แรงจูงใจสร้างยากหรือง่ายหละ บางคนบอกง่ายมากเลย เหมือนเอาแครอท ให้กระต่ายกิน มันก็จะวิ่งจนสุดแรง แต่เดี๋ยวก่อน เพราะคนไม่ใช่กระต่าย และยิ่งคนสมัยนี้แล้วด้วย จะเอาวิธีการรุ่นเก่ามาจูงใจคนรุ่นใหม่ มันออกจะ old school ไปหน่อย
แรงจูงใจในแต่ละยุคมันก็ต่างกัน หากเราดู Basic need ของ Maslow แล้วหละตอนนี้ ความปรารถนาในการใช้ชีวิต มันเลยไปไกลกว่า อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มแล้ว โดยเฉพาะมนุษย์ยุคใหม่ ที่มีความคิดความอ่านเป็นของตัวเอง ในแนวคิดการใช้ชีวิตให้เป็นชีวิต ใช้ชีวิตให้เห็นโลก และการใช้ชีวิตเพื่อตัวเอง
แล้วอะไรคือสิ่งที่กระตุ้นให้คนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกันหละ—เงิน รางวัล หรือสิ่งที่ลึกซึ้งกว่านั้น? นี่คือสิ่งที่องค์กรต่างๆที่ต้องจูงใจพนักงานในการทำงาน หรือแม้แต่ในสถาบันครอบครัว ที่จะจูงใจลูก ๆ ก็ต้องรู้ สิ่งนี้
ในหนังสือ Drive: The Surprising Truth About What Motivates Us แดเนียล พิงค์ (Daniel Pink) อธิบายลงลึกไปยังก้นบึ้งของแรงจูงใจว่า แรงจูงใจแบบดั้งเดิม เช่น โบนัสหรือการลงโทษ อาจไม่เพียงพอในยุคใหม่ ยุคที่แนวคิดการดำรงค์อยู่แตกต่างจากเดิม ยุคที่มีเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based economy) เป็นพื้นฐานของสังคม โดยปัจจัยที่สร้างแรงจูงใจได้อย่างยั่งยืนจริงๆ มีอยู่สามประการ ได้แก่ อิสรภาพ (Autonomy) การพัฒนา (Mastery) และ เป้าหมายที่มีความหมาย (Purpose) ใช่ วันนี้เรามา explore ในรายละเอียดของแรงจูงใจกันตามกรอบของ 3 สิ่งนี้
1. อิสรภาพ (Autonomy): การให้อำนาจในการตัดสินใจ
อย่างแรกเลยคือ อิสรภาพทางความคิด แม้ว่ามนุษย์เราพร้อมจะทำตามกรอบมายาวนาน แต่ความฝันยังคงเป็นแรงผลักดันอันแรงกล้าและพร้อมโบยบิน ลองย้อนกลับไปดูจิตวิญญาณอันแรงกล้าผ่านวาทกรรมระดับเปลี่ยนแปลงโลกของ Martin Luther King “I have a dream” สิ
งานวิจัยทางจิตวิทยาชี้ให้เห็นว่า อิสรภาพเป็นหนึ่งในความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ทฤษฎี Self-Determination Theory (SDT) โดย Edward Deci และ Richard Ryan อธิบายว่าผู้คนจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อพวกเขารู้สึกว่ามีอำนาจควบคุมสิ่งที่ทำ แทนที่จะถูกบังคับ งานที่เป็นงาน routine แบบ business as ussual กับ business drived from my motivation จึงให้ผลลัพย์ที่แตกต่างกัน
Deci (1971) ยังพบว่าการสร้างแรงจูงใจแบบเดิม ๆ old school ผลักด้วยเงินหรือของแลกเปลี่ยนยิ่งเกิดผลเสีย “เมื่อล่อใจคนด้วยรางวัลภายนอกมากเกินไป พวกเขากลับสูญเสียความสนใจในงานนั้นเสียอีก” นี่คือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "overjustification effect" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเงินและรางวัลไม่สามารถกระตุ้นแรงจูงใจได้ในระยะยาว ซ้ำยังทำให้รู้สึกต่อต้านเมื่อจิตใจรู้สึกว่า ส่ิงที่ทำไปนั้น เพื่อผลตอบแทน ไม่ใช่เพื่อจิตวิญญาณตามอิสระภาพทางความคิด
เราลองมาดูวิธีของ บริษัทยักษ์ใหญ่ Google ใช้วิธีในการสร้างอิสระทางความคิดกัน
นโยบาย 20% ของ Google
