surat tanprawate

View Original

Mindset vs Framework: ทำไมคนนั้นทำได้ และเราทำได้ไหม?

#กับพี่ชบา วิ่งเช้าวันที่ 2 มค 68

มันเป็นเรื่อง กรอบความคิด (mindset) และ กรอบการทำงาน (framework)

สงสัยไหมว่า…

• ทำไมบางคนออกกำลังกายจนร่างกายแข็งแรง?

• ทำไมบางคนจัดการอารมณ์ได้ดี ไม่ว่าเผชิญปัญหาแค่ไหน?

• ทำไมบางคนร่ำรวย ทำอะไรก็สำเร็จ?

นั่นสินะ ทำไม?

มันไม่ได้มาจากโชคชะตา แต่เกิดจาก Mindset และ Framework ที่ช่วยให้พวกเขามีวิธีคิดและแนวทางการลงมือทำที่ชัดเจน

Mindset กรอบความคิด: รากฐานของความสำเร็จ

Mindset หรือกรอบความคิด คือความเชื่อและทัศนคติที่เรามีต่อตนเองและโลก มีงานวิจัยจาก Carol S. Dweck ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ศึกษาผลของ Fixed Mindset (กรอบความคิดแบบตายตัว) และ Growth Mindset (กรอบความคิดแบบเติบโต) พบว่า

ผู้ที่มี Growth Mindset เชื่อว่าความสามารถสามารถพัฒนาได้ผ่านการเรียนรู้และความพยายาม พวกเขาจะรับมือกับความล้มเหลวได้ดี และมองปัญหาเป็นโอกาสในการเรียนรู้ (Dweck, 2006)

ตัวอย่าง:

• ออกกำลังกายจนแข็งแรง: คนที่มี Growth Mindset มองว่าความแข็งแรงเป็นผลจากการฝึกฝน ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด พวกเขาจึงลงมือทำทีละน้อยและพัฒนาต่อเนื่อง

มี Quote นึงที่ชอบ

Carol S. Dweck ผู้เขียนหนังสือ Mindset: The New Psychology of Success กล่าวไว้ว่า

“The view you adopt for yourself profoundly affects the way you lead your life.”

(มุมมองที่คุณมีต่อตัวเองส่งผลลึกซึ้งต่อวิธีการใช้ชีวิตของคุณ)

Framework กรอบกาคทำงาน: วิธีการทำให้สำเร็จ

Framework หรือโครงสร้างการทำงาน คือแผนหรือระบบที่ช่วยเปลี่ยนความตั้งใจเป็นการกระทำ งานวิจัยพบว่า คนที่ใช้ Framework ชัดเจนมักจะประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะพวกเขามีขั้นตอนและเป้าหมายที่วัดผลได้

ตัวอย่าง Framework ที่มีประสิทธิภาพ:

1. SMART Goals Framework

Framework นี้ช่วยตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน:

• Specific (ชัดเจน): เป้าหมายต้องระบุได้ เช่น “ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม”

• Measurable (วัดผลได้): เช่น ชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์

• Achievable (ทำได้จริง): ตั้งเป้าหมายที่ไม่เกินความสามารถ

• Relevant (เกี่ยวข้อง): สอดคล้องกับเป้าหมายชีวิต เช่น “ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดี”

• Time-bound (มีกำหนดเวลา): เช่น “บรรลุเป้าหมายใน 3 เดือน”

2. ABC Model

Framework นี้มาจาก Cognitive Behavioral Therapy (CBT) ช่วยจัดการอารมณ์:

• A (Activating Event): ระบุเหตุการณ์ที่กระตุ้นอารมณ์ เช่น การทะเลาะกับเพื่อน

• B (Beliefs): ระบุความคิดหรือความเชื่อ เช่น “เขาไม่ให้เกียรติเรา”

• C (Consequences): ระบุผลลัพธ์ เช่น ความโกรธและการตอบสนอง

งานวิจัยจาก Cognitive Therapy and Research พบว่า การใช้ ABC Model สามารถลดความเครียดและพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ (Ellis & Dryden, 1997)

ตัวอย่าง: Mindset + Framework ในชีวิตจริง

1. ออกกำลังกายจนแข็งแรง:

• Mindset: เชื่อว่าการออกกำลังกายคือการลงทุนในสุขภาพ ไม่ใช่แค่การลดน้ำหนัก

• Framework: ใช้ SMART Goals เช่น เดินวันละ 30 นาที และเพิ่มขึ้นทีละ 5 นาทีทุกสัปดาห์

2. จัดการอารมณ์:

• Mindset: มองว่าความโกรธเป็นสิ่งที่จัดการได้

• Framework: ใช้ ABC Model ในการวิเคราะห์เหตุการณ์ และหาวิธีตอบสนองเชิงบวก

How to: เริ่มต้นเปลี่ยน Mindset และใช้ Framework

1. ปรับ Mindset ของคุณ:

• ฝึกมองความล้มเหลวเป็นบทเรียน เช่น ถ้าล้มเหลวในการตั้งเป้าหมาย ให้ถามตัวเองว่า “ฉันเรียนรู้อะไรจากสิ่งนี้?”

2. ใช้ Framework ชัดเจน:

• ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ก่อน เช่น ออกกำลังกาย 10 นาทีต่อวัน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

• วางแผนเป็นขั้นตอน เช่น ใช้ SMART Goals

3. วัดผลและปรับปรุง:

• บันทึกความก้าวหน้า เช่น บันทึกการออกกำลังกายหรืออารมณ์ในแต่ละวัน

• ถ้า Framework ที่ใช้อยู่ไม่ได้ผล ให้ปรับเปลี่ยน เช่น ลดเป้าหมายให้เล็กลงเพื่อเริ่มใหม่

อจ. สรุปไว้ ง่ายๆ แบบนี้นะ

Mindset เป็นรากฐานของการพัฒนา ส่วน Framework คือเครื่องมือที่ช่วยให้การลงมือทำสำเร็จ

ดังนั้น หากเรามี Mindset ที่เหมาะสมและ Framework ที่ชัดเจน เราจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้เหมือนกับคนที่เราชื่นชม

- อจ สุรัตน์

ปล คือ ชบามันเดินตามตลอดเลย มานั่งอุ้มมันไว้ ท่าจะคิดถึงคน ปิดปีใหม่หลายวัน