Feyman Method การทำให้เข้าใจอะไรถ่องแท้

Added on by Surattanprawate.

เข้าใจอะไรยากไหม 

ถ้าใช่ มีเทคนิคมาสอนครับ 

เทคนี้ นำมาจาก Feynman นักฟิสิกส์ชื่อดัง

เรียกว่า "The Great Explainer"

1. เลือกหัวข้อที่คุณต้องการเรียนรู้แล้วให้จดโน๊ตสิ่งที่คุณอ่านมาและต้องการจะเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งนั้นทั้งหมดลงใน notebook page 

2. แกล้งลองทำว่าสอนนักเรียน หรือ คนอื่นๆ ในห้องเรียน โดยต้องอธิบายด้วยคำอธิบายและหากทางในการทำให้มันง่ายที่สุด

3. เมื่อรู้สึกว่าติดขัด ให้กลับไปอ่าน notebook ที่คุณเขียนขึ้น อีกรอบ อ่านจนกว่าจะเข้าใจว่า คุณสามารถนำไปอธิบายได้

4. นำไปอธิบายอีกทีด้วยคำอธิบายที่เรียบง่ายหรือใช้คำอุปมาอุปไมย หรืออธิบายโดยใช้เหตุการณ์เทียบเคียง 

ขั้นตอนเหล่านี้จะทำให้คุณเข้าใจอะไรต่าง ๆ อย่างถ่องแท้และง่ายขึ้น 

Medical museum in Budapest

Added on by Surattanprawate.

 

ไปประเทศอะไร เป็นแพทย์ก็อย่าลืม ไป visit Medical museum หรือ Hospital ให้ได้

ที่ Budapest ที่ Medical museum 2 ที่ ที่นี่ Semmelweis Medical museum เป็นที่หนึ่ง ที่แพทย์เจ้าของ คิดค้นเครื่อง X-ray และชอบสะสมอุปกรณ์แพทย์มาก

 

ประวัติแพทย์ สอนให้เรารู้ว่า สิ่งต่างๆ เปลี่ยนตามกาลเวลา รวมถึงความรู้ด้วย เรียนรู้ว่า ทำประโยชน์ อันใดไว้ ตัวตายแต่ประวัติไม่เคยจาง เรียนรู้ว่า วันนี้คือ อดีตของพรุ่งนี้ และเรียนรู้ความเป็น professionalism ของแพทย์เป็นเช่นไร

image.jpg
image.jpg

ด้วยความทรงจำอันพริ้วไหว - Alzheimer and dancing memory

Added on by Surattanprawate.

Rodolphe Fouillot  เป็นนักเต้น ได้อุทิศเวลาให้กับกิจกรรมและโปรเจคทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย

เค้าได้ใช้เวลาไปโรงพยาบาลเพื่อทำ project workshop การเต้นสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่บ้านพักคนชรา Sainte-Anne d'Auray Châtillon ในประเทศ ฝรั่งเศษ

 โรคอัลไซเมอร์ สมองของคนป่วยจะเสื่อมสภาพลำ้หน้าเดินกว่าวัยที่ควรจะเป็น สมองในส่วนของความจำและวงจรของมันที่เรียกว่า Papez circuit (วงจรของปาเปซ) ที่ทำหน้าที่เสมือนกล่องเก็บความจำจะเป็นส่วนที่เสื่อมสภาพเป็นอันดับแรกเป็นเหตุให้ความจำสูญเสียไปก่อน จากนั้นส่วนเปลือกสมอง  cortex จะเสื่อมตามมา 

เป็นที่น่าสนใจว่า แม้ความจำระยะสั้นจะหลงลืมไป แต่ความจำในสมองส่วนลึกและดั้งเดิมจะยังถูกเก็บรักษาอยู่ และสมองส่วนนี้ มันเก็บอารมณ์ ความรู้สึก เสียงเพลง รวมถึงจังหวะและ ดนตรีที่ชอบ 

Rodolphe Fouillot นำเสรอการเต้นตามจังหวะเพลง และการแสดงอันน่าสนุก ไปใช้รักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จังหวะการเต้น จะเร้าร่างกายให้เต้นไปตามจังหวะเพลงและมันก็ส่งผลดีเหมือนการออกกำลังกาย นอกจากนี้ เนื่องจากสมองมันมีการติดต่อ เชื่อมโยงกัน อย่างแยกเป็นส่วนหนึ่งไม่ได้ จังหวะและการกระตุ้นสมองส่วนลึก จึงเชื่อมไปกระตุ้นความจำที่สูญเสียไปอีกด้วย 

