ในขณะที่คนเรากำลังตื่นตัวกับการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง jogging ตอนเย็น ปั่นจักรยานทุกวันหยุด หรือ เข้าฟิตเนสวันเว้นวัน แต่มันก็เหมือนกับการทำเพื่อไถ่โทษ การนั่งทำงานออฟฟิต นั่งเล่นคอมพิวเตอร์ เป็นพนักงานในเมืองในสไตร์คนรุ่นใหม่
จะเรียกว่าการการออกกำลังเป็นครั้งคราวว่า "การไถ่บาป แก่ร่างกาย" ก็คงไม่ผิดนัก หากเราคิดว่า ธรรมชาติเป็นผู้ให้เราเกิดกายเป็นมนุษย์ผ่านการวิวัฒนาการ (evolution) มาเป็นหมื่น ๆ ล้านปี แต่การที่เทคโนโลยีมันวิวัฒนาการแบบก้าวกระโดดซึ่งแตกต่างจากการวิวัฒนาการทาง biology จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัว (evolve) ให้เข้ากับการทำงานในปัจจุบันซึ่งเต็มไปด้วยการนั่งทำงาน มองจอคอมพิวเตอร์ และดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเป็นกิจวัตร เราก็รู้อยู่แล้วว่าร่างกายถูกออกแบบมาให้ใช้ชีวิตกับการเคลื่อนไหว อวัยวะในร่างกาย จึงป่วยเมื่อการออกกำลังถูกลดทอนลง
แต่การออกกำลังกายเป็นบางคราว หรือ แม้จะเป็นประจำนั้นเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงของการถดถอยของสุขภาพและการเผชิญหน้ากับโรคในอนาคตหรือเปล่า ?
เมื่อวานได้ดู TEDx CoMo Talk ซึ่งเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและไอเดีย ใน concept ว่า "Idea worth spreading" หรือ "ไอเดียดี ๆ มีไว้แชร์" พูดเรื่อง "Sitting Is the New Smoking but you've got Options" หรือ "การนั่งมันก็เท่ากับการสูบบุหรี่ หนะแหละ" โดย Pack Matthews ได้เล่าถึงเรื่องของ concept ที่ว่า หากเราไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายระหว่างวัน เช่น ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งเฉย ๆ หละก็ มันก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ไม่ต่างจากการสูบบุหรี่ที่เราต่างก็ทราบกันดีว่าเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของประชากร
อ้างจาก งานวิจัย ของ Dr. I-Min Lee, Eric J Shiroma และคณะศึกษาจากมหาวิทยาลัย Havard ในหัวข้อแทงใจวัยทำงาน ว่า
"Effect of physical inactivity on major non-communicable diseases worldwide: an analysis of burden of disease and life expectancy"
หรือแปลเป็นไทยว่า "ผลของการไม่ออกกำลังหรือเคลื่อนไหวต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (non communicable disease เช่น พวก เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ โรคอ้วน) โดยมีการศึกษาไปถึงอายุไข และคุณภาพของการมีชีวิตอยู่
ผลการวิจัยทั่วโลกบ่งชี้ว่า การไม่ออกกำลัง (ไม่ว่าจะเป็นประหว่างวันทำงาน โดยการไม่เคลื่อนไหม หรือ ไม่ออกกำลังเป็นประจำก็ตาม ) มันก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อยู่ระหว่าง 7-10% และก็เกี่ยวข้องกับการตายก่อนวัยอันควรอีกราว 9% และทีมวิจัยก็ยังได้ประมาณการไว้ว่า หาก หากเราเพิ่มการออกกำลังระหว่างทำงานก็จะทำให้เพิ่มอายุไขได้ประมาณ 4-9 เดือนเลยทีเดียว
"จะขยับแข้งขยับขา เต้นไป รำไป บ้างจะเป็นไร จริงไหมครับ"
Ref. Effect of physical inactivity on major non-communicable diseases worldwide: an analysis of burden of disease and life expectancy (http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0140673612610319)