Academia Startup : The rising star
Academia Startup หรือที่เรียกว่าสตาร์ทอัพด้านวิชาการหรือสตาร์ทอัพในมหาวิทยาลัย หมายถึง บริษัทสตาร์ทอัพที่เกิดจากการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่พัฒนาขึ้นภายในสถาบันการศึกษาหรือการวิจัย สตาร์ทอัพเหล่านี้มักเกิดขึ้นเมื่อนักวิจัย อาจารย์ หรือนักศึกษาระบุศักยภาพเชิงพาณิชย์ในงานวิชาการของตน และพยายามเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบให้กลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
สตาร์ทอัพด้าน Academia มักจะใช้ประโยชน์จากความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นภายในสถาบันการศึกษาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ หรือโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำเข้าสู่ตลาดได้ พวกเขาเชื่อมช่องว่างระหว่างสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรมโดยการแปลผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือการค้นพบทางวิชาการไปสู่การใช้งานจริงที่ตอบสนองความต้องการของตลาด
มีลักษณะหลายประการที่ทำให้สตาร์ทอัพด้านวิชาการแตกต่างจากสตาร์ทอัพแบบดั้งเดิม:
1. Research-Based: สตาร์ทอัพของ Academia สร้างขึ้นจากผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์ ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานทางวิชาการ หรือองค์ความรู้เฉพาะด้าน อาจจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ควบคู่กันไปกับการเสริมมองค์ความรู้ในการพัฒนา แต่แน่นอนว่า อาจจะแตกต่างจากการทำ research ปกติที่มักพัฒนางานวิจัยแบบเส้นตรง แต่ stratup academia เป็นการทดสอบตลาดและความต้องการของ ผู้ใช้งานควบคู่ไปด้วย
2. Collaborate with academia: Startup เหล่านี้ มีความเขื่อมโยงหรือทำงานกับสถาบันการศึกษา และมีนักวิจัยหรืออาจารย์ เป็นผู้ก่อตั้งหรืออยู่ในทีม ที่จะเป็นการใช้ทรัพยากรรวมถึงองค์ความรู้เป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ ทำให้มีการดำเนินการวิจัย backup การทำนวัตกรรมไปด้วยเพื่อเสริมควสมแข็งแกร่งด้านข้อมูลพื้นฐาน
3. Technology transfer : เนื่องจากเป็นสิ่งที่คิดค้นด้วยองค์ความรู้หรือ เทคโนโลยีเชิงลึก สตาร์ทอัพนี้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือทรัพย์สินทางปัญญาจากภาคการศึกษาไปยังภาคการค้า การถ่ายโอนนี้อาจเกิดขึ้นได้ผ่านข้อตกลงการให้สิทธิ์การใช้งาน (licensing) บริษัทที่แยกตัวออกมา (spin-off) หรือความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับสตาร์ทอัพ (business matching)
4. : Access to resource สตาร์ทอัพด้าน Academia อาจเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่ในสถาบันการศึกษา เช่น ห้องปฏิบัติการวิจัย อุปกรณ์ ห้องสมุด และการให้คำปรึกษาจากคณาจารย์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่าย ความเชี่ยวชาญ และแหล่งเงินทุนของสถาบันเพื่อสนับสนุนเส้นทางการเป็นผู้ประกอบการ
5. Dual mission: สตาร์ทอัพในสถาบันการศึกษามักมีภารกิจสองประการ ทั้งการพัฒนาการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ที่ทั้งสองสิ่ง ตั้งเริ่มขึ้นพร้อมกัน ในขณะที่เป้าหมายหลัก คือการสร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแต่หลักฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จัเป็นรากฐานที่ผลักดันให้ startup academia แข็งแกร่งขึ้น
จะเห็นว่า การเป็น Academia Startup โดยเฉพาะทาง Health เป็น Rising star ที่จะช่วยขับเคลื่อนวงการนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและแท้จริง