Filtering by Category: Philosophy

ถ้าอยากสำเร็จ ก็ดึงตะปูออกจากหัวคุณซะ

Added on by Surattanprawate.

คุณฟังเสียงของตัวคุณไหม ลองเดินตามมันไปสิ

เสียงภายในของเราบางครั้งก็เงียบเสียจนเรามองข้ามไป ไม่กล้าเดินตามมัน เพราะความกลัวและความไม่มั่นใจที่อยู่ในใจเรา แต่เชื่อหรือไม่ว่าหลายคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ต่างก็เริ่มต้นด้วยการฟังและเดินตามเสียงภายในนี้เอง

ความล้มเหลวของคนส่วนใหญ่

คนส่วนใหญ่มักพบว่าตัวเองติดอยู่ในวังวนของการล้มเหลว ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่มีความสามารถหรือขาดโอกาส แต่เพราะพวกเขาไม่กล้าฟังและเดินตามเสียงภายในของตัวเอง ความกลัวที่จะล้มเหลว ความกลัวที่จะไม่เป็นที่ยอมรับ หรือแม้แต่ความกลัวที่จะเปลี่ยนแปลง ทำให้หลายคนยังคงอยู่ในสถานะที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา

Graham Weaver การสร้างความสำเร็จ

Graham Weaver ผู้ก่อตั้ง Alpine Investors และอาจารย์ที่ Stanford Graduate School of Business ได้แชร์ประสบการณ์ชีวิตของเขาใน Talk ที่ทรงพลัง Weaver เล่าถึงช่วงเวลาที่เขาต้องตัดสินใจอย่างยากลำบากในชีวิตการทำงาน เมื่อเขาเริ่มฟังเสียงภายในของตนเอง และกล้าที่จะออกจากงานที่ไม่เติมเต็ม เพื่อก้าวสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีความหมายมากขึ้น

Weaver ได้กล่าวว่า “ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในชีวิต คุณต้องฟังเสียงที่แท้จริงของตัวเอง” เสียงนี้ไม่ใช่เสียงของความกลัวหรือความสงสัย แต่เป็นเสียงที่มาจากจิตวิญญาณที่แท้จริงของคุณ Weaver แนะนำให้เราฟังเสียงนี้และก้าวไปตามเส้นทางที่มันชี้นำ เพราะนั่นคือเส้นทางที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง

เขายังได้แบ่งปันหลักการ 3 ข้อที่สำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถบรรลุศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่:

1. ดึงตะปูออกจากหัวของคุณ - หมายถึงการระบุและขจัดอุปสรรคที่ทำให้คุณติดอยู่ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความไม่สบายใจก็ตาม

2. ทำตามพลังงานของคุณ - ค้นหาสิ่งที่ให้พลังงานและทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้น แล้วเดินตามมันไป

3. ทุ่มเทอย่างเต็มที่ - มุ่งมั่นในเส้นทางของคุณโดยไม่มีความลังเล ยอมรับความท้าทายและโอกาสที่มาพร้อมกับมัน

การเดินตามเสียงภายในอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อคุณเริ่มฟังและทุ่มเทให้กับมัน คุณจะพบว่าชีวิตของคุณเต็มไปด้วยพลังและความหมายที่แท้จริง

กระต่ายและนาฬิกาของเขา: เรื่องเล่าของเวลา

Added on by Surattanprawate.

"นาฬิกากระต่ายขาว The White Rabbit Clock"

ในวันที่เดินทาง 2 ชั่วโมงอย่างเหนื่อยล้า ร้านอาหารญี่ปุ่น style English ร้านดัง อวดโฉมข้างทาง

ไม่รอช้า อจ. และทั้งกลุ่ม ทานอาหารที่นี่แหละ

อาหารที่สวยงามและมีศิลปะการจัดวาง หากไม่คิดอะไร มันก็แค่อาหารที่ทำให้ท้องอิ่มและขับถ่ายออกมาในชั่วข้ามวัน และหากคิดอะไร อาหารและการปรุงแต่ละรสชาด คือความหฤหรรษ์ ในห้วงยามนึงที่ดื่มกิน หากคิดส่าอาหารคือแค่สิ่งที่ดื่มกิน เราคงไม่จำเป็นต้องไปดูพระอาทิตย์เที่ยงคืนถึงอีกซีกโลกเพียงแค่ได้ดูพระอาทิตย์ดวงเดิมที่ข้ามไปอีกวัน

หน้าร้านอาหารนี้ เดินเห็นรูปปั้นกระต่ายที่ในมือถือนาฬิกาห้อยลงมา

ทำไมกระต่ายต้องถือนาฬิกา อ้อ มันมาจากเนื่องเรื่อง Alice's advanture in Wonderland กระต่ายตัวนั้น ที่รวดเร็ว ลงรูหนอนอีกดินแดนนึง

White rabbit clock กระต่ายขาวกับนาฬิกา มองเผินๆ เหมือนกระต่ายขาว ที่หลุดมาจากนิยายขายดี แต่มันมีอะไรมากกว่านั้น

White rabbit clock เป็นอุปมาทางปรัชญาที่สำรวจแนวคิดเรื่องเวลาและการรับรู้เวลา

มันได้รับแรงบันดาลใจมาจากฉากที่มีชื่อเสียงในนวนิยายเรื่อง "Alice's Adventures in Wonderland" ของลูอิส แคร์รอลล์ ที่กระต่ายขาวถูกเห็นว่ากำลังตรวจสอบนาฬิกาพกของมันอย่างรีบร้อนและร้องว่า "ฉันสาย! ฉันสาย! สำหรับนัดหมายที่สำคัญมาก!"

พฤติกรรมที่เร่งรีบของกระต่ายขาวเป็นสัญลักษณ์ของแนวโน้มของมนุษย์ที่จะถูกครอบงำโดยเสียงนาฬิกาที่ดังติ๊กตอกอย่างไม่หยุดนิ่ง ซึ่งมักจะมาพร้อมกับการไล่ล่างานและนัดหมายต่างๆ บ่อยครั้งเสียเปรียบกับการใช้ชีวิตในปัจจุบันขณะ

ใช่แล้ว เราเป็นทาสของเวลา

ในประเทศญี่ปุ่น แม้จะมีความเป็นระเบียบอย่างเคร่งครัด แต่มีสิ่งหนึ่งที่เค้าให้ความสำคัญไม่แพ้กัน คือ Be present การอยู่กับปัจจุบัน แต่สังคมญี่ปุ่น หรืออาจจะไทยด้วย กำลังมีความท้าทายของ การเร่ง speed ชีวิต ให้เร็วที่สุด เพราะความเชื่อในความสำเร็จคือ ทำอะไรได้มาก ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ นั่นคือประสิทธิภาพ แต่เชื่อไหมว่า คนที่ทำอะไรเร็วๆมาทั้งชีวิต บั้นท้ายของขีวิตเขา มักบ่นว่า รู้งี้ ใช้ชีวิตช้าๆ ก็ดีแล้ว

- อจ สุรัตน์

เป็นแบบนี้ก็ดีอยู่แล้ว" หรือ Status Quo Bias

Added on by Surattanprawate.

”งานที่ทำก็ดีอยู่แล้วนี่ ทนๆไป หัวหน้าแย่แต่ก็ไม่เลว“

“แฟนฉัน ก็เป็นคนแบบนี้ แม้จะขี้เกียจ ไม่ทะเยอทะยานหาความก้าวหน้า แต่ก็ ok เปื่อยๆ ดี”

- เรามันยืนที่เดิมและหาเหตุผลที่จะก้าวออกจากสถานะเดิมเสมอ“

เรามักคุ้นเคยกับสิ่งเดิมๆ รอบตัว จนเกิดความรู้สึกว่า "เป็นแบบนี้ก็ดีอยู่แล้ว" ทำให้เราขาดแรงผลักดันในการเปลี่ยนแปลง นี่คืออคติที่เรียกว่า Status Quo Bias หรือ ความลำเอียงที่ยึดติดกับสถานะปัจจุบัน

Status Quo Bias ทำให้เราเกิดความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะดีกว่าสถานการณ์ปัจจุบัน เราจะรู้สึกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นสูงเกินไป แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่ใช่เช่นนั้น เราจึงเลือกที่จะอยู่กับสภาพเดิม แม้ว่ามันจะไม่ดีก็ตาม

ทาง psychology เรื่องของ Status Quo bias เป็นเรื่องที่มนุษย์คิดไม่อยากปรับตัว เพื่อหลีกหนีความเสี่ยง

แต่อคตินี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตเราหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจในการทำงาน การลงทุน การสร้างความสัมพันธ์ หรือแม้แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น เราต้องตระหนักถึงอคตินี้ เพื่อให้สามารถมองเห็นโอกาสและทางเลือกใหม่ๆ ที่อาจดีกว่าสภาพปัจจุบัน

การเอาชนะ Status Quo Bias ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นกลาง ความกล้าที่จะเสี่ยง และเหตุผลที่เข้มแข็งในการตัดสินใจ เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่า "เป็นแบบนี้ก็ดีอยู่แล้ว" ให้หยุดและตั้งคำถามตัวเองว่า นี่เป็นเพียงอคติกำลังครอบงำความคิด หรือเป็นการตัดสินใจที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้วจริงๆ บางครั้งการเปลี่ยนแปลงอาจนำพาชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีกว่า​​​​​​​​​​​​​​​​

ความเศร้านั้น จริงๆแล้วมันไม่ทำให้เราทุกข์หรอก

Added on by Surattanprawate.

“จริงๆ ไม่ใช่ความเศร้าหรอกที่ทำให้ท่านเจ็บปวด แต่การตีความว่าความเศร้านั้นผิดต่างหากที่ทำให้ท่านเจ็บปวด”

- Osho -

ทุกข์ไม่ได้มาจากอารมณ์ แต่มาจากความคิด

หลายคนคงเคยรู้สึกทุกข์ทรมานจากเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต แต่เคยลองสังเกตไหมว่า จริง ๆ แล้ว ทุกข์นั้นไม่ได้เกิดจากอารมณ์ความรู้สึกโดยตรงเสมอไป แต่เกิดจาก "วิธีคิด" ของเรากับ "การตีความ" อารมณ์เหล่านั้นต่างหาก

ลองนึกภาพว่าเราสูญเสียคนที่เรารัก เจอเหตุการณ์เลวร้าย หรือผิดหวัง แน่นอนว่าความรู้สึก "เศร้า" ย่อมเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ถ้าเรา "ตีความ" ความเศร้าว่าเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ควรเกิดขึ้น หรือเป็นสัญญาณของความอ่อนแอ ความเศร้าเหล่านั้นก็จะกลายเป็น "ทุกข์ทรมาน" ที่กัดกินใจเรา

แต่ถ้าเราลอง "ยอมรับ" ความเศร้า "เข้าใจ" ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และมองมันด้วยความ "เมตตา" ต่อตัวเอง ความเศร้าก็จะกลายเป็นเพียงอารมณ์หนึ่งที่ผ่านมาและผ่านไป โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นทางใจไว้

ลองถามตัวเองดูว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด ใช่เป็นเพราะอารมณ์ความรู้สึกโดยตรงหรือไม่ หรือว่าเป็นเพราะ "วิธีคิด" ของเราเองที่ตีความอารมณ์เหล่านั้นในแง่ลบ

ลองฝึก "สังเกต" ความคิดและความรู้สึกของตัวเอง เวลาที่รู้สึกเศร้า ให้ลองถามตัวเองว่า "ทำไมฉันถึงรู้สึกแบบนี้" "ความคิดแบบไหนที่ทำให้ฉันรู้สึกทุกข์ทรมาน" เมื่อเราเข้าใจที่มาที่ไปของความทุกข์ เราก็จะสามารถหาทาง "เยียวยา" และ "ปลดปล่อย" ตัวเองจากมันได้

ลองเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนมุมมอง ความทุกข์ก็จะกลายเป็นเพียงแค่เมฆฝนที่ผ่านมา

What the hell is water?

Added on by Surattanprawate.

ในน่านน้ำแห่งหนึ่ง ของวันธรรมดาวันหนึ่ง

วันธรรมดาของปลาตัวหนึ่ง

ปลาสูงวัย ว่ายน้ำสวนกับปลาหนุ่มรุ่นกระทง พยักหน้าให้พวกมันแล้วพูดว่า "สวัสดีตอนเช้า หนุ่มๆ น้ำเป็นไงบ้าง?"

ปลาหนุ่ม สองตัว ว่ายน้ำไปสักพัก ปลาตัวหนึ่งมองไปที่อีกตัวแล้วถามว่า "น้ำคืออะไรวะ ?"

นิทานสั้นของ นักเขียน เดวิด ฟอสเตอร์ วอลเลซ ใช้เป็นตัวอย่างแนวคิดว่า บางครั้งเราก็จมอยู่กับบางสิ่งบางอย่างมากมาย จนมันกลายเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นสำหรับเรา ในกรณีนี้ น้ำหมายถึง สภาพแวดล้อมหรือวัฒนธรรมที่อยู่รอบๆ ตัวเรา และเราอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันส่งผลต่อเรายังไง เพราะมันฝังรากลึกอยู่ในการดำรงชีวิตของเรานั่นเอง

อจ สุรัตน์