Filtering by Category: Psychology

ทฤษฎีความฉลาดและความฉลาดที่ถูกบดบัง

Added on by Surattanprawate.

ความฉลาดคืออะไร

หลายๆ คน อยากเป็นคนฉลาด เพราะคนฉลาด มีโอกาสก้าวหน้าในขีวิต มีหน้าที่การงานที่ดี ประสบความสำเร็จ และแน่นอนว่ามันก็จะส่งผลไปสู่ความมั่งคั่ง ทั้งส่วนตัว ครอบครัว และสถานะทางสังคม

เมื่อเรากล่าวถึงความฉลาด เราก็คงคิดถึง วิธีที่จะพัฒนาให้เรามีความเก่งและฉลาดขึ้น ซึ่งก็คือระบบการศึกษานั่นเอง แต่เป็นที่น่าเศร้าว่า ในขณะที่เราพยายามในการคิดระบบการพัฒนาให้มนุษย์เกิดความฉลาดมากขึ้น แต่ระบบในปัจจุบัน ก็ยังจมปลักกับรูปแบบของการพัฒนาความฉลาดเพียงด้านเดียว ด้วยรูปแบบเหมือนๆ กัน

Sir.Ken Robinson นักพัฒนาระบบการศึกษา นักคิดและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ได้กล่าวว่า ระบบการศึกษาในปัจจุบัน คือภัยอันร้ายแรงที่ทำลายความคิดสร้างสรรค์โดยการตีกรอบมุ่งเน้นสร้างความฉลาดเพียงด้านเดียวและละเลยความฉลาดด้านอื่นที่ใช้ในการดำรงค์ชีวิต ทั้งยังมุ่งวัดผลที่เป็นกับดักทางการศึกษาที่เราก็เห็นผลลัพย์อยู่แล้วว่า มันล้มเหลวในบริบทปัจจุบัน

การศึกษาปัจจุบันและการวัดนี้ เป็นผลพวงของยุคที่มีการเร่งเร้าการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองและแสวงหาความรู้ใหม่ โดย Sir. Ken Robinson ได้กล่าวในหนังสือ “The Element: How Finding your Passion Change Everything” ว่า “ธาตุ (Element)” ที่เป็นคุณสมบัติโดดเด่นเฉพาะตัวของคนคนนั้น ได้ถูกกรอบการศึกษากดทับ

เมื่อการศึกษา เป็นการตีกรอบความฉลาดด้านอื่นๆ แล้วความฉลาดด้านอื่นนั้นคืออะไรกันหละ

จากทฤษฎีของ Robert J. Sternberg นักจิตวิทยา ได้แบ่งความฉลาดออกเป็น 3 ส่วน ตามทฤษฎี Triarchic Theory of Intelligence” ได้แก่

  1. ความฉลาดด้านการวิเคราะห์ (Analytical Intelligence) : เป็นความฉลาดด้านข้อมูล การใช้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสามารถทดสอบได้จากการทดสอบ IQ และ เป็นความฉลาดที่เราคุ้นเคยจากการสอน และการสอบวัดผลในห้องเรียน มักเป็นความฉลาดเฉพาะด้าน บางคนเรียกเป็น “Professional intelligence”

  2. ความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative intelligence) ความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นความฉลาดในการคิดใหม่ คิดประยุกต์ การปรับตัว การเชื่อมโยงมุมมองในแนวขวาง ผนวกข้อมูลจากหลายภาคส่วนและก่อให้เกิดการแก้ปัญหาหรือแสดงมุมมองใหม่ๆ ความฉลาดด้านนี้มักแสดงออกมาทาง “Creative and Innovation Ideas ไอเดียในการสร้างสรรค์และการผลิตนวัตกรรม”

  3. ความฉลาดในทางปฎิบัติ (Practical Intelligence) คือ ความฉลาดในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริง โดยสามารถโต้ตอบกับการใช้ปัญญากับชีวิตประจำวันได้ ได้แก่ การปฎิบัติงาน การสั่งงาน การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การตัดสินใจเฉียบพลัน ซึ่งก็คือความฉลาดในการบริหารจัดการการใช้ชีวิตและการงาน

แต่ละคน มีความฉลาดในแต่ละด้านไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดมาแต่กำเนิด (innate) และสิ่งแวดล้อม (environment)

เพียงแต่เราต้องมีช่องทางในการปะทุความฉลาดของเรา ตามธาตุของตัวเรา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

เมื่อเป็นแม่คน when you become A Mom

Added on by Surattanprawate.

มีคนกล่าวไว้ว่า การเป็นแม่เปรียบเสมือนการค้นพบห้องแห่งความลับในบ้านของคุณเอง ที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน ซึ่งผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำกล่าวนี้ เพราะมีหลายสิ่งที่เปลี่ยน ซึ่งนอกจากการเปลี่ยนแปลงทางสถานะทางสังคม และชีวิตประจำวันต้องเปลี่ยนไปแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนจากภายในคือ อารมณ์อันอ่อนโยน จากการเปลี่ยนแปลงของสมองนั้นเอง 