Rodolphe Fouillot, danseur et chorégraphe professionnel, s'investit depuis longtemps dans des projets culturels variés. Pendant un an, dans le cadre d'ateliers danse, il s'est rendu à l'EHPAD Sainte-Anne d'Auray de Châtillon (92) afin de chorégraphier une pièce pour personnes âgées. Lire l'interview : http://maladiealzheimer.fr/actualites.html#52

http://www.rodolphefouillot.com

 

Theatre of my memory

Added on by Surattanprawate.
image.jpg

  เคยคุยสั้นๆ กับ Philip Jablon ในงานเปิดตัว TEDx

ผมถามว่า ทำไมสนใจโรงหนังหละ

เค้าว่า มันเป็นส่วนที่สะท้อนวัฒนธรรม และ อีกหลายเรื่องราวที่เกิดก่อนหนังจะฉาย

เค้าก็ถามว่า ที่บ้านเกิดที่เพชรบูรณ์ ของเรามีโรงหนังไหม

ตอนเด็กๆ เคยมี 2 โรง โรงหนึ่งชื่อดวงรามา อีกโรง จำชื่อไม่ได้

แต่ที่จำได้ ว่าชอบวิ่งเล่น รอบโรงหนัง ชอบวิ่งไปขึ้นท้ายกะบะของรถโฆษณาที่วิ่งช้าๆ พร้อมประกาศเสียงดังแบนๆ แบบโมโนโทน ชอบวิ่งเข้าไปดูผู้ใหญ่แทงสนุก และเด็กวัยรุ่นเล่นพนันตู้ม้า ชอบไปนั่งดูคนวาดโปสเตอร์หนังด้วสีและลีลาเฉพาะตัว แต่จำหนังเรื่องที่เคยดูไม่ได้หรอก

โรงหนังมันมีเรื่องราวจริงๆด้วย

เมื่อเป็นแม่คน when you become A Mom

Added on by Surattanprawate.

มีคนกล่าวไว้ว่า การเป็นแม่เปรียบเสมือนการค้นพบห้องแห่งความลับในบ้านของคุณเอง ที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน ซึ่งผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำกล่าวนี้ เพราะมีหลายสิ่งที่เปลี่ยน ซึ่งนอกจากการเปลี่ยนแปลงทางสถานะทางสังคม และชีวิตประจำวันต้องเปลี่ยนไปแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนจากภายในคือ อารมณ์อันอ่อนโยน จากการเปลี่ยนแปลงของสมองนั้นเอง 

จริง ๆ อารมณ์หรือสัญชาตญาณการเป็นแม่ หรือ mother mind มันเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่แม่รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นกับร่างกายแล้ว  เรื่องของอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากจะเอามันมาเกี่ยวโยงทางวิทยาศาสตร์ละก็ มันก็หนีไม่พ้นเรื่องของสารสื่อประสาทและสมอง เป็นเวลานานเลย ที่นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตพฤติกรรม ความสัมพันธ์ของแม่และลูกเกิดใหม่ (mother-newborn relationship)  นักประสาทวิทยา ได้ค้นพบว่า ส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงของสมองแม่ลูกเกิดใหม่ จะมีการเปลี่ยนแปลงของสมองบริเวณ prefrontal cortex ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า และส่วน midbrain, parietal lobe  นอกจากนี้ ส่วนใยประสาทจะมีการควบแน่นขึ้นเพื่อให้มีการส่งผ่านของกระแสประสาทได้ดี การทำงานของสมองจะถูกเร้าโดยเฉพาะในส่วนที่ควบคุมอารมณ์ ความเมตตา และปฎิกริยาทางสังคม ซึ่งหากมองลึกลงไปอีก ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เกิดจากฮอร์โมน ที่ไหลบ่าและเปลี่ยนแปลงไประหว่างการตั้งครรภ์นัยว่าเป็นฮอร์โมนเพื่อเตรียมความพร้อมของการเป็น "Great mom"

นอกจากนี้ เมื่อแรกคลอด สมองส่วนที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลและซึมเศร้าจะเริ่มทำงาน นั้นก็ทำไปตามธรรมชาติที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณแม่มือใหม่ มีสัญชาตญาณในการปกป้องลูกน้อยและระแวดระวังเป็นพิเศษ มันก็เหมือนกับเวลาเรามีความวิตกกังวลอ่อน ๆ เวลาใกล้สอบหนะแหละ เราต้องลุกขึ้นมาอ่านหนังสือ แม้ว่ามันจะดึกดื่นก็ตาม เพื่อเอาตัวรอดจากการสอบ คุณแม่ก็จะมีความวิตกกังวลเพื่อปกป้องลูกน้อยที่ยังปกป้องตัวเองไม่ได้ ซึ่งในแม่มือใหม่บางราย ก็ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้เลย อุบัติการณ์ของโรคซึมเศร้าหลังคลอด (post partum depression) จึงเพิ่มขึ้นมาก

สมองส่วน prefrontal cortex ที่ถูกกระตุ้นเป็นสมองส่วนที่มีผลมากเกี่ยวกับการย้ำคิดย้ำทำ คุณแม่มือใหม่จึงคอยวนเวียน ล้างมือ check ผ้าอ้อม และเฝ้าดูลูกน้อยอยู่ไม่ห่าง 

จากการศึกษาด้วย functional neuro-imaging จากทีมจาก University College London ชี้ให้เห็นสมองส่วนที่ถูกกระตุ้นในภาวะของความเป็นแม่ และ คนที่ตกหลุมรัก ก็พบได้ว่า มันเป็นสมองส่วนเดียวกัน จนถึงทำให้บางคนที่มี romantic love ถึงขั้นลืมแม่ตัวเองเลย

จากการศึกษาด้วย functional neuro-imaging จากทีมจาก University College London ชี้ให้เห็นสมองส่วนที่ถูกกระตุ้นในภาวะของความเป็นแม่ และ คนที่ตกหลุมรัก ก็พบได้ว่า มันเป็นสมองส่วนเดียวกัน จนถึงทำให้บางคนที่มี romantic love ถึงขั้นลืมแม่ตัวเองเลย

สมองอีกส่วนที่มีรูปร่างเหมือนอัลมอล ที่เรียกว่า amygdala ซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บความทรงจำและขับเคลื่อนอารมณ์เพื่อตอบสนองต่อความซึมเศร้า และความเครียดก็มีการกระตุ้นด้วย ส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการกำหนดอารมณ์ของแม่ที่มีต่อทารก และในทางกลับกัน amygdala ของทารกก็จะเป็นตัวกำหนดอารมณ์ เสียงร้อง หน้าตา ที่มีความวิตกกังวล เจ็บปวด หัวเราะร่าเริง ส่งความรู้สึกผ่านทางหน้าตา ทางกาย ไปสู่แม่ด้วย มันเป็นการส่งผ่านการทำงานของสมองรูปอัลมอล ผ่านสารสื่อประสาทโดยมีร่างกายและท่าทางของร่างกายเป็นตัวกลางนั้นเอง 

การส่งผ่านของสารสื่อประสาทและท่าทางต่อกัน (interaction) มันทำให้เซลล์ประสาทหลายล้านตัวในสมองเกิดการกระตุ้นซึ่งกันและกัน เมื่อลูกมีความสุข แม่ก็มีความสุข เมื่อลูกมีความทุกข์ แม่ก็มีความทุกข์ เมื่อมีการกระตุ้นซึ่งกันและกัน จะมีการส่งผ่านการกระตุ้นไปยังสมองส่วนที่มีการให้รางวัลแห่งความสุข (brain reward system) ซึ่งอุดมไปด้วยฮอร์โมนแห่งความสุข และมันก็เชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่นกับสมองส่วนที่เกี่ยวกับความทรงจำเสียด้วย

เชื่อไหมว่า แม่ของคุณ จะไม่มีวันลืมวินาทีที่เห็นหน้าและรอยยิ้มของคุณเลย

ทำไม จึงเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น มันเป็นเรื่องของธรรมชาติสร้างสรรค์สิ่งที่งดงามขึ้น ซึ่งมันได้รับการปรุงแต่งและขัดให้เนียนมานับล้าน ๆ ปีเลย 

บอกรักแม่นะครับ เพราะมันเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทรงคุณค่าของชีวิต และเป็นความงดงามของธรรมชาติ 

Ref. 

