SusHi Tech Conference , Tokyo 2024 งาน Tech ที่ชื่อน่ากินที่สุด

Added on by Surattanprawate.

ในบรรดางาน Technology conference ใน ASIA ชื่อของ SusHi Tech Tokyo น่าจะเป็นงานนึงที่ดึงความสนใจจากทั่วโลก เพราะญี่ปุ่นก็ถือว่าเป็น leader ด้านเทคโนโลยีมาอย่างยาวนาน และถือเป็นประเทศนวัตกรรมแห่งนึงของโลก

ในครั้งนี้ อจ.ได้เดินทางมากับคณะทำงานย่านนวัตกรรมทางการแพทย์สวนดอก (Suandok Medical Innovation District, SMID) ซึ่งมากับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ และหัวหน้าศูนย์นวัตกรรมคณะแพทยศาสตร์ มช. อจ. ไก่ รศ. พญ. ศิริอนงค์ ร่วมด้วยกับ คณาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ และ สถาปัตยกรรมที่ร่วมพัฒนาย่านในด้านต่างๆ

งาน SusHi Tech Tokyo ปีนี้ มีการ run งานตั้งแต่ 27 April - 26 May 2024 โดยการ Run งานก็มี activity ต่าง ๆ เกิดขึ้น โดยที่มีการจัดงาน Exhibition ในวันที่ 16-17 May 2024 ที่ Tokyo Big Sight ศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่ของ Tokyo

The SusHi Tech Program 2024

รูปแบบของการจัดงาน เป็นการจัดงานที่ มีเป้าหมายในการเชื่อมโยง ผลักดันและขยายความร่วมมือทางด้าน technology โดย มี program หลัก ๆ 3 programs ได้แก่

  1. Showcase Program

    ใน Showcase Program เป็นกิจกรรมที่โชว์ sustainable city ที่ประกอบด้วยการรวมกันของธรรมชาติและความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตอยู่ (nature and convenient) โดยมีการเปิดประสบการณ์ของ โตเกียวในอนาคต ในสถานที่จัดที่จัดทั้ง 4 แห่ง โดยโชว์ผ่านการพัฒนทางเทคโนโลยีได้แก่ #Food #Tech #Mobility #Activity #Entertrainment

    โดยมีการจัดงานแสดงสัมนาและออก Booth ต่าง ๆ ในงาน 2 วันของ SuShi Tech Tokyo Day

  1. Global Startup Program

    เป็นโปรแกรมที่เฟ้นหา startup ที่ยอดเยี่ยมแห่งโลก โดยที่เปิดให้มีการสมัคร ผ่านการคัดเลือกและมี Top 20 Finalise ที่ได้มาแข่งขันกันที่วัน pitching day ในงาน

  2. Leadership Program

    มีการจัดประชุม ผู้นำใน Theme “Conneting CIties, Creating a Better Future” โดยการผลักดันของกลุ่มเครือข่ายเมืองระดับโลกเพื่อความยั่งยืน (G-NETS)

    ในปี 2022 ศาลาว่าการกรุงโตเกียวได้เปิดตัว Global City Network for Sustainability (G-NETS) ในฐานะเครือข่ายเมือง ตามเมือง สำหรับเมืองต่างๆ โดยจะทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับเมืองต่างๆ เพื่อพบปะและหารือถึงวิธีแก้ปัญหาความท้าทายทั่วไปที่เราเผชิญจากมุมต่างๆ และทุกระดับ รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับทำงาน เจ้าหน้าที่อาวุโส และนายกเทศมนตรี/ผู้ว่าการรัฐ โดยมีการผลักดันเชิงรุกเชิงนโยบายให้เกิดขึ้นได้จริงจากความร่วมมือในระดับต่าง ๆ

Walk to the venue

เอาหละ ต่อไปก็ได้เวลาในการเดินทางไปยังสถานที่จัดประชุมแล้ว เราขึ้นรถไปจากโรงแรมไปจนเกือบสุดสายเลยห่างจาก city center พอสมควร สิ่งที่สังเกตเห็นคือความเป็นเมืองใหม่ ที่สร้างขึ้นต่อขยายจากเมืองเดิมและต้นไม้สีเขียวตลอดทางตอกย้ำความเป็น sustainable city

