เป็นที่ถกเถียงกันถึงข้อดีข้อเสียของการเล่นเกมส์ในยุคที่เด็กอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์มากกว่าการไปอยู่บน play ground และสิ่งที่เป็นกังวลไปกว่าการเกิด physical inactivity หรือการที่ร่างกายไม่ได้ออกกำลังเลยนั่นก็คือสุขภาพจิตและการเข้าสังคม
เอาหละ มาดูงานวิจัยกัน
Colder Carras, a postdoctoral fellow in the Bloomberg School of Public Health’s Department of Mental Health ได้ศึกษาเด็กในกลุ่มที่เล่นเกมส์อย่างหนักหน่วง แต่เป็นการเล่นเกมส์ที่มี online social interaction หรือ เกมส์ที่มีการปฎิสัมพันธ์ทางสังคม ที่เรียกว่า “engaged gamers” ว่ากลุ่มนี้จะมีปัญหาทางด้านจิตใจหรือไม่
Colder ได้วิเคราะห์ข้อมูลในช่วงปี คศ. 2009-2012 จาก data จากวัยรุ่น 10,000 ใน Netherlands. โดยผลงานวิจัยได้บ่งชี้ว่า แม้กระทั่งผู้ที่ติดเกมส์อย่างจริงจัง (เล่นเกมส์ > 4 ชม ต่อวัน) ก็ไม่ได้รู้สึกว่าโดดเดี่ยวแต่อย่างใด และก็ไม่ได้มีภาวะเครียดมากกว่าคนทั่วไปหากได้เล่นเกมส์ที่มี social engagement หรือ เกมส์ที่มีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ แม้ว่า เด็กกลุ่มนี้จะมีความมั่นใจในตัวเองลดลงไปบ้าง
จากงานวิจัยจะเห็นได้ว่า การเล่นเกมส์ ขนิด social engagement ก็ไม่ได้ทำให้กำลังทำให้รู้สึกว่าเกิดการติดเกมส์ แต่ หากจะบอกว่า อยากจะปฎิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ นั่นก็เป็นการอยากปฎิสัมพันธ์ตามธรรมชาติ ที่สำคัญ การที่สังคมกลัวกันว่า จะทำให้เกิดความโดดเดี่ยว มันไม่เป็นความจริง เพราะการโดดเดี่ยวที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า แทบไม่ได้เกิดเลยในกลุ่มนี้
ใช่ละ การเล่นเกมส์ มันไม่ได้ต่างอะไรกับการไปกินข้าวบ้านเพื่อน ไปทำการบ้านร่วมกัน หรือพูดคุยกันอย่างออกรด ออกชาด เพียงแต่ media หรือ ตัวนำสัญญาณมันเปลี่ยนไป จากการมองเห็นผ่านอากาศ ต่อหน้า เป็นการมองเห็นและพูดคุยผ่านสืออีกแบบเท่านั้นเอง “
"ในปัจจุบัน เมื่อเราพูดถึงเด็กที่เล่นเกมส์เป็นบ้าเป็นหลัง ก็จะเกิดความกังวลเป็นอย่างมาก แต่ในทางกลับกัน เมื่อพูดถึง ติดการดู TV กลับไม่ได้มีความกังวลอะไรมากนัก นั่นเพราะ การเคยชินกับ technology ที่พัฒนามาเป็นระยะเวลาสักพักหนึ่งเท่านั้น นั่นก็ทำให้การติดเกมส์เป็นเหมือนตราบาป ที่ทำให้เด็กคนนั้นมีปมด้อย" Colder กล่าว
และแม้แต่ในองค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO) ก็ยังบรรจุ ภาวะติดเกมส์ หรือ การเล่นเกมส์อย่างหนักหน่วง ว่าเป็นโรคหนึ่ง ที่เรียกว่า internet gaming disorder ซึ่งเหมือนกับการติดยาเสพติดเลย แต่นั่นก็ต้องมาพิจารณาว่า เด็กที่เล่นเกมส์มากนั้น มีภาวะที่ผิดปกติทางจิตหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มันไม่ใช่เลย
พ่อแม่ มักจะมีการจำกัด ชั่วโมงในการเล่นเกมส์ เพื่อที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ กลัวที่จะเกิดพฤติกรรมที่เป็นเหมือนตราบาปของสังคม ซึ่ง นั่นอาจนำไปสู่การเผชิญหน้าของพ่อแม่ ที่มีพฤติกรรมในการจำกัดมากเกินไปหรือไม่ ? และนำไปสู่ปัญหาใหม่ที่เกิดจากการยับยั้งให้เด็กไม่มีทางระบายและการ support จากสังคม online
ในสังคมหลายประเทศ เริ่มเปลี่ยนแนวคิดว่า การเล่นเกมส์ อาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นตราบาป หรือสิ่งต้องห้ามอีกต่อไป เมื่อการเล่นเกมส์ มันเป็นการเปลี่ยนวิธีการเข้าสังคมที่เกิดขึ้นตามกระแสของโลกาภิวัฒน์เท่านั้น
ABOUT THIS NEUROSCIENCE RESEARCH ARTICLE
Source: Christina Cooke – Johns Hopkins University
Image Source: NeuroscienceNews.com image is in the public domain.
Original Research: Abstract for “Video gaming in a hyperconnected world: A cross-sectional study of heavy gaming, problematic gaming symptoms, and online socializing in adolescents” by Michelle Colder Carras, Antonius J. Van Rooij, Dike Van de Mheen, Rashelle Musci, Qian-Li Xue, and Tamar Mendelson in Computers in Human Behavior. Published online MArch 30 2017 doi:10.1016/j.chb.2016.11.060