Filtering by Category: Medicine

Share

ด้วยความทรงจำอันพริ้วไหว - Alzheimer and dancing memory

Added on by Surattanprawate.

Rodolphe Fouillot  เป็นนักเต้น ได้อุทิศเวลาให้กับกิจกรรมและโปรเจคทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย

เค้าได้ใช้เวลาไปโรงพยาบาลเพื่อทำ project workshop การเต้นสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่บ้านพักคนชรา Sainte-Anne d'Auray Châtillon ในประเทศ ฝรั่งเศษ

 โรคอัลไซเมอร์ สมองของคนป่วยจะเสื่อมสภาพลำ้หน้าเดินกว่าวัยที่ควรจะเป็น สมองในส่วนของความจำและวงจรของมันที่เรียกว่า Papez circuit (วงจรของปาเปซ) ที่ทำหน้าที่เสมือนกล่องเก็บความจำจะเป็นส่วนที่เสื่อมสภาพเป็นอันดับแรกเป็นเหตุให้ความจำสูญเสียไปก่อน จากนั้นส่วนเปลือกสมอง  cortex จะเสื่อมตามมา 

เป็นที่น่าสนใจว่า แม้ความจำระยะสั้นจะหลงลืมไป แต่ความจำในสมองส่วนลึกและดั้งเดิมจะยังถูกเก็บรักษาอยู่ และสมองส่วนนี้ มันเก็บอารมณ์ ความรู้สึก เสียงเพลง รวมถึงจังหวะและ ดนตรีที่ชอบ 

Rodolphe Fouillot นำเสรอการเต้นตามจังหวะเพลง และการแสดงอันน่าสนุก ไปใช้รักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จังหวะการเต้น จะเร้าร่างกายให้เต้นไปตามจังหวะเพลงและมันก็ส่งผลดีเหมือนการออกกำลังกาย นอกจากนี้ เนื่องจากสมองมันมีการติดต่อ เชื่อมโยงกัน อย่างแยกเป็นส่วนหนึ่งไม่ได้ จังหวะและการกระตุ้นสมองส่วนลึก จึงเชื่อมไปกระตุ้นความจำที่สูญเสียไปอีกด้วย 

Rodolphe Fouillot, danseur et chorégraphe professionnel, s'investit depuis longtemps dans des projets culturels variés. Pendant un an, dans le cadre d'ateliers danse, il s'est rendu à l'EHPAD Sainte-Anne d'Auray de Châtillon (92) afin de chorégraphier une pièce pour personnes âgées. Lire l'interview : http://maladiealzheimer.fr/actualites.html#52

http://www.rodolphefouillot.com

 

Share

เมื่อเป็นแม่คน when you become A Mom

Added on by Surattanprawate.

มีคนกล่าวไว้ว่า การเป็นแม่เปรียบเสมือนการค้นพบห้องแห่งความลับในบ้านของคุณเอง ที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน ซึ่งผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำกล่าวนี้ เพราะมีหลายสิ่งที่เปลี่ยน ซึ่งนอกจากการเปลี่ยนแปลงทางสถานะทางสังคม และชีวิตประจำวันต้องเปลี่ยนไปแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนจากภายในคือ อารมณ์อันอ่อนโยน จากการเปลี่ยนแปลงของสมองนั้นเอง 

จริง ๆ อารมณ์หรือสัญชาตญาณการเป็นแม่ หรือ mother mind มันเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่แม่รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นกับร่างกายแล้ว  เรื่องของอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากจะเอามันมาเกี่ยวโยงทางวิทยาศาสตร์ละก็ มันก็หนีไม่พ้นเรื่องของสารสื่อประสาทและสมอง เป็นเวลานานเลย ที่นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตพฤติกรรม ความสัมพันธ์ของแม่และลูกเกิดใหม่ (mother-newborn relationship)  นักประสาทวิทยา ได้ค้นพบว่า ส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงของสมองแม่ลูกเกิดใหม่ จะมีการเปลี่ยนแปลงของสมองบริเวณ prefrontal cortex ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า และส่วน midbrain, parietal lobe  นอกจากนี้ ส่วนใยประสาทจะมีการควบแน่นขึ้นเพื่อให้มีการส่งผ่านของกระแสประสาทได้ดี การทำงานของสมองจะถูกเร้าโดยเฉพาะในส่วนที่ควบคุมอารมณ์ ความเมตตา และปฎิกริยาทางสังคม ซึ่งหากมองลึกลงไปอีก ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เกิดจากฮอร์โมน ที่ไหลบ่าและเปลี่ยนแปลงไประหว่างการตั้งครรภ์นัยว่าเป็นฮอร์โมนเพื่อเตรียมความพร้อมของการเป็น "Great mom"