Saw, and Sawing by Claes Oldenburg / Coosje Van Bruggen Sculpture

ทางเข้า Tokyo Big Sight เห็นเลื่อยขนาดใหญ่ปักอยู่ และเมื่อไปค้นข้อมูลก็ความหมายของสภาปัตยกรรมชิ้นวางนี้ว่า

“Saw, and Sawing” by Claes Oldenburg / Coosje Van Bruggen Sculpture

เป็นชิ้นงานเลื่อยปักเปลือกโลก ที่เสมือนงานช่างทั้งสร้างและซ่อมแซม ให้กับโลกของเรา (https://www.bigsight.jp/english/visitor/services/artwork.html)

ทางเข้า ก็จะใหญ่ ๆ อลังการแบบนี้ เป็นทางที่เขื่อมตรงมาจากรถไฟที่มายังสถานที่ประชุม

เข้างานปุ๊บ มันก็จะเป็นทางเดินแบบตัว U นะ เข้าไปทางขวามือ ก็จะเจอ Stage A ก่อน และ ก็จะมี Booth ใหญ่ ๆ เรื่องเกี่ยวกับเมือง คือต้องบอกเลยว่า SusHi Tech Tokyo นี้ เน้นเรื่องเมืองมาก ๆ เลย การสร้างเมืองอัจฉริยะเอย อากาศเอย public space เอย

อันนี้ไปยืม slide ของ อจ แนน อจ ผู้เชี่ยวชาญผังเมือง และทำงานด้านผังของ ย่านนวัตกรรมทางการแพทย์สวนดอกมาครับ ก็จะเห็นการพัฒนาเมือง Shibuya ที่มีวงกลมเป็น Work Live Play คือ ทั้งทำงาน ทั้งการอยู่อาศัยและก็ทั้งเรื่องกิจกรรมบันเทิงนะ เรียกว่า คลุมการใช้ชีวิตทั้งหมด และมีจุด ๆ รอบ ๆ คือ Digital และคลุมด้วย Theme กว้างคือ sustainable development วงใหญ่ อีกที อันนี้เป็น Writing opinion board เป็นรูปแบบ brainstorming และ เพิ่ม participation ให้คนร่วมงาน

มีงานของฝั่งเอกชนที่ทำธุรกิจและทำงานร่วมไปตามนโยบายของภาครัฐบาล เช่น TOKYU COOPERATION ที่เป็นบริษัทที่ทำเรื่องการขนส่งมาก่อน จากนั้นก็มีการทำธุรกิจและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และขยายมายังด้าน Lifestye และการท่องเที่ยว

โดย slogan ของ TOKYU Group คือ “Toward a Beautiful Age” และมีปรัชญาการทำงานที่เป็นแกนกลางว่า “Creating beautiful living environments that accommodate people’s diverse values” คือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สวยงามเอื้อต่อการใช้ชีวิตให้กับผู้คนที่มีคุณค่าอย่างหลากหลาย >> https://tokyugroup.jp/en

Shibuya Project ก็เป็นอีกหนึ่ง Project สำคัญ สำหรับการพัฒนาเมือง โดยมี aim ในการ ปลุกชิบุยะ Revitalizaing Shibuya โดยมีโครงการสร้างสิ่งแวดล้อมและตึก ต่างๆ มากมายในย่านนี้ โดยก็จากกลุ่ม TOKYU นั่นแหละ

ผังเมืองชิยุยะ มีการออกแบบ space ให้มีกิจกรรมที่มีทั้งการทำงานและความสนุกสนาน แหม่ work life integration เสียจริง ๆ Playwork แล้วดู Logo ดิ มีรูปเส้นเมืองวิ่งขึ้นลงเหมือนกับคลื่นหัวใจของการเปลี่ยนแปลงแบบ Vitality และก็มีอยู่ในหัวใจเสียด้วย ใครคิดนี่ creative จริง ๆ นะ

Booth visit

เอาหละ เรามา visit Booth กันดีกว่า คือบอกจริง ๆว่า งานเล็กกว่าที่คิด เพราะเคยไปงาน SWITCH SG แล้ว ใหญ่กว่านี้ เดินขาลากกว่านี้ แต่ไม่รู้ว่า scale งานลดลง เพราะหลัง COVID ไหมนะฮะ เอาว่าตอนนี้ ที่ไป Booth นี่ก็ไป product ทางการแพทย์เป็นหลัก แต่เนื่องจากต้องกลับวันนี้ ตอนเย็น เวลาคงมีไม่มาก เพราะบ่าย ๆ ก็ต้องไปฟัง pitching stage

fifuly

ตัวนี้ชอบสุดในงาน ฮะ เป็น หมอนหายใจได้ ถ้าเราใช้ pressure มันจะขยับขึ้นลงเหมือนการหายใจ คือ การขยับมัน กระตึ้นระบบประสาทผ่อนคลาย parasympathetic ยะ ดีเลย