1. http://www.medical-neurosciences.de/fileadmin/user_upload/microsites/studiengaenge/neurosciences/cns-2014-i7i2.pdf

 

บทสนทนากับหมออินเดีย

Added on by Surattanprawate.
socrates

วานนี้คุยกับ Dr. จาก India ที่เป็นหมอดมยา กับ ทีม palliative care ในร้านอาหารหนึ่ง กับข้าวเต็มโต๊ะไปหมด

ผม: เราควรทานแต่น้อย 1-2 มื้อก็พอ มันจะทำให้สุขภาพดี และมีความสุข

DR: ผมกินเยอะ ผมก็มีความสุข

ผม: รู้จัก OSHO ที่ INDIA ไหม ผมว่ามันก็สอนคนดีนะ

DR: ใน INDIA ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ 

DR: คุณเป็นหมอปวดหัวสินะ

ผม: ใช่

DR: ผมเป็นหมอดมยา ผมไม่ชอบเสียงร้องและความเจ็บปวดของคนไข้ 

ผม: อาการปวดเป็นสิ่งที่ร่างกายเรียกหาความยุติธรรมและวิงวอนให้รักษา

DR: หมอว่า จิตใจ (Mind) เป็นส่วนหนึ่งของสมองหรือไม่

ผม: อันนี้ผมไม่รู้หรอก 

DR: หมอเชื่อเรื่องวิญญาณหรือไม่ หมอเชื่อเรื่องตายแล้วชีวิตจะหลุดจากร่างไหม

ผม : ผมไม่รู้ แต่นักวิทยาศาสตร์ ที่ทำการทดลองเรื่องนี้ ยังพิสูจน์ไม่พบ อย่าง Len Fisher ที่เขียนเรื่อง "weighing the soul" ก็เล่าว่ามันผ่านการพิสูจน์มานับครั้งไม่ถ้วนจากคนใกล้ตายแล้วว่า ไม่มีหลักฐานของวิญญาณหลุดจากร่าง

DR: แสดงว่าไม่มี

ผม : ผมไม่รู้ วิทยาศาสตร์ ยังอ่อนเยาว์นัก 

Bra bra bra

ก่อนกลับขึ้นรถ 

ผม: แล้วเจอกันใหม่ อย่าลืมกินแต่น้อย เพราะจะทำให้สุขภาพดี แม้มันจะ happy ก็ตาม (มองไปที่พุง)

จบวัน

บีบ

Added on by Surattanprawate.

RIP to my patient

At 19.30 น. ราววอร์ด ได้ยินเสียงโทรศัพท์ ชั้น 11 โทรศัพท์มาบอกว่าคนไข้ผมหัวใจหยุดเต้น และชีพจรไม่มีแล้ว จากไปอย่างสงบ

ผมเดินไปเยี่ยม เข้าไปยังห้องของคุณตา มองเปลือกตาที่หลับแบบไม่มีวันลืมอีก คลำชีพจรด้วยมือขวา ไม่ได้สัมผัสการเต้นกระทบมือใด ๆ เปิดเปลือกตาช้า ๆ ไฟฉายส่อง ม่านตาไม่ขยับ ไม่ตอบสนอง มองเหมือนคนหลับ ญาติเข้ามาจับมือ บอกว่า ตาไปอย่างสงบเงียบ ไม่เจ็บและปวด ผมไหว้คุณตา แสดงความเคารพเป็นครั้งสุดท้าย เขียนใบเสียชีวิตด้วยตัวเอง Take note ว่าจากไปอย่างสงบ ไม่เจ็บ ไม่ปวด

วานนี้ มาเยี่ยมคุณตา ที่หายใจเหนื่อยจาก CA lung ตายิ้มให้เสมอ ผมชอบให้คนไข้กำมือ เอาให้แรงที่สุด สุดแรงเกิดไปเลย แล้วก็บอกว่า เห็นมั้ย แรงดี นิ้วหมอเกือบหักแนะ แล้วตาก็ยิ้ม ยิ้มระคนขำ คงสนุกนึกว่า ถ้าหมอนิ้วหักไปจะต้องจ่ายค่าเสียหายหรือเปล่านะ ว่าแล้ว เราก็หัวร่อกัน

