Alan Watt: หลักคิดและความเชื่อมโยง
นักปรัชญาเป็นนักสงสัยและตั้งทฤษฎี โดยการตั้งคำถามถึงความเป็นไปของชีวิตและสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นไป เป้าเพื่อให้เข้าใจชีวิตได้ดีขึ้น
หลักพุทธของชาวตะวันออก หรือ หลักปรัชญาของนักคิดชาวตะวันตก ต่างเหมือนแม่น้ำหลากหลายสาย ที่บรรจบในเรื่องเดียวกัน
ภาพของชาวตะวันตกผมขาวคาบไปป์นามอลัน วัตส์ (Alan Watts) ขึ้นชื่อเป็นนักปรัชญา นักเขียน และนักพูดชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงในการนำเสนอและเผยแพร่ปรัชญาตะวันออกให้กับชาวตะวันตก มีไม่กี่คนที่จะคนผสมหลักคิดจากสองฟากโลกให้กลมกล่อม
เขานำหลักคิดจากพุทธศาสนาเซน, เต๋า และฮินดู มาช่วยเชื่อมโยงวิถีคิดระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตกในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ผลงานของวัตส์โดดเด่นในการทำให้ปรัชญาที่ซับซ้อนเข้าใจง่ายขึ้น และส่งเสริมการใช้ชีวิตที่ยืดหยุ่นและเปิดกว้างขึ้น
อจ. เล่าให้ฟังถึงแนวคิดที่น่าจะเป็นประโยชน์กับการใช้ชีวิตจาก อลัน วัตส์
จงเน้นการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
วัตส์สอนว่าการอยู่กับปัจจุบัน ("being here now") คือสิ่งที่สำคัญในการค้นหาความสงบที่แท้จริง เขามองว่าสังคมตะวันตกส่วนใหญ่หมกมุ่นอยู่กับการพุ่งสู่เป้าหมายในอนาคตจนทำให้ไม่สามารถมีความสุขกับชีวิตในขณะนี้ มีเพียงปัจจุบันเท่านั้นที่ควบคุมได้
อัตตาและตัวตน
หลักคิด "ตัวตนที่ลวงตา" หรือ อัตตา (ความรู้สึกถึงตัวตน) นั้นเป็นเพียงการสร้างขึ้นตามสังคมเท่านั้น ไม่ใช่ความจริงที่แท้จริง เขาเสนอว่าเสรีภาพที่แท้จริงนั้นเกิดขึ้นจากการเข้าใจในความลวงตานี้และมองเห็นตัวเราเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลที่ยิ่งใหญ่ สิ่งที่เข้าใจว่าเป็นตัวตน เกิดขึ้นชั่วคราว เมื่อดับสลาย มันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรามชาติตามกาลเวลา
การเล่นและความเป็นธรรมชาติ
จงมองการมองชีวิตอย่างสนุกสนานและมีอารมณ์ขัน ไม่มีชีวิตใดมีความสุขได้ตลอด แม้แต่คนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ชีวิตเหมือนกับการเต้นระบำไปตามการบรรเลงทำนองของชีวิต มันเป็นธรรมชาติ มีเร็ว มีช้า มีตื่นเต้น มีแผ่วเบา มีโศกและสมหวัง คละเคล้าตัวโน๊ต คุณค่าของชีวิตอยู่ที่การสัมผัสประสบการณ์ในขณะนั้น ไม่ใช่แค่ผลลัพธ์สุดท้าย ซึ่งทัศนคตินี้ทำให้ผู้คนไม่รู้สึกโศกเศร้าเมื่อผิดหวังไปมากจนทำให้รู้สึกว่าการใช้ชีวิตดับสลายลง
การเชื่อมโยงกับธรรมชาติ
โดยอ้างอิงจากเต๋า วัตส์ให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ เขาสอนว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของโลกธรรมชาติ ไม่ใช่แยกออกจากมัน และการเข้าใจถึงความเชื่อมโยงนี้จะทำให้ชีวิตสมดุลมากขึ้น เราคือหนึ่งในธรรมชาติ มิอาจตัดขาดจากกัน
อิทธิพลต่อวัฒนธรรมต่อต้านในยุค 1960: วัตส์มีอิทธิพลอย่างมากในช่วงยุค 1960 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนรุ่นใหม่ในสังคมเริ่มตั้งคำถามกับค่านิยมทางสังคมและมองหาจิตวิญญาณและความรู้สึกใหม่ ๆ หนังสือของเขาหลายเล่ม เช่น The Way of Zen และ The Book: On the Taboo Against Knowing Who You Are ช่วยเปิดประตูบานใหม่ บานที่มองปรัชญาตะวันออกผ่านพริ้วเข้ามาให้ชาวตะวันตกที่กำลังสับสนในโลกของวัตถุนิยมได้หายใจอย่างสดชื่นอีกครั้ง