Salt control technology

เทคโนโลยีของคนกินเค็ม คือไปคุยกับผู้ก่อตั้งนะ คือ ชีวิตมันต้องมีรสชาด ในเมื่อเปลี่ยนพฤติกรรมมันยากใช่ไหม เป็นโรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง แต่อยากกินเค็มใช่ไหม ไม่เป็นไร นี่เลย Salt control technology เพียงกิน 2 capsules พร้อมอาหารเค็มที่จะกินเลย โดยภายใจ capsule จะมี algenate ที่จะ absorb salt ที่ผ่านทางกระเพาะอาหารแล้ว แล้วก็ขับทางอุจาระออกไป ไม่ผ่านเข้าสู่ร่างกาย

ท่านคณบดีก็ถาม มีแนวโน้มในการทำการ absorb น้ำตาลไหม

เค้าก็บอกว่า น่าสนใจ คือจริง ๆ คนกินหวานก็เยอะเนอะ หากสามารถจับน้ำตาลได้ นี่จะดีเยี่ยมเลย หรือทำเป็น combine pill ได้ในอนาคต

DARA - clinical decision support AI

(mesh bio https://www.meshbio.com)

เป็นระบบ ที่ integrate เข้าไปจับ data ในโรงพยายาลแล้วเอา data มา guide clinical decision support ให้แก่หมอและผู้ป่วย โดยโรคที่เอามาใช้งานได้ดีแล้ว คือ การนำข้อมูลคนไข้ diabetes mellitus มาทำนายการเกิดโรคไต chronic kidney disease (CKD)

Clinical Decision Support โดยใช้ AI กำลังมีการพัฒนามากขึ้น ซึ่งแต่เดิม จริง ๆมีมานานแล้ว แต่การพัฒนาของ AI จะทำให้ CDSS ทำงานได้ดียิ่งขึ้นมาก

iCure

ในยุค aging society แบบนี้ การ monitor โดยการใช้ sensor เป็นอะไรที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเตียงเป็นส่วนที่มีการใช้อุปกรณ์ sensor มากที่สุดอุปกรณ์หนึ่ง โดยมีตั้งแต่สร้างแผ่นรองนอน หรือ สร้างเตียงที่มี sensor จับวัดการกดและท่านอนได้

ใน Booth iCare นี้เป็น start up สัญชาติไต้หวัน ที่ทำแผ่นรองนอน ที่สามารถจับสัญญาณชีพได้ โดย sensor ที่ใช้นั้นเป็น sensor ที่รับแรงสั่นสะเทือน ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ ความดัน การเต้นของหัวใจ

ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ ได้สอบถามนวัตกรรมที่รองนอนของ iCare

ความพิเศษ ของแผ่นรองนอนตัวนี้ คือมันมี sensor ที่มีความไวและกระจายหลายตำแหน่ง ทำให้ เวลาการวางปูนั้นไม่ได้ใช้แผ่นปูบนฟูกเตียงนอน แต่วางใต้ฟูกเตียงนอน โดยที่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า สามารถใช้ได้กับ mattress ทุกชนิดเสียด้วย และสามารถรับสัญญาณ ไม่ว่าคนไข้ จะอยู่ท่านอนหรือกึ่งนั่งก็ตาม โดยที่ target group เป็น บ้านพักผู้สูงอายุ ถือว่าสามารถตอบโจทย์ pain point ได้ดีทีเดียว เพราะจากประสบการณ์การทำบ้านผู้สูงอายุมา ปัญหาการ monitoring นี่เป็นปัญหาที่สำคัญมากจริง ๆ

Pitching stage - Global Startup Competition

ต้องบอกว่า highlight หนึ่งของงานนี้ คือการ pitching สุดยอด startup จากทุกมุมโลก โดยมี เงินรางวัลมหาศาล (จำตัวเลขไม่ได้) แต่รู้ว่าเยอะ หนะ โดยตอนที่ เราได้เยี่ยมชม Booth ก็ได้พบ startup ที่ขึ้น pitching ด้วยอยู่ เช่น สาวสวยจาก Mediktor ที่นำเอา AI chatbot ที่เป็น Triage ทางการแพทย์ และ กลุ่ม Precision medicine for Cancer ด้วย ต้องบอกว่า โคตรล้ำนะ แต่ละทีม คือดีงามมาก ๆ

หนึ่งใน Theme ที่มาแรงมาก ๆ คือ sustainable development ครับ ทีม COGO นี้ ตบท้ายด้วย Let’s go change the world together, let’s COGO

Mediator ที่ใช้ AI chatbot ที่ตอนแรก เราก็รู้สึกเฉย ๆ แต่พอมาฟัง pitch แล้วไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ กรรมการก็ถามว่า แล้วต่อไป Gen AI มันจะมาแทนไหม แต่ด้วย trusted data คิดว่า คงแทนได้ยาก

อันนี้ ทีม Cancer free biotech แต่ละคนเป็นระดับ Professor ถือว่า ทีมดีมาก

อันนี้ slide TAM SAM SOM ส่วยดี ขึ้นมาทีละวง

Innovation and Startup from Thailand

ในงาน SusHi tech ครั้งนี้ ได้พบปะกับหน่วยงานที่เป็นหัวหอกด้านนวัตกรรมของไทย นั่นก็คือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Agency, NIA) นั่นเอง โดยได้มีการลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานราชการของทางญี่ปุ่นในงานนี้อีกด้วย นอกจากนี้ ทาง National Innovation Agency ยังได้นำ Startup จากประเทศไทย เข้าร่วมงานด้วย ถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของประเทศไทยเลยทีเดียว และก็ยังพบ โค้ชก้อง และผองเพื่อน ๆ ด้วยนะ

เอาหละฮะ มาถึง เรื่องสิ่งที่ได้เรียนรู้ สิ่งที่เป็นการบ้านต้องทำต่อไปนะฮะ

คือประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็น leader ทางด้าน tech แต่เอาจริง ๆ ในเชิง Global ก็ยังติดชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ดี คือเดินในงาน ชาวต่างชาติ น้อยกว่า Techsauce เสียอีก คิดว่าเพราะ language barrier ก็ยังมีอยู่ และที่นี่ค่าครองชีพสูงนะ แต่งานก็ถือว่า ทำได้ international ดีมาก ๆ เลย

การพัฒนา Technology คิดว่ามีโปรแกรมที่ทำได้ดี โดยการสนับสนุนของรัฐบาล และความร่วมมือของเอกชนและ academia นะฮะ พอไปดูใน Youtube channel SusHi Tech Tokyo ก็จะได้เห็นการนำเสนอนโยบายที่ไปในทิศทางที่ดีมาก ๆ คือวาง stretegy มาดีและชัดเจน

การพัฒนด้านย่านนี่ที่นี่หายห่วงอยู่แล้ว เนอะ ก็ความเป็นญี่ปุ่น ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การวางแผน และการร่วมมือของประชากร ก็อย่างว่า ประเทศพัฒนาแล้ว อันนี้ หมายถืงคนก็พัฒนาแล้วเช่นกัน

ประเทศไทยคิดว่า เราทำได้ คือ เชียงใหม่เป็น International Hub อยู่แล้ว ทีม academia ก็แข็งแกร่ง แต่ยังขาดการ alignment ของรัฐ เอกชน และ academia ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ด้วย อันนี้ จริงตอนนี้ Suandok Medical Innovation District ก็ทำมาได้ในระดับนึง และยังดีขึ้นได้ ต้องอาศัยการ support การประชุมวางแผนงานและผลักดันจริง ๆ จัง ๆ คือ quadruple helix นี่เราทำได้ ขาดเรื่องนี้เลย และ อีกเรื่องคือ continuous execution คือต้องมี executive team ที่อินและกัดไม่ปล่อย นะฮะ

มาเขียนวันที่หลังจากกลับจากงาน SusHi Tech 2 วัน เพิ่งได้พัก แล้วจะมาเล่าที่ไปทำความร่วมมือและ Explore กับ OSAKA วานก่อนมาให้ฮะ

Together We Can
— surat tanprawate