัวกลางออกไป ทำให้ประโยชน์จะเกิดกับผู้ใช้งาน ทั้งในแง่ส่วนตัวและการหารายได้ต่อไป