นอกจากนี้ เมื่อแรกคลอด สมองส่วนที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลและซึมเศร้าจะเริ่มทำงาน นั้นก็ทำไปตามธรรมชาติที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณแม่มือใหม่ มีสัญชาตญาณในการปกป้องลูกน้อยและระแวดระวังเป็นพิเศษ มันก็เหมือนกับเวลาเรามีความวิตกกังวลอ่อน ๆ เวลาใกล้สอบหนะแหละ เราต้องลุกขึ้นมาอ่านหนังสือ แม้ว่ามันจะดึกดื่นก็ตาม เพื่อเอาตัวรอดจากการสอบ คุณแม่ก็จะมีความวิตกกังวลเพื่อปกป้องลูกน้อยที่ยังปกป้องตัวเองไม่ได้ ซึ่งในแม่มือใหม่บางราย ก็ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้เลย อุบัติการณ์ของโรคซึมเศร้าหลังคลอด (post partum depression) จึงเพิ่มขึ้นมาก

สมองส่วน prefrontal cortex ที่ถูกกระตุ้นเป็นสมองส่วนที่มีผลมากเกี่ยวกับการย้ำคิดย้ำทำ คุณแม่มือใหม่จึงคอยวนเวียน ล้างมือ check ผ้าอ้อม และเฝ้าดูลูกน้อยอยู่ไม่ห่าง 

จากการศึกษาด้วย functional neuro-imaging จากทีมจาก University College London ชี้ให้เห็นสมองส่วนที่ถูกกระตุ้นในภาวะของความเป็นแม่ และ คนที่ตกหลุมรัก ก็พบได้ว่า มันเป็นสมองส่วนเดียวกัน จนถึงทำให้บางคนที่มี romantic love ถึงขั้นลืมแม่ตัวเองเลย

จากการศึกษาด้วย functional neuro-imaging จากทีมจาก University College London ชี้ให้เห็นสมองส่วนที่ถูกกระตุ้นในภาวะของความเป็นแม่ และ คนที่ตกหลุมรัก ก็พบได้ว่า มันเป็นสมองส่วนเดียวกัน จนถึงทำให้บางคนที่มี romantic love ถึงขั้นลืมแม่ตัวเองเลย

สมองอีกส่วนที่มีรูปร่างเหมือนอัลมอล ที่เรียกว่า amygdala ซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บความทรงจำและขับเคลื่อนอารมณ์เพื่อตอบสนองต่อความซึมเศร้า และความเครียดก็มีการกระตุ้นด้วย ส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการกำหนดอารมณ์ของแม่ที่มีต่อทารก และในทางกลับกัน amygdala ของทารกก็จะเป็นตัวกำหนดอารมณ์ เสียงร้อง หน้าตา ที่มีความวิตกกังวล เจ็บปวด หัวเราะร่าเริง ส่งความรู้สึกผ่านทางหน้าตา ทางกาย ไปสู่แม่ด้วย มันเป็นการส่งผ่านการทำงานของสมองรูปอัลมอล ผ่านสารสื่อประสาทโดยมีร่างกายและท่าทางของร่างกายเป็นตัวกลางนั้นเอง 

การส่งผ่านของสารสื่อประสาทและท่าทางต่อกัน (interaction) มันทำให้เซลล์ประสาทหลายล้านตัวในสมองเกิดการกระตุ้นซึ่งกันและกัน เมื่อลูกมีความสุข แม่ก็มีความสุข เมื่อลูกมีความทุกข์ แม่ก็มีความทุกข์ เมื่อมีการกระตุ้นซึ่งกันและกัน จะมีการส่งผ่านการกระตุ้นไปยังสมองส่วนที่มีการให้รางวัลแห่งความสุข (brain reward system) ซึ่งอุดมไปด้วยฮอร์โมนแห่งความสุข และมันก็เชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่นกับสมองส่วนที่เกี่ยวกับความทรงจำเสียด้วย

เชื่อไหมว่า แม่ของคุณ จะไม่มีวันลืมวินาทีที่เห็นหน้าและรอยยิ้มของคุณเลย

ทำไม จึงเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น มันเป็นเรื่องของธรรมชาติสร้างสรรค์สิ่งที่งดงามขึ้น ซึ่งมันได้รับการปรุงแต่งและขัดให้เนียนมานับล้าน ๆ ปีเลย 

บอกรักแม่นะครับ เพราะมันเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทรงคุณค่าของชีวิต และเป็นความงดงามของธรรมชาติ 

Ref. 

1. http://www.medical-neurosciences.de/fileadmin/user_upload/microsites/studiengaenge/neurosciences/cns-2014-i7i2.pdf

 

Share

The beautiful death

Added on by Surattanprawate.
image.jpg

ความตาย...หลาย ๆ คนกลัว ... 

 บางคนบอกว่า ไม่กลัวความตายแต่กลัวการพลัดพราก พลัดพรากจากของที่รัก พลัดพรากจากการเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะของรัก คนรัก หรือร่างกายตนเองอันเป็นที่รัก 

บางคนไม่กลัวความตาย แต่กลัวผี ซะงั้น 

ในประเทศไทย การพิจารณาความตาย เป็นกิจของสงฆ์ หรือ ผู้ที่ต้องการปลงและพิจารณาถึงสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน และกฏแห่งธรรมชาติ  สมัยผมเรียนเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 5 วิชานิติเวช ขณะที่เหล่านักศึกษาแพทย์กำลังชำแหละชันสูตร พลิกศพ จะมีอัฒจันทร์ด้านตรงข้ามเป็นที่ยืนของพระสงฆ์ ที่เข้ามาพิจารณาศพ เพื่อปลงสังขารอยู่ด้วย ส่วนพวกเรา นักศึกษาแพทย์ มองด้วยความสนใจใฝ่รู้ หาสาเหตุของการตายผิดธรรมชาติของศพนั้น 

สงฆ์ พิจารณาความตาย เป็นเรื่องธรรมชาติ 

แพทย์ สืบหาสาเหตุตาย ที่ผิดธรรมชาติ 

ศพเดียวกัน ต่างมุมมอง ! 

 

ความตาย...หลาย ๆ คนไม่กลัว...

นอกจากไม่กลัวแล้วยังเห็นความสวยงามของความตายเสียอีก  เรียกว่า Art of Death, and Beautiful of illness

 มองมันเป็นเรื่องธรรมชาติ มองมันเป็นเรื่องของสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ เมื่อเลี่ยงไม่ได้ ก็เผชิญกับมันและมองมันให้งดงาม 

การมองความตายเป็นเรื่องสวยงามเป็นเรื่องยาก แม้สัปเหร่อที่มีหน้่าที่จัดศพให้งดงาม ก็มองความตายเป็นเรื่องที่ไม่น่ารื่นรมย์นัก 

 การจัดฉากความตาย ภพภูมิแห่งความตายในประเทศไทย มักเห็นอยู่ในวัด แต่เป็นลักษณะของการสอนให้ปลงหรือมีความเชื่อทางศาสนาแอบแฝงอยู่ ส่วนในต่างประเทศ ซึ่งผู้คนส่วนหนึ่ง มีความคิดทางวิทยาศาสตร์และตรรกะสูง(ซึ่งก็ทำให้หนังสือ God delusion ขายดีเป็นเทน้ำ เทท่า) มักมองการเกิดใหม่เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้  และมักจะเชื่อมความเจ็บป่วยหรือความตายเข้ากับความงาม และ ศิลปะ

ดังจะได้เห็น museum ในหลาย ๆ ประเทศ เป็น medical museum ที่ว่าด้วยเรื่องความเจ็บป่วย ประวัติศาสตร์ และความตาย 

ผมเคยเปิด web site เรื่องเกี่ยวกับศิลปะของ ร่างกาย ความตาย และการเจ็บป่วย ให้เพื่อน ๆ และบุคคลที่สนิทชิดเชื้อดู แต่ละคนทำหน้า เหมือนผีเข้า แล้วบอกว่า "มึงจะบ้าเหรอ ทำไมไม่ไปดูดอกไม้ ใบไม้ มันน่ารื่นรมย์ กว่าเยอะ"  

ผมบอกว่า "ในขาวมีดำ ในดำมีขาว" (ไม่ใช่ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว นะ) "ในความตาย มีความงามเสมอ และ vise versa ในความงาม มีความทุเรศ เสมอ" 

หลาย ๆ museum เป็น  museum ที่เกี่ยวข้องกับความตายโดยเฉพาะ เช่น Morbid anatomy LIbrary and Museum ที่ New York ซึ่งเป็นนิทรรศการว่าด้วยเรื่องความงามกับความตายโดยเฉพาะ (http://morbidanatomy.blogspot.com/p/morbid-anatomy-library.html)

ผมยังไม่เคยไป New York และ ไม่เคยอยากไป (เพราะแพทย์รุ่นน้องที่ไปเป็นนักศึกษาดูงาน บอกว่า มีขี้หมา เต็มเมือง) แต่อยากไป Museum ที่ New York  ที่มี Museum เกี่ยวกับความตาย 

ใน London ก็มี Museum ที่แม้ว่าไม่ได้เกี่ยวกับ ความตายโดยตรง แต่ก็มีร่างกาย ความเปื่อยแห่งร่างกายที่เป็นโรค การผ่าตัดศพและคน ที่อยู่ใน Museum นั้นเป็นจำนวนมาก โดย Museum ที่ผมเคยไป ใน London ได้แก่  

 

 

Hunterian Museum: http://www.rcseng.ac.uk/museums

 

Wellcome Library: http://wellcomelibrary.org

 

ขอเตือนไว้ก่อนว่า หากคุณเป็นพวกโลกสวย อาจผิดหวังได้ !