ในขณะที่การทำงานประจำที่ต้องรักษามาตรฐานอย่างเข้มงวด แต่การสร้างแรงบันดาลใจและการผลักดันผ่านนวัตกรรมเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ และนี่คือจุดกำเนิดของ 20% Policy
Google อนุญาตให้พนักงานใช้ 20% ของเวลางาน ไปกับโปรเจกต์ที่พวกเขาสนใจ ซึ่งส่งผลให้เกิดนวัตกรรมสำคัญอย่างการกำเนิดของ Gmail และ Google Maps นี่เป็นข้อพิสูจน์ว่าการให้อิสระสามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และผลิตผลที่ยอดเยี่ยมได้ ดู video ของ Nat & Lo กับ 20% project ที่เค้ามาอธิบายกัน
การประยุกต์ใช้สำหรับพวกเรา
ปรับแนวทางจาก การควบคุมอย่างเข้มงวดไปสู่การให้ความไว้วางใจ โดยกำหนดเป้าหมายชัดเจน แต่ให้พนักงานเลือกวิธีการทำงานเอง
ใช้ รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เช่น การทำงานจากระยะไกล หรือการกำหนดเวลาเข้างานแบบยืดหยุ่น
ส่งเสริม การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง โดยให้พนักงานเลือกแนวทางการเติบโตของตัวเอง
2. การพัฒนา (Mastery): ความปรารถนาที่จะพัฒนาและเชี่ยวชาญแห่งตน
หากดูตามพื้นฐานของทฤษฎีแห่งวิวัฒนาการของ Charles Darwin สิ่งมีชีวิตจะมีแรงขับในการพัฒนาในการเอาตัวรอดและมีชีวิตอยู่ โดยมีการตอบแทนคือรางวัลที่ทำให้เกิดความสุขและพึงพอใจ และการพัฒนาตัวเอง ก็คือหนึ่งในจิตสำนึกในการดำรงค์อยู่
งานวิจัยทางประสาทวิทยา (neuroscience) จากมหาวิทยาลัย Stanford พบว่า เมื่อมนุษย์รับรู้ว่าตนเองกำลังพัฒนาทักษะ สมองจะหลั่งสารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับความสุขและแรงจูงใจ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมวิดีโอเกมถึงทำให้คนติด—เพราะมันให้เกิด feedback loop ทันทีเมื่อเราพัฒนาความก้าวหน้าขึ้นทีละขั้น นั่นเป็นเหตุให้แรงจูงใจคือ การที่เราพัฒนาให้เก่งขึ้น แม้ว่าจะเหนื่อยยากแต่รางวัลมันก็หอมหวานและชื่นใจ
amazon career choice
โครงการพัฒนาทักษะของ Amazon
Amazon ลงทุนกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ ในโครงการฝึกอบรมพนักงาน โดยมีโครงการ "Career Choice" ที่ช่วยให้พนักงานพัฒนาทักษะในสาขาที่ต้องการ แม้กระทั่งอาชีพที่อยู่นอกบริษัท โดยบริษัทสนับสนุน ค่าเล่าเรียนฟรีล่วงหน้า – สนับสนุนสูงสุดถึง $5,250 ต่อปี ครอบคลุมค่าเทอม หนังสือ และค่าธรรมเนียม ให้ ตารางเวลาที่ยืดหยุ่น – สามารถทำงานไปพร้อมกับการเรียน โค้ชแนะแนวอาชีพ – รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อความสำเร็จ เส้นทางอาชีพที่เป็นที่ต้องการ – เพิ่มโอกาสก้าวหน้าใน Amazon หรือออกไปทำงานสายอื่นได้อย่างมั่นใจ
แม้ว่า การที่ train พนักงานในทักษะใหม่ จะทำให้พนักงาน ได้เปลี่ยนสายงาน แต่ผลประโยชน์นั้นได้แก่ amazon มากกว่า โดยทำให้ พนักงานมีการทุ่มเทในการทำงาน เมื่อบริษัททุ่มเทสิ่งที่มีความหมายให้แก่เขา อีกทั้งพนักงาน ยังได้มีโอกาสพัฒนาทักษะอันหลากหลาย และอาจได้เปลี่ยนงานทำในทักษะที่สูงขึ้นและเป็นประโยชน์แก่บริษัทระยะยาว นอกจากนี้ทาง amazon ยังได้รับการยกย่องถึงการเป็นบริษัทที่น่าทำงานและทำให้ branding ดีในการ recruit คนเก่งเข้ามาทำงานด้วย
นี่คือพนักงานส่วนหนึ่งที่ผ่าน career choice project นี้
ซาร่า – จากพนักงานคลังสินค้าสู่ผู้ช่วยพยาบาล ซาร่าเริ่มต้นที่ Amazon ในตำแหน่งพนักงานคลังสินค้า แต่ด้วยโปรแกรม Career Choice เธอเลือกเรียนหลักสูตรพยาบาล และปัจจุบันได้งานเป็นผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
ไมค์ – เปลี่ยนเส้นทางสู่วงการ IT ไมค์ทำงานเป็นพนักงานแพ็กของที่ศูนย์กระจายสินค้า แต่ต้องการเข้าสู่สายงานเทคโนโลยี เขาเลือกเรียนหลักสูตรไอทีและได้งานเป็นเจ้าหน้าที่ซัพพอร์ตไอทีหลังจากจบหลักสูตร
อเล็กซ์ – พัฒนาธุรกิจของตัวเอง อเล็กซ์ต้องการเรียนรู้ด้านธุรกิจและการบริหาร เขาใช้ Career Choice ลงทะเบียนเรียนด้านบริหารธุรกิจ และปัจจุบันเขาสามารถเปิดธุรกิจขนาดเล็กของตนเองได้สำเร็จ
มนุษย์เราปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองทั้งนั้น เพียงแต่มีโอกาสหรือไม่ และหากมีโอกาสมีมีความช่วยเหลือ นั่นเป็นสิ่งที่สร้างกำลังใจเป็นอย่างดี
3. เป้าหมายที่มีความหมาย (Purpose): เชื่อมโยงงานเข้ากับสิ่งที่ใหญ่กว่า
ในการทำงานของบริษัทที่มองกาลไกล นอกจาก การวางวิสัยทัศน์ (vision) เพื่อให้องค์กรมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันแล้ว statement of purpose หรือ สิ่งที่ตอบคำถามว่า ทำไมธุรกิจของเรายังคงอยู่ นั้นก็มีความสำคัญ เสมือนเป็นสิ่งกระตุ้นความรู้สึกลึก ๆ ของการมีตัวตนและความหมายเพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง “ความหมายในการคงอยู่” จึงเป็นแรงขับเคลื่อนของชีวิตนั่นเอง
การศึกษาของ McKinsey & Company (2021) พบว่า พนักงานที่รู้สึกว่างานของตนมีความหมาย มีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานมากกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า นอกจากนี้ องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายมักมีความได้เปรียบด้านการแข่งขันในระยะยาว
เรามาลองดูบริษัทที่มอบความหมายกับคำว่า ทำไม คุณต้องสิ่งนี้ที่นี่
Patagonia กับพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม
Patagonia บริษัทขายอุปกรณ์ เส้นผ้าสำหรับ outdoor activities เป็นตัวอย่างของบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมาย ด้วยโครงการ “1% for the planet” พวกเขา บริจาค 1% ของยอดขายเพื่อสนับสนุนสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้ลูกค้าซ่อมแซมเสื้อผ้าแทนการซื้อใหม่ พนักงานของ Patagonia จึงรู้สึกภูมิใจในงานที่ทำ และบริษัทก็ได้รับความภักดีจากลูกค้าอย่างสูง
หากเคยได้ยิน คำว่า เราต่างค้นหาความหมาย ก็สามารถใช้คำเหล่านี้ในการสร้างแรงจูงใจเช่นเดียวกัน
เรานำไปประยุกต์ ได้อย่างไร
สื่อสาร วิสัยทัศน์ขององค์กร ให้ชัดเจนและทำให้พนักงานเห็นว่าตนเองมีบทบาทอย่างไร
ปรับโครงสร้างแรงจูงใจให้ สอดคล้องกับคุณค่าระยะยาว ไม่ใช่แค่ผลกำไรระยะสั้น
ส่งเสริมวัฒนธรรมที่ให้ ความสำคัญกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
หากมองลงไปยังเบื้องลึกของจิตใจ การนำความหมาย สิ่งที่เป็นแรงพลักดันทางธรรมชาติ เพื่อมาเติมเต็มแก่พนักงาน ซึ่งก็คือเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง ไม่เพียงแต่ทำให้บริษัทและองค์กรก้าวหน้าเท่านั้น เราจะได้เห็นการหลอมรวมของชีวิตไปกับกลไกที่ทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน