ไอเดีย...อยู่รอบตัวเราเสมอ
โลกเรามันหมุนด้วยอัตราเร็วเท่าเดิม นั่นคือทางกายภาพ แต่ตามความรู้สึกของเรา มันเร็วขึ้น สิ่งๆ ล้วนเปลี่ยนไปไว คนเก่งขึ้น สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงเร็ว คนรุ่นใหม่เต็มไปด้วยไอเดียเปลี่ยนแปลงโลก เราก็สงสัย เอ แล้วเค้าเอาไอเดียใหม่ ๆ มาสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างไร มันง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ
จริงอยู่ที่ไอเดียอาจดูธรรมดา แต่เมื่อผ่านการวิเคราะห์ คิดใหม่ และลงมือทำ มันสามารถกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระดับองค์กรหรือแม้กระทั่งสังคม
เรามันคนตัวเล็ก จะไปคิด ไปทำอะไรที่มันเปลี่ยนแปลงระดับมหึมาได้อย่างไร ?
แต่อย่าลืมคิดไปว่า คนที่ประสบความสำเร็จระดับเปลี่ยนแปลงโลกได้ ล้วนเริ่มจากการเป็นคนตัวเล็กทั้งนั้นแหละ
การเริ่มต้นง่ายๆ หาไอเดีย เพื่อแก้ปัญหาเดิม นั่นสำคัญ และนั่นคือที่มาของ PWR Framework — เครื่องมือ 3 ขั้นตอน จากทีมนวัตกรร MedCHIC ที่จะช่วยให้คุณ "เห็น", "เข้าใจ", และ "ลงมือ" กับไอเดียรอบตัว
P — Problem: มองเห็นปัญหาในชีวิตประจำวัน
จุดเริ่มต้นของไอเดียที่ดี คือปัญหาที่แท้จริง
Problem exploration
เราเจอปัญหาทุกวัน แต่เราอาจมองข้ามมันไป เพราะชินกับ “ทางเดิม” หรือ “ระบบที่เป็นอยู่”
PWR ชวนคุณถามตัวเองว่า:
1️⃣ What is the current problem?
ปัญหาปัจจุบันคืออะไร?
(คำอธิบายสถานการณ์หรือสิ่งที่ไม่เวิร์กในมุมของผู้ใช้/ลูกค้า/ทีม)
2️⃣ Who is affected & how?
ใครได้รับผลกระทบ และได้รับผลกระทบอย่างไร?
(เจาะว่าแต่ละ stakeholder ได้รับผลอย่างไร มี pain point หรือความเสี่ยงตรงไหน)
3️⃣ What assumptions are being made?
สมมติฐานที่เชื่อโดยไม่รู้ตัวมีอะไรบ้าง?
(สิ่งที่เราคิดว่า “ใช่” แต่ไม่เคยพิสูจน์ เช่น “ลูกค้าชอบแบบนี้อยู่แล้ว”
สิ่งเหล่านี้เราอาจรู้เองเมื่อมองไปรอบข้าง
เราอาจรู้โดยฟังเสียงบ่น
ไอเดียเริ่มจากปัญหาเสมอ เพราะไม่มีปัญหาเราก็ไม่รู้จะคิดไอเดียไปแก้อะไร
เมื่อคุณตั้งใจฟังโลก ไอเดียจะเริ่มก่อตัว
W — Why It’s Not Working?: วิเคราะห์ความล้มเหลว (เจาะลึกสาเหตุ)
สิ่งที่มีอยู่ในวันนี้ ไม่ได้แปลว่าคือ “คำตอบที่ดีที่สุด”
นี่คือจุดที่คุณเริ่มตั้งคำถามกับระบบเดิม วิธีเดิม หรือผลิตภัณฑ์เดิม:
4️⃣ What solutions have failed?
แนวทางหรือเครื่องมือเดิมที่เคยลองแล้วไม่สำเร็จคืออะไร?
(ใช้ได้แต่ไม่ตอบโจทย์ ใช้แล้วไม่มีผล ใช้แล้วซับซ้อนเกินไป)
5️⃣ What are the hidden obstacles?
ข้อจำกัดหรืออุปสรรคที่ซ่อนอยู่คืออะไร?
(วัฒนธรรมองค์กร ข้อมูลไม่พร้อม เวลาไม่พอ ทีมไม่เข้าใจ ฯลฯ
6️⃣ What is the root cause behind the failure?
สาเหตุเชิงลึก (รากของปัญหา) คืออะไร?
(มองแบบระบบ ว่าอะไรคือต้นตอ: mindset, policy, process, incentive ฯลฯ)
"Every breakthrough begins with a simple question: 'Why not?'"
Micheal Siebel กล่าวว่า “เราไม่สามารถแก้ปัญหาเดิมได้ด้วยวิธีแบบเดิม”
ทางแก้อาจไม่ถูกกับปัญหาจริงๆ
หรือไม่ มันก็ใช้เวลามากเกินไปและติดข้อจำกัด
R — Reframe & Reimagine: เปลี่ยนมุม คิดใหม่ สร้างใหม่
เมื่อคุณเปลี่ยนคำถาม — โลกก็จะเปลี่ยนตาม
การเปลี่ยนมุมมองของปัญหา (Problem Reframe) จะนำไปสู่การสร้างไอเดียแก้ปัญหาใหม่ (Reimagine)
Section 3: Reframe & Re-creation – พลิกมุมและสร้างสรรค์แนวทางใหม่
7️⃣ New Problem Statement (Reframe)
เมื่อนิยามใหม่ ปัญหาจริงคืออะไร?
(เขียนใหม่ให้เฉียบขึ้น โฟกัสสิ่งที่ควรแก้จริง ๆ)
8️⃣ How Might We...? (HMW)
เราจะทำอย่างไรเพื่อ...?
(ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อจุดประกายไอเดีย เช่น “เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ลูกค้าเล่า pain point ด้วยความสบายใจ?”)
9️⃣ New Ideas / Re-creation
แนวคิด / Prototype / ทางออกใหม่ที่สามารถลองได้
(อาจมีหลายไอเดียก็ได้ เช่น เทคโนโลยีใหม่ กระบวนการใหม่ หรือการออกแบบใหม่)
การ Problem Reframe คืออะไร
“Problem Reframing คือกระบวนการมองปัญหาจากมุมมองใหม่ เพื่อให้เข้าใจปัญหาได้ลึกซึ้งขึ้น หรือค้นพบแนวทางแก้ไขใหม่ ๆ แทนที่จะรีบหาทางแก้ทันทีเมื่อพบปัญหา”
เราควรก้าวถอยหลังและตั้งคำถามว่า:
• นี่คือปัญหาที่แท้จริงหรือไม่?
• เราสามารถนิยามปัญหานี้ในรูปแบบอื่นได้ไหม?
• มีสมมติฐานใดที่เรายึดถืออยู่โดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจำกัดความคิดของเราหรือไม่?
ซึ่งการ Reframe จะนำไปสู่การคิดทางแก้ใหม่ (Reimagine) และ นั่นคือจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม
จาก Reframe -> Reimagine
• ช่วยเปิดความคิดสร้างสรรค์
• ป้องกันการแก้ปัญหาที่ไม่ใช่ต้นตอที่แท้จริง
• ทำให้เห็นสาเหตุที่แท้จริง ไม่ใช่แค่แก้แค่ปลายเหตุ
• เปิดโอกาสให้พบแนวทางแก้ไขที่หลากหลายมากขึ้น
มาดูตัวอย่างกันดีกว่า:
ปัญหาเดิม:
“คนไม่ใช้บันได คนใข้แต่ลิฟต์”
Reframe problem
เรามองปัญหา คือ การขึ้นบันได ต้องออกแรง คนขี้เกียจ และน่าเบื่อ และต้องใช้เวลา
“เราจะทำอย่างไรให้คนใช้บันไดแทนลิฟต์มากขึ้น?”
Reimagine
“เราจะทำอย่างไรให้การขึ้นบันไดเป็นเรื่องสนุกหรือน่าจูงใจมากขึ้น?”
การเปลี่ยนมุมมองแบบนี้อาจนำไปสู่ไอเดียใหม่ ๆ เช่น บันไดดนตรี หรือระบบสะสมแต้มเมื่อใช้บันได
ไอเดียเล็ก ๆ อาจดูไม่มีน้ำหนักในตอนแรก แต่ถ้าได้ลงมือสร้าง ทดลอง ปรับ และเล่าให้คนอื่นฟัง — มันอาจกลายเป็นสิ่งที่โลกต้องการ
ไอเดียอยู่ทุกที่... แล้วคุณจะทำยังไงกับมัน?
ไอเดียไม่ต้องยิ่งใหญ่ — แต่มันต้อง “ขยับ” ได้
บางครั้งไอเดียที่ดีที่สุดไม่ใช่สิ่งใหม่ล้ำโลก แต่คือการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ที่ตรงจุด เจาะปัญหา และเกิดจากความเข้าใจผู้ใช้จริง
กรอบคิด PWR ช่วยให้คุณ:
เห็นปัญหาแบบที่ไม่เคยมอง
ตั้งคำถามกับสิ่งที่คนอื่นมองข้าม
สร้างสิ่งใหม่จากมุมที่ยังไม่มีใครเคยลอง
Make It. Change It. Start Now.
ถ้าคุณมีไอเดีย — ลงมือสร้างมัน
ถ้าคุณเห็นปัญหา — กล้าท้าทายมัน
ถ้าคุณอยากเปลี่ยนอะไร — เริ่มจากคำถามที่ดีกว่าเดิม
“You can't use up creativity. The more you use, the more you have.” — Maya Angelou
วันนี้...คุณอยาก “สร้าง” หรือ “เปลี่ยน” อะไรในโลกของคุณ?