คุณเป็นคน prerfect ไหม ?
คน perfect มีความทนทานต่อความผิดพลาดต่ำ ยอมผิดพลาดไม่ได้ มีความละเอียดต่อขั้นตอนต่างๆ และไม่ค่อยยืดหยุ่น
ความ perfect ดีในหลายๆ วิชาชีพและอุตสาหกรรม เพราะทำให้การทำงานผิดพลาดน้อย ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็ การแพทย์ ต้องละเอียดละออ เพราะหมายถึงชีวิตคน
แต่กับการพัฒนานวัตกรรม นั้นอาจมีแนวคิดที่ต่างกัน โดยเฉพาะช่วงเริ่มพัฒนา
Thomas Edison ทำการทดลองล้มเหลวไปกว่า 9000 ครั้ง กว่าจะได้ไฟดวงหนึ่งมา
ในวงการพัฒนานวัตกรรม คำหนึ่งที่ทำให้ นวัตกรรมสำเร็จ และนักนวัตกร ต้องจำขึ้นใจคือ “Fail fast, Fail often” คือสูตรสำเร็จ
เมื่อล้ม เราก็รู้ เมื่อรู้ เราก็ปรับเปลี่ยน นี่คือ สูตรของกระบวนการ Lean คือการปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่า ด้วยวงจรปรับเปลี่ยนอันสั้น
Perfectionism หรือ ความสมบูรณ์แบบ หากเกิดตั้งแต่ต้น และเกิด ซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ จนเป็นนิสัย มันจะทำให้เป็นสิ่งขัดขวางนวัตกรรม
Adam Grant ได้ วาด วงกลมของ Perfectionist spiral ออกมา แสดงถึง Loop ของ mind set ของผู้นิยมความสมบูรณ์แบบ ที่เริ่มจากจาก ฉันผิดหลาด -> ฉันจะไม่พลาดอีก -> ฉันพลาดอีกแล้ว -> ฉันจะไม่ให้พลาดอีก ทำให้เกิดภาวะสร้างกรอบของ comfort zone หรือโซนแห่งความปลอดภัย ของตัวเองขึ้น
แม้ perfectionist บางคน จะแย้งว่า เพื่อความปลอดภัยในอุตสาหกรรม เพราะความผิดพลาดนั้น จะก่อให้เกิดผลลัพย์ที่ไม่พึงประสงค์ แต่โดยแท้จริงแล้ว กระบวนการผิดพลาด เราสามารถออกแบบไม่ให่เกิดความเสี่ยงของกระบวนการทดสอบและสร้างผลงานนวัตกรรมที่มากนักได้
การเป็น perfectionist จึงเสมือนเกาะกำบังความคิดเราจากการทำนวัตกรรมและควรทุบทำลายมันเสีย
“มาล้มกันเถอะ กระบะทรายอยู่นั่นแล้ว”