3 ปีก่อน เรารักษา พาร์กินสัน ให้คุณตา เพราะมี ความดันแกว่งขึ้นลง ญาติจะปรับยาให้ และก็วัดความดัน วันละ 4-5 รอบ ผมบอกว่า ไม่ต้องวัดขนาดนั้นก็ได้ ตาแขนเปื่อยหมด ลูกบอก ผมอยากวัด มันสบายใจ ว่าความดันไม่เป็นไร ผมบอกว่า ความดันมันไม่เป็นไรหรอก แต่แขนลุงจะฟีบเอา

ผมไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปีให้ เพราะบอกให้ไปตรวจใกล้บ้าน เรื่อง พาร์กินสัน ผมจัดการให้ เรื่องอื่น ๆ ไปตรวจใกล้ ๆ จะได้มีเวลา check เต็มที่ เราตรวจกันมา หลายปี จนอาการพาร์กินสันดีขึ้น ยิ้มได้ กำมือได้แน่นทุกครั้ง

1 สัปดาห์ก่อน ตามาด้วยอาการล้ม ผมคาดว่า เป็นความดันต่ำหรือเปล่า แต่ทำ X-ray ดันมีฝ้าขึ้นขาว ๆ หมอปอดน้องรัก บอกว่าสงสัยมะเร็งปอด และมันก็เป็นการคาดการณ์เลวร้ายที่เป็นจริง มะเร็งขนาด 9 x 8 cm ผลน้ำในช่องปอดบอกเป็นมะเร็งกระจาย ไม่ถึง 1 สัปดาห์ ชีวิตครอบครัวหนึ่งก็เปลี่ยน

ตาเสียไปแล้ว เมื่อวานก่อน เพิ่ง lecture เรื่อง palliative care ชีวิตมันสั้น และเหมือนแขวนบนเส้นด้าย ต้องเตรียมใจพลัดตกตลอดเวลา วันนี้มีทานข้าวกับทีม palliative care เนื่องจากมี speaker จาก India มา

ขณะเดินทางกลับ ในอุโมงค์ต้นไม้ วันนี้ลมร้อนกว่าปกติ คาดการณ์ได้ว่า พรุ่งนี้ฝนคงตก ตามองเห็นเด็กปี 1 คณะแพทย์เข้ามารับน้อง เสียงดังเจี้ยวจ้าว พร้อมเผชิญสิ่งใหม่

รู้สึกใจหาย แม้ว่าเราจะเจอความตายทุกวัน นิ้วมือขวายังรู้สึกถึงแรงบีบของคุณตา มันแรงกว่าทุกคร้ังจริง ๆ

RIP

"ไม่เหนื่อยเหรอ"

Added on by Surattanprawate.

ข้อดีของการทำงานเป็นหมอ นอกจากได้มีโอกาสดูแลคนป่วยแล้ว ยังมีโอกาสได้ซึมซับวิถีของการเป็นมนุษย์ด้วย

ในคลินิกโรคสมองเสื่อม คราคร่ำไปด้วยคนไข้ที่อายุรวม ๆ กันน่าจะเฉียดหมื่น ที่นั่งล้อกันก็เกือบ 50 % คนไข้สมองเสื่อมส่วนใหญ่มากับผู้ดูแล 

หลายๆ คนเป็นคนไข้มาต้ังแต่ยังเริ่มเป็นสมองเสื่อมใหม่ ๆ ยันสมองเสื่อมขั้นสูงสุด ลืมแม้กระทั่ง วิธีเช็ดก้น

มีหลายคู่ที่เป็นคู่รัก คู่แต่งงานกันมานานหลายสิบปี แต่ก็ยังดูแลกันอยู่ ด้วยความรัก มองตาและแลการกระทำก็ไม่ต้องถามว่ารักกันแค่ไหน 

 

ลุงคนหนึ่ง เป็น ทำงานด้านการศึกษามาตั้งแต่หนุ่ม ๆ เขียนโคลงกลอน ใช้ภาษาได้เฉียบแหลมกระแทกอารมณ์ได้ดี (เพราะเคยอ่านงานของแก) ให้ชื่อแทนว่า ลุง ม.ก. ก็แล้วกัน ลุงมีภรรยาที่รักมาก คนหนึ่ง ให้ชื่อว่า ช.ม. ละกัน วันหนึ่ง คุณลุงก็เขียนกลอน ถึงภรรยