เมื่อเราพอใจสิ่งที่ไม่น่าพอใจ : มารู้จักกับ Dorito Theory กับการแสวงหาความรัก ที่ไม่รู้จักพอ
ลองนึกภาพ ที่คุณกำลังกินขนมขบเคี้ยวแบบซองแล้วซองเล่า หวังว่าจะรู้สึกอร่อย อิ่มเอม แต่ความรู้สึกนั้นก็ไม่มาถึง เอามาเคี้ยวอีกสิ เอามาอีกสิ เมื่อมันหมดห่อที่คุณกักตุนเอาไว้ ก็บ่นตัวเอง นี่ฉันบ้าสวาปามเข้าไปได้ยังไงตั้ง 7 ซอง พับผ่าเถอะ นี่มัน junk food
หรือการใช้เวลาหลายชั่วโมงเลื่อนดูโซเชียลมีเดีย ไถฟีด ไถไปหน้าแล้วหน้าเล่า ได้เจอวิดีโอที่พึงใจบ้าง ไม่พึงใจบ้าง แต่ความพึงพอใจไม่มีที่สิ้นสุดแล้วก็ถึงเวลาที่โยนเจ้าโทรศัพย์และวิดีโอที่แทะกินเวลาไป โอ๊ย มันน่าโมโห นี่ฉันเสียเวลากับเจ้านี้ไป 4 ชั่วโมง ความสุขที่ผ่านไปถูกทดแทนด้วยการเสียดายเวลา
สิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมที่ไม่น่าพอใจ แต่กินเวลาคุณไปเรื่อย ๆ มันอยู่ sub-consciuos มันคือแรงผลักดันที่ไม่เคยพอ เราเรียกมันว่า ทฤษฎี Dorito
ทฤษฎี Dorito: อธิบายแรงดึงดูดของสิ่งที่ "ไม่" น่าพอใจ
ทฤษฎีใหม่กำลังโด่งดังบน TikTok และไม่ใช่ท่าเต้นสุดฮิตหรือวิดีโอแมวตลกๆ แต่มันเป็น "ทฤษฎี Dorito" ที่พูดถึงเรื่องใกล้ตัวของเรามากกว่า นั่นคือ ความโน้มเอียงของเราที่จะแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่ "ไม่" น่าพอใจอยู่เสมอ
ทฤษฎีนี้ถูกทำให้โด่งดังโดย Celeste Aria ผู้ใช้ TikTok เธอบอกว่า
”เราต่างคิดว่า เราอยากทำสิ่งที่พึงพอใจ และนั่นน่าจะสร้างประสบการณ์ที่ดีใช่ไหมหละ แต่ประสบการณ์ที่ "ไม่" น่าพอใจอย่างแท้จริง กลับมีศักยภาพในการเสพติดสูงสุดยิ่งเสียกว่า”
สมองของเรามีส่วนเกี่ยวข้อง ดร. Jamie Sorenson จิตแพทย์สนับสนุนว่า ทฤษฎี Dorito สอดคล้องกับทฤษฎีการเสพติดและพฤติกรรมอื่นๆ โดยที่สมองเรามันเสพติดความไม่พอใจและแสวงหา เสมือนเสพติดการพยายามค้นหาระหว่างทาง มันยิ่งกว่าความพึงพอใจเสียอีก
เปรียบเหมือนกับความกรอบอร่อยของ Doritos เจ้าขนมกรุบกรอบ ที่ไม่ได้มีคุณค่าทางอาหารอะไรสักเท่าไหร่ และเมื่อคุณเคี้ยวมันหมด ความสนุกที่หายวับไปในพริบตา ทำให้คุณอยากกินต่อ ประสบการณ์บางอย่างดึงดูดเราไว้โดยการแสวงหาความสุขให้ แต่ไม่เคยให้จริง
เราคือเหยื่อแห่งธรรมชาติ
รางวัลที่ "รวดเร็ว" ยิ่งเป็นสิ่งที่เราต้องการที่จะทำซ้ำมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกิน Doritos การเสพยา หรือการเลื่อนดูโซเชียลมีเดีย คือรู้ว่ามันไม่ดี แต่การแสวงหานี่แหละคือสิ่งที่อยู่ภายใต้จิตใจมนุษย์
เรื่องของพร การอยากได้ความรัก จนจบมาที่ความตาย
จากข่าวความสัมพันธ์ของน้องพรที่คบซ้อนจนนำมาสู่โศกนาฎกรรมก็เป็นผลจากการแสวงหาสิ่งที่ให้ความสุขที่ไม่จีรังแม้ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่ก็ตกเป็นทาสแห่งการแสวงหาด้วย romantic love ชั่วคราว
ต่างตกเป็นทาส Dopamine เจ้า Hormone แห่งความกระหายอยาก
นอกจากนี้ คุณอาจเคยต้องทนอยู่ต่อในความสัมพันธ์ที่ไม่ดี หรือ toxic relationship นานกว่าที่ควรจะเป็นไหม?
เพราะแม้ว่าเราจะรู้ถึงสถานการณ์ที่มันไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อสภาพจิตใจเลย แต่คุณต้องจำนนต่อความต้องการลองไปต่อไปวัน ๆ
สมองมันเหมือนสร้าง condition ว่าต้องทดสอบร่างกายและจิตใจของเรา ใช่แล้ว จนมันขาดสะบั้นนั่นแหละ
รู้เท่าทันสมองกับทฤษฎี Dorito
การรู้ความจริงทางธรรมชาติและทฤษฎีนี้ช่วยให้เราเข้าใจความต้องการและจุดอ่อนของตัวเองมากขึ้นเมื่อเราหลงเข้าไปสู่กับดักบางอย่าง
เมื่อเราตระหนักถึงวัฏจักรของความพึงพอใจที่ไม่สมบูรณ์ เราสามารถตัดสินใจได้อย่างมีสติมากขึ้น และเลือกสิ่งที่ "ดี" ต่อตัวเรา มิใช่กระบวนการที่ไม่ดี ไม่พึงพอใจที่จะลากเราเข้าไปวนลูป
จงจำไว้ จงแสวงหาความพึงพอใจที่ได้ประโยชน์ นั่นจึงเป็นสิ่งที่เป็นความสุขที่แท้จริง