จริง ๆ อารมณ์หรือสัญชาตญาณการเป็นแม่ หรือ mother mind มันเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่แม่รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นกับร่างกายแล้ว  เรื่องของอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากจะเอามันมาเกี่ยวโยงทางวิทยาศาสตร์ละก็ มันก็หนีไม่พ้นเรื่องของสารสื่อประสาทและสมอง เป็นเวลานานเลย ที่นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตพฤติกรรม ความสัมพันธ์ของแม่และลูกเกิดใหม่ (mother-newborn relationship)  นักประสาทวิทยา ได้ค้นพบว่า ส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงของสมองแม่ลูกเกิดใหม่ จะมีการเปลี่ยนแปลงของสมองบริเวณ prefrontal cortex ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า และส่วน midbrain, parietal lobe  นอกจากนี้ ส่วนใยประสาทจะมีการควบแน่นขึ้นเพื่อให้มีการส่งผ่านของกระแสประสาทได้ดี การทำงานของสมองจะถูกเร้าโดยเฉพาะในส่วนที่ควบคุมอารมณ์ ความเมตตา และปฎิกริยาทางสังคม ซึ่งหากมองลึกลงไปอีก ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เกิดจากฮอร์โมน ที่ไหลบ่าและเปลี่ยนแปลงไประหว่างการตั้งครรภ์นัยว่าเป็นฮอร์โมนเพื่อเตรียมความพร้อมของการเป็น "Great mom"

นอกจากนี้ เมื่อแรกคลอด สมองส่วนที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลและซึมเศร้าจะเริ่มทำงาน นั้นก็ทำไปตามธรรมชาติที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณแม่มือใหม่ มีสัญชาตญาณในการปกป้องลูกน้อยและระแวดระวังเป็นพิเศษ มันก็เหมือนกับเวลาเรามีความวิตกกังวลอ่อน ๆ เวลาใกล้สอบหนะแหละ เราต้องลุกขึ้นมาอ่านหนังสือ แม้ว่ามันจะดึกดื่นก็ตาม เพื่อเอาตัวรอดจากการสอบ คุณแม่ก็จะมีความวิตกกังวลเพื่อปกป้องลูกน้อยที่ยังปกป้องตัวเองไม่ได้ ซึ่งในแม่มือใหม่บางราย ก็ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้เลย อุบัติการณ์ของโรคซึมเศร้าหลังคลอด (post partum depression) จึงเพิ่มขึ้นมาก

สมองส่วน prefrontal cortex ที่ถูกกระตุ้นเป็นสมองส่วนที่มีผลมากเกี่ยวกับการย้ำคิดย้ำทำ คุณแม่มือใหม่จึงคอยวนเวียน ล้างมือ check ผ้าอ้อม และเฝ้าดูลูกน้อยอยู่ไม่ห่าง 

จากการศึกษาด้วย functional neuro-imaging จากทีมจาก University College London ชี้ให้เห็นสมองส่วนที่ถูกกระตุ้นในภาวะของความเป็นแม่ และ คนที่ตกหลุมรัก ก็พบได้ว่า มันเป็นสมองส่วนเดียวกัน จนถึงทำให้บางคนที่มี romantic love ถึงขั้นลืมแม่ตัวเองเลย

จากการศึกษาด้วย functional neuro-imaging จากทีมจาก University College London ชี้ให้เห็นสมองส่วนที่ถูกกระตุ้นในภาวะของความเป็นแม่ และ คนที่ตกหลุมรัก ก็พบได้ว่า มันเป็นสมองส่วนเดียวกัน จนถึงทำให้บางคนที่มี romantic love ถึงขั้นลืมแม่ตัวเองเลย

สมองอีกส่วนที่มีรูปร่างเหมือนอัลมอล ที่เรียกว่า amygdala ซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บความทรงจำและขับเคลื่อนอารมณ์เพื่อตอบสนองต่อความซึมเศร้า และความเครียดก็มีการกระตุ้นด้วย ส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการกำหนดอารมณ์ของแม่ที่มีต่อทารก และในทางกลับกัน amygdala ของทารกก็จะเป็นตัวกำหนดอารมณ์ เสียงร้อง หน้าตา ที่มีความวิตกกังวล เจ็บปวด หัวเราะร่าเริง ส่งความรู้สึกผ่านทางหน้าตา ทางกาย ไปสู่แม่ด้วย มันเป็นการส่งผ่านการทำงานของสมองรูปอัลมอล ผ่านสารสื่อประสาทโดยมีร่างกายและท่าทางของร่างกายเป็นตัวกลางนั้นเอง 

การส่งผ่านของสารสื่อประสาทและท่าทางต่อกัน (interaction) มันทำให้เซลล์ประสาทหลายล้านตัวในสมองเกิดการกระตุ้นซึ่งกันและกัน เมื่อลูกมีความสุข แม่ก็มีความสุข เมื่อลูกมีความทุกข์ แม่ก็มีความทุกข์ เมื่อมีการกระตุ้นซึ่งกันและกัน จะมีการส่งผ่านการกระตุ้นไปยังสมองส่วนที่มีการให้รางวัลแห่งความสุข (brain reward system) ซึ่งอุดมไปด้วยฮอร์โมนแห่งความสุข และมันก็เชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่นกับสมองส่วนที่เกี่ยวกับความทรงจำเสียด้วย

เชื่อไหมว่า แม่ของคุณ จะไม่มีวันลืมวินาทีที่เห็นหน้าและรอยยิ้มของคุณเลย

ทำไม จึงเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น มันเป็นเรื่องของธรรมชาติสร้างสรรค์สิ่งที่งดงามขึ้น ซึ่งมันได้รับการปรุงแต่งและขัดให้เนียนมานับล้าน ๆ ปีเลย 

บอกรักแม่นะครับ เพราะมันเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทรงคุณค่าของชีวิต และเป็นความงดงามของธรรมชาติ 

Ref. 

1. http://www.medical-neurosciences.de/fileadmin/user_upload/microsites/studiengaenge/neurosciences/cns-2014-i7i2.pdf