Mindset คุณเป็นอย่างไร ?
บางคนอาจไม่รู้จะตอบยังไง บางคนขวนเขินในการตอบ บางคนตอบว่า ฉันก็มี mindset ที่ดียังไงหละ คือ mindset หรือ แปลไทยว่า “กรอบความคิด” “แนวคิด” หรือ “วิธีคิด” มันมีหลายประเภท และ การที่ต้องการคำตอบแบบไหน มันก็คงขึ้นกับบริบทของคนถามด้วย เช่น หากเป็นฝ่ายพัฒนาองค์กร หรือ องค์กรที่กำลังทำนวัตกรรมหละก็ พนักงานที่ตอบว่า ฉันมี “Growth Mindset” ก็คงเป็นคำตอบที่ทำให้ผู้ถามยิ้มได้
“Growth Mindset” vs “Fixed Mindset”
ในองค์กรนวัตกรรม เราอาจเคยได้ยินคำพูดว่า “Fail fast, Fail often” หรือ “การล้มแล้วล้มอีก” คือหนึ่งในกระบวนการนำไปสู่ความสำเร็จผ่านกระบวนการเรียนรู้ การเกิดความผิดพลาดในเหตุการณ์ของหลาย ๆ คน อาจนำไปสู้ความท้อถอยและถูกตำหนิ แต่มันไม่ใช่แนวคิดทางนวัตกรรมแน่ ๆ หากเราได้ย้อนไปดูการทำนวัตกรรมสิ่งของต่าง ๆ ที่เราใช้ในปัจจุบัน เราอาจมองเห็นปลายยอดแห่งความสำเร็จ แต่หากไม่ได้ทราบหรือมองไปยังความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า แต่กุญแจของความสำเร็จ คือไม่ท้อแท้ และพร้อมปรับเสมอ
Stanford Psychologist Carol Dweck ผู้ที่แต่งหนังสือ Mindset: the New Psychology of Success กล่าวไว้ว่า บุคคลที่มี Fixed mindset เป็นบุคคลที่มีแนวคิดและความเชื่อว่า ความฉลาด ศักยภาพของเรา เป็นสิ่งที่ปรับได้ยาก ในขณะที่ Growth mindset เชื่อว่า เราสามารถพัฒนาความสามารถและศักยภาพของเราไปได้อย่างไม่หยุดยั้งผ่านการเรียนรู้ และความล้มเหลว และ ในปัจจุบัน บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ก็รู้แล้วว่า องค์กรจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้นั้น การมี Growth mindset ในองค์กร มีความสำคัญอย่างไร และ กระบวนการทำงานของบริษัท ก็เปลี่ยนจากการเลือกแต่ไอเดียดี ๆ และรับไม่ได้กับการผิดพลาด ก็เริ่มมีการยอมให้มีความผิดพลาดเพื่อให้ได้ลอง และก้าวไปข้างหน้า ต่อไป
การเลือกคนและการพัฒนาคนทำงานก็มีความเปลี่ยนไป
การที่มุ่งไปที่เลือกคนที่เก่งอยู่แล้วแต่ทำงานประจำวัน เดิม ๆ มันกลายเป็นการเดินย่ำกับที่และองค์กรก็จะถูกทับถมด้วยอีโก้ และตอนนี้องค์กรทั้งหลาย ถูกเปลี่ยนเป็นการมองหาคนที่รักความท้าทาย มีมุมมองใหม่ และพร้อมที่จะพลาด
Growth Mindset กับการแสวงหาและผสมผสาน
“[T]echnology alone is not enough—it’s technology married with liberal arts, married with the humanities, that yields us the results that make our heart sing.” — Steve Jobs
“เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวมันไม่เพียงพอหรอก ต้องให้เทคโนโลยี แต่งงานกับศิลปะ แล้วก็ความเป็นมนุษย์ ถึงจะทำให้หัวใจมันร้องเพลงออกมาได้” - Steve Jobs
นี่คือคำกล่าวของ Steve Job ผู้ที่ทุกคนรู้ดีว่า เค้ามีความพยายามและสร้างสรรค์เพียงใด องค์ประกอบหนึ่งของ Growth mindset คือการคิดข้ามสาขา (across discipline)
Tim Brown, CEO ของ IDEO ได้ให้นิยามและความสำคัญของ “มนุษย์ T-Shape” ที่แนวตั้งของตัว “T” หมายถึงความรู้ลึกในแขนงที่มีความชำนาญ ในขณะที่ ยอดของตัว “T” ที่วางในแนวขนาน หมายถึงการแสวงหาหรือสนใจที่หลากหลายและข้ามสาขา การเข้าใจทั้งในแนวตั้งและสนใจในแนวนอน เป็นส่วนผสมที่จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการแก้ปัญหา มองหลายมุม และมีความพลิกแพลงพร้อมด้วยแรงบันดาลใจสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้
"ในการทำนวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จ เรามีความจำเป็นที่ต้องเข้าถึงหลากหลายสาขา และ ตั้งดำลึกลงไปจากเปลือกผิวของสาขานั้น ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ ส่วนผสมนิสัยของการท้าทายและชอบทดลอง จะทำให้สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ “