นวัตกรรมลวงตากับหมู่บ้านโพเทมคิน : The Illusion of Innovation and the Potemkin village
พูดโหมกระพือความเร้าร้อนของนวัตกรรม พอสุมไฟกองแรกสำเร็จ ก็เป็นสุมไฟกองต่อไป แล้วปล่อยให้ไฟกองแรก มอดดับไปตรงนั้น
“ใคร ๆ ก็ทำนวัตกรรม” อาจารย์ที่เป็นทั้งผู้บริหารและแพทย์บอกระหว่างสนทนา
“ใคร ๆ ก็ส่งเสริมผู้ประกอบการ” ผมขอเพิ่มคำที่มันดู cool เข้าไปอีกหน่อย จะให้ถูกต้องและ complete คือ “ใคร ๆ ก็พูดถึงการส่งเสริมและการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม”
“แล้วคนที่เข้าใจทั้งนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการจริง ๆ มันมีสักเท่าไหร่กันเชียว” ผมกับ อาจารย์ท่านนั่นยักคิ้ว ยกกาแฟร้อนคาปูชิโน่ดื่ม แล้วก็สนทนาเรื่องอื่นต่อไป
ในกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม จะมีคำนึงพูดถึง “the Valley of Dealth” หรือ “หุบเขาแห่งความตาย” ฟังดูเหมือนชื่อหนังจีนที่มีพระเอกตกลงไปในหุบเขา แล้วก็ได้พลังวิทยายุทธกลับมา หลังจากเจอเคล็บลับวิชาที่ใต้หุบเขา แต่ “หุบเขาแห่งความตายทางนวัตกรรม” 90% ของคนที่ตกลงไปไม่ได้ขึ้นมาอีกเลย เพราะทุกคนไม่ใช่พระเอกในหนัง แต่นี่คือชีวิตจริง
เห็นภาพงานนวัตกรรม ที่ดูโดดเด่น เหมือนเห็นภาพอันสวยหรู การบ่มเพาะผู้ประกอบการ แต่ต้องบอกว่า ความจริงหลังจากงานจบไปนั้น มันคือ สิ่งที่เรียกว่า ของแทร่ ตามศัพย์วัยรุ่น หรือ ของแท้ ๆ ชีวิตแบบกินมาม่า หนะแหละ
คิดถึงการที่มหาวิทยาลัยเละบรรดาองค์กรต่างๆ ที่ตีฆ้องร้องป่าว ว่า นวัตกรรมมาแล้ว เราจะพุ่งเป้าไปสู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม แล้วคิดถึงหมู่บ้านโพเทมคิน ที่หลังฉาก มันไม่ได้ สวยงามขนาดนั้น มารู้จักหมู่บ้านนี้กัน ก่อนจะเอาไปเทียบกับการส่งเสริมนวัตกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ในปัจจุบัน
เรื่องราวของหมู่บ้านโพเทมคินเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับรัสเซียในปลายศตวรรษที่ 18 ว่า "หมู่บ้านโพเทมคิน" หมายถึงการก่อสร้างที่หลอกลวงหรือเท็จจริงเพื่อสร้างภาพมหัศจรรย์หรือความเจริญรุ่งเรือง ในเรื่องนี้มีผู้เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับกริกอรี โพเทมคินที่เป็นที่รักและผู้นำทางทหารของแคแธรีนที่ในสมัยนั้นเป็นจักรพรรดิรัสเซีย
ในปี 1787 แคแธรีนที่ในสมัยนั้นเริ่มทริปสุดยอดไปชมบรรยากาศแห่งดินแดนที่พึ่งรวมเข้าสู่อาณาจักรในคริมีอะ กริกอรี โพเทมคินได้รับมอบหมายให้ดูแลการพัฒนาและการปกครองในบริเวณนี้ ตำแหน่งที่โพเทมคินต้องเผชิญหน้าก็มีความยากลำบาก เนื่องจากมีความจนและไม่เจริญเต็มที่ในพื้นที่นี้
