คุณเคยเห็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา หรือ การบริการใหม่ ๆ ทางการแพทย์ที่ออกสู่ตลาดไหม เราอาจใช้บริการกันเพลิน ๆ แต่หากมองย้อนไปดูกระบวนการ ขั้นตอน และเวลาในการทำวิจัย จนออกสู่เป็นผลิตภัณฑ์ มันใช้เวลานานมาก ๆ และหากลองมาคิดดูว่า หากผลิตภัณฑ์ที่สร้างออกมาแล้วไม่ตอบโจทย์ในการให้บริการหละ นอกจากเสียเวลาแล้ว ยังเสียเงิน แรงกาย แรงใจในความทุ่มเทในการพัฒนาและวิจัยอีกด้วย
แนวทางแบบการใช้องค์ความรู้แบบ สหวิชาการ หรือ transdisciplinary approach ร่วมกับความคิดเห็นของผู้ใช้ปลายทาง หรือ ลูกค้า ที่เรียกว่า co-creation โดยตรง อาจเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่เป็นนวัตกรรมใหม่อย่างประหยัดต้นทุน ในบริบทนี้ Hackathons (แฮกกะทรอน) หรือ กระบวนการ Hack ได้กลายเป็นกระบวนการที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับสถาบันการดูแลสุขภาพเพื่อสร้างความกระตือรือร้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์และประหยัดเวลา
“Hackathon” = “Hack” + “Marathon”
ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990 แนวคิดในการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญมาเป็นทีมเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันและแก้ปัญหาเร่งด่วนได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนหน้านี้ Hackatron เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ที่ทำงานด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการแก้ปัญหาโดยวิธีที่แตกต่างโดยอาศัยการระดมสมอง แต่เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงและการ disruption วงการต่าง ๆ โดยเฉพาะวงการแพทย์ ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว Hackathon จึงถูกนำมาใช้ในการคิดหาทางแก้ปัญหาด้วยวิธีที่แตกต่างจากการพัฒนาแบบเชื่องช้าแต่อาจไม่ตอบโจทย์ เพื่อให้ทันต่อโลกที่ถูกสายป่านแห่งเทคโนโลยีปั่นให้หมุนเป็นลูกข่าง โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 จาก Literature review พบว่า มีการจัด Hackathon ในด้านสุขภาพกว่าร้อยครั้งทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่จัดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองแห่งนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก นั่นเอง
Hackathon : the best way to build innovation like a fast house ?
การพัฒนาเทคโลยีด้านการแพทย์มีหลายวิธี แล้ว Hackathon เป็นวิธีที่ดีในการทำนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพจริงหรือ ?
คำตอบนี้ The Consortium for Affordable Medical Technologies (CAMTech) (http://camtech.mgh.harvard.edu) ที่เป็นแผนกเทคโนโลยีด้านสุขภาพของ Massachusetts General Hospital ได้เผยแพร่ผลลัพธ์ของการทำ Health Hackathon 12 ครั้งตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2558 ในอินเดียยูกันดาและสหรัฐอเมริกา พบว่า ภายหลังการทำ Health Hackathon ได้มีการพัฒนาการแก้ปัญหาใหม่ ๆ มีการนำการแก้ปัญหานั้นไปผลิต product และนำเข้าสู่งานวิจัย และยังพบว่า มีการตั้งบริษัทใหม่ ที่ประสบความสำเร็จด้วยดีในภายหลังอีกด้วย โดยการทำ Hackathon ในช่วงหลัง ๆ จึงมีการทำงาน ติดตามอย่างเป็นระบบ และยอมรับกันมากทั่วโลก
Health Hackathon Resource
Hacking Health >> https://hacking-health.org
การทำ Health Hackatron เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีหลักการที่หลากหลายแต่ในระยะหลัง เริ่มมีแนวทางในการจัดการอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยหากกล่าวถึง การติดต่อและสร้างแนวทางการทำ Healh Hackathon ต้องกล่าวถึง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรชื่อว่า Hacking Health ซึ่งก่อตั้งและดำเนินการใน Montreal, Cannada ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 ที่มีการสร้างเครือข่ายและให้ความช่วยเหลือโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการ provide resource และให้คำแนะนำแก่กลุ่มที่ได้ทำ Health Hackathon ทั่วโลก รวมถึงที่ USA, Germany, Netherland , France และ อื่น ๆ โดยนอกจากผลพวงในการสร้างผลิตภัณฑ์และวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการกับปัญหาสุขภาพแล้ว ยังได้มีความร่วมมือในการจัดกิจกรรมในท้องถิ่นต่างๆตั้งแต่การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวการแพทย์ไปจนถึงการพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพดิจิทัล ตั้งแต่นั้นมาบทและเครือข่ายก็ค่อยๆเติบโตขึ้น
MIT Hacking Medicine >> https://hackingmedicine.mit.edu
MIT Hacking Medicine ก่อตั้งขึ้นที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ในบอสตันสหรัฐอเมริกาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเร่งนวัตกรรมทางการแพทย์โดยดำเนินการ Health Hackathon และ การประชุมเชิงปฏิบัติการหรือการรวมเครือข่ายทั่วโลก โดย MIT Hacking Medicine ได้สร้างหนังสือแนวทางในการทำ Health Hackathon Hand Book ที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการจัดระเบียบ Hackathon ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
มีให้บริการทางออนไลน์ฟรี >> Download here >> MIT Hacking Medicine Handbook