Filtering by Category: Philosophy

ความขัดแย้งของความรู้: ทำไมโสกราตีสกล่าวว่า "ฉันรู้ว่าฉันไม่รู้อะไรเลย"

Added on by Surattanprawate.

โสกราตีส นักปรัชญาชาวเอเธนส์ผู้ลึกลับ ได้ทิ้งร่องรอยอันลึกซึ้งไว้ในประวัติศาสตร์ด้วยแนวทางสู่ความจริงที่แหวกแนว โสกราตีสประกาศอย่างโด่งดังว่า "ฉันรู้ว่าฉันไม่รู้อะไรเลย" ต่างจากคนรุ่นเดียวกันที่อ้างว่ามีความรู้ขั้นสุดท้าย นี่เป็นสัญญาณของความไม่รู้ใช่ไหม? ไม่ได้อย่างแน่นอน. แต่เป็นข้อความที่ทรงพลังเกี่ยวกับการแสวงหาปัญญาและความสำคัญของความอ่อนน้อมถ่อมตนและการตระหนักรู้ในตนเอง

ทำไมต้องโอบกอดสิ่งที่ไม่รู้จัก?

โสกราตีสเชื่อว่าความรู้ที่แท้จริงเริ่มต้นจากการตระหนักถึงความกว้างใหญ่ของสิ่งที่เราไม่รู้ เขามองว่าตัวเองเป็นพยาบาลผดุงครรภ์แห่งความคิด ช่วยเหลือผู้อื่นในการถ่ายทอดความเข้าใจของตนเอง โดยการตั้งคำถามต่อสมมติฐานของพวกเขา และเผยให้เห็นความไม่สอดคล้องกันในการคิดของพวกเขา การตั้งคำถามอย่างไม่หยุดยั้งนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้อับอาย แต่เพื่อจุดประกายการไตร่ตรองอย่างมีวิจารณญาณและการค้นหาความจริงที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการเปิดกว้าง:

โดยการยอมรับข้อจำกัดของตนเอง โสกราตีสสนับสนุนให้คู่สนทนาของเขาเข้าถึงความรู้ด้วยใจที่เปิดกว้าง เขาท้าทายให้พวกเขาตั้งคำถามกับความเชื่อของตนเอง พิจารณามุมมองทางเลือก และเต็มใจที่จะเรียนรู้จากผู้อื่น การเปิดกว้างนี้ส่งเสริมการเติบโตทางสติปัญญาและป้องกันไม่ให้เราหยุดนิ่งในการคิดของเรา

มรดกโสคราตีส:

ความขัดแย้ง "ฉันรู้ว่าฉันไม่รู้อะไรเลย" ยังคงเป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิตและความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญญา มันเตือนเราว่าการแสวงหาความรู้ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นการเดินทางที่ต่อเนื่อง ด้วยการโอบรับสิ่งที่ไม่รู้และตั้งคำถามกับตัวเอง เราจะเปิดตัวเองสู่โลกแห่งความเป็นไปได้ และปูทางไปสู่การเติบโตส่วนบุคคลและส่วนรวม

คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับปรัชญาของโสกราตีส แบ่งปันมุมมองของคุณและมีส่วนร่วมในการสนทนาด้านล่าง!

#ปรัชญา #โสกราตีส #ความรู้ #ความอ่อนน้อมถ่อมตน #การเปิดกว้าง #การเรียนรู้ตลอดชีวิต #การตั้งคำถาม

The Anatomy of Change กายวิภาคของความเปลี่ยนแปลง

Added on by Surattanprawate.

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ มีโครงสร้างที่เอื้อหนุนต่อการเปลี่ยนแปลง ที่จะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ วันนี้บทความจาก website :Mastey ได้อธิบายด้วยพิรามิดของการเปลี่ยนแปลงเอาไว้

5 ระดับที่เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลง

ระดับที่ 1. System and Structure ระบบและโครงสร้าง

A system is “a regularly interacting or interdependent group of items forming a unified whole”. ระบบคือการเชื่อมต่อ ประสานงานของหน่วยย่อย ๆ ให้กลายเป็นหนึ่งเดียว

A structure is “the arrangement of and relations between the parts or elements of something complex.” คือ การจัดเรียงตัว ตามความสัมพันธ์กันระหว่างส่วนต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อน

มนุษย์ เต็มไปด้วยโครงสร้างและระบบ เรามีลำดับของครอบครัวเป็น พ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า น้า อา และ เราก็มีระบบในการดูแลซึ่งกันและกัน จากครอบครัว เราก็มีโครงสร้างของเมือง มีระบบในการสั่งงานกัน

โครงสร้างและระบบนั้น เป็นส่วนประกอบอันทำให้เกิดการดำรงค์อยู่ของทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ต้ังแต่มนุษย์ ระบบนิเวศแห่งป่า เล็ก ๆ กระทั่งอะตอม เซลล์ หรือ ใหญ่ ๆ กระทั้งระบบสุริยะจักรวาล

ระดับที่ 2. Knowledge and Understanding ความรู้และความเข้าใจ

ความรู้ คือ ความเชื่อที่ถูกพิสูจน์แล้ว ซึ่งต่างจากความเห็น และความรู้มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอด นอกจากนี้ ความรู้ยังขึ้นกับบริบททางสังคมนั้น ๆ โดยการก่อเกิดความรู้ จะมีกระบวนการพิสูจน์ ผ่านการทำแบบจำลอง (model) และ สร้างรูปแบบ (pattern) ขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้ ผ่านรูปแบบการทำการทดลอง การทำการวิจัย การพิสูจน์โดยกระบวนการทำนวัตกรรม

ระดับที่ 3. Paradigm and World View กระบวนทัศน์และโลกทัศน์

เมื่อกระบวนการสร้างความรู้ ผ่านการทำแบบจำลอง การสร้างรูปแบบแล้ว ก็จะถูกกลั่นกรองออกมาเป็น กระบวนทัศน์ (paradigm) เพื่อสร้างองค์ความรู้ต่อไปเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ได้ถูกบัญญัติไว้ในคำว่า Paradigm shift โดยที่ Thomas Khun ได้เขียนไว้ในหนังสือ The structure of scientific revolution โดยได้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงออกเป็น 4 ระยะได้แก่ Normal science, Extraordinary research, Adoption of new paradigm, Aftermath of the scientific revolution

ส่วน โลกทัศน์ หรือ มุมมอง เป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจทิศทางของสังคมของแต่ละบุคคลหรือครอบคลุมทั้งของบุคคลหรือความรู้และสังคมของมุมมอง โลกทัศน์สามารถรวมปรัชญาธรรมชาติ ; สมมติฐานพื้นฐานอัตถิภาวนิยมและเชิงบรรทัดฐาน หรือธีมค่านิยมอารมณ์และจริยธรรม

ระดับที่ 4. Values and Beliefs คุณค่าและความเชื่อ

Values are judgements of what is important in life. คุณค่าคือสิ่งที่ถูกตัดสินว่ามีความสำคัญสำหรับชีวิต

Beliefs are the things we accept to exists and to be true. ความเชื่อ คือสิ่งที่เรายอมรับว่ามันมีอยู่และเป็นความจริง

ระดับที่ 4. Law of though กฎแห่งความคิด

นักตรรกวิทยา (logician) ได้ให้คำนิยามของตรรกะ คือวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการมีเหตุผลที่มีความถูกต้อง และเชื่อว่า ตรรกวิทยาขึ้นกับหลักการที่ชื่อว่า กฎแห่งความคิด

โดยกฎแห่งความคิด แบ่งออกได้เป็น

  • Law of identity

  • Law of contradiction

  • Law of excluded middle

Sometimes Accidents Happen and Beauty is Born

Added on by Surattanprawate.
Try to remember that artists in these catastrophic times, along with the serious scientists, are the only salvation for us, if there is to be any. Be happy because no one is seeing what you do, no one is listening to you, no one really cares what may be achieved, but sometimes accidents happen and beauty is born.
— WILLIAM H. GASS

Meaning of Life

Added on by Surattanprawate.

what is the meaning of life น่าจะเป็นคำถามที่ สุดแสนจะ classic และ มีคำตอบหลากหลาย ความหลากหลายของคำตอบ เป็นเพราะว่า ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ไม่เหมือนกัน และทำให้มุมมองไม่เหมือนกัน

วันนี้ได้ฟัง Seth Godin ได้พูดใน youtube บทสัมภาษณ์ SETH GODIN - THIS IS MARKETING: How To Find Your Viable Audience & Win Trust From Your Target Market ที่มีส่วนหนึ่งของการพูดคุยว่า “Meaning in life is about making yourself meaningful to other people.” จึงเป็นประโยคที่น่าสนใจ เพราะมันไม่ได้ขึ้นกับประสบการณ์ หรือ มุมมองอะไรทั้งนั้น แต่ขึ้นกับ ความการเกิดเป็นมนุษย์

“Meaning in life is about making yourself meaningful to other people.” เป็นคำกล่าวที่อยู่ใน idea for TED ที่ Frank Matela ได้กล่าวไว้

ทำไม คำกล่าว meaning of life จึงเกิดขึ้นเมื่อเราทำให้เรามีความหมายต่อคนอื่น หละ การคิดนอก framework ของการมองที่ตัวเราเป็นสิ่งสำคัญ คำว่า “meaning” เป็นคำที่น่าฉงนในตัวเอง คำว่า “meaning” มี ความหมายหรือไม่ ? และเพื่อใคร

หลายคนอาจคิดว่า การมีความหมาย ก็หมายถึงทำให้ตัวเองมีความสุขหนะสิ อาจจะมีความสุขในการใช้ชีวิตด้วยการมีครอบครัวที่มีความสุข ไปตกปลาในวันหยุด หรือ ทำงานที่รัก และมีชีวิตที่มีความสมดุลในทุกทุกด้านอย่างลงตัว แต่หากมองโดยความเป็นจริงแล้ว มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ “Belong to other”

เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นมาและมีความรู้สึกของการมีคุณค่าด้วยการที่คนอื่นมาให้ความรู้สึกถึงคุณค่าให้เรา คงจะไม่มีความหมายหรือประโยชน์อะไรหากไม่มีใครให้ค่าเราเลย และนี่คือมนุษย์ ที่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ feel connect

That’s how simple it is.