เรื่องราวกล่าวว่า เพื่อที่จะประทับใจแคแธรีนและเพื่อซ่อนความยากจนและการพัฒนาที่ไม่เจริญเต็มที่ในบริเวณนี้ โพเทมคินจึงอ้างว่าได้สั่งให้สร้างหมู่บ้านปลอม ตามเส้นทางที่จะผ่านไปของจักรพรรดิ สร้างหมู่บ้านเหล่านี้โดยใช้กระดาษแข็งและผ้าใบที่ทาสี ว่าเป็นหมู่บ้านที่เจริญรุ่งเรืองและรุ่งโรจน์
คำว่า "หมู่บ้านโพเทมคิน" ได้กลายเป็นการบ่งชี้ถึงสิ่งที่เท็จจริงหรือสร้างขึ้นเพื่อสร้างภาพบวกหรือความปรารถนาที่ดีขึ้น ในทางที่กว้างขวางมักถูกใช้เพื่อบรรยายการกระทำที่สร้างภาพกลบความแท้จริงของการพัฒนาที่ยังดูล้าหลังอยู่
เรื่องเล่าของของหมู่บ้านโพเทมคิน ไม่เพียงสะท้อนภาพความตื่นตาตระหนกเบื้องหลังฉากหน้า หากยังทำหน้าที่เป็นกระจกส่องสะท้อนโลกแห่งนวัตกรรมยุคใหม่ ที่อาจเต็มไปด้วยภาพลวงตาแห่งความก้าวหน้า
จาก “หมู่บ้านโพเทมกิน” สู่ “นวัตกรรมจำแลง”
บนเส้นทางเร่งฝีเท้าไล่ตามความทันสมัย องค์กรจำนวนมากประโคมข่าวความมุ่งมั่นด้านนวัตกรรม นำเสนอภาพลักษณ์เปี่ยมล้ำผ่านผลิตภัณฑ์สุดไฮเทค งานวิจัยชวนตะลึง หรือแคมเปญการตลาดสุดสร้างสรรค์ ทว่าเบื้องหลังความฉูดฉ่ายนั้น อาจซ่อนแววความจริงอันริบหรี่ของ "นวัตกรรมจำแลง" ที่เน้นเพียงเปลือกนอก มิได้งอกรากฐานแห่งการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง
หลุมพรางแรกที่รอซุ่มอยู่ คือการหลงใหลกับ "นวัตกรรมจิ๋ว" การมุ่งมั่นพัฒนาฟีเจอร์เสริมเล็กน้อย บรรจุภัณฑ์ล้ำสมัย หรือปรับดีเทลเพียงผิวเผิน โดยละเลยแก่นแท้ของการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงประสิทธิภาพ หรือยกระดับประสบการณ์อย่างแท้จริง นวัตกรรมที่แท้จริง มิใช่แค่การแปะป้าย "ใหม่" แต่คือการปฏิวัติแนวคิด ทะลุกรอบกรอบเดิม และสร้างคุณค่าที่ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้ง
อีกหนึ่งสิ่ง คือการตกเป็นทาสกระแส คล้อยตามเทรนด์สุดฮิตอย่าง AI, Blockchain, หรือ Metaverse โดยขาดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์การนำไปใช้ที่ชัดเจน ผลลัพธ์คือ การทุ่มเงินมหาศาลไปกับเทคโนโลยีสุดล้ำ แต่สุดท้ายกลายเป็นเพียงของประดับตกแต่ง ไร้ซึ่งพลังขับเคลื่อนความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
หนทางสู่การปลดเปลื้องพันธนาการแห่งหมู่บ้านจำแลงโปเทมคินแห่งนวัตกรรม เริ่มต้นจากการปลูกฝังวัฒนธรรมแห่ง "ความสงสัยสร้างสรรค์" องค์กรต้องเปิดพื้นที่ให้พนักงานตั้งคำถามก่อน อะไรคือปัญหาที่เผชิญ และ เราต้องจัดการด้วยวิธีใหม่ ๆ อย่างไร การต่อยอดความคิดนอกกรอบ การปรับมุมมองปัญหาใหม่ หรือ ที่เรียกว่า Reframe นั่นสำคัญยิ่งไปกว่าการคิด solution ใหม่ ๆ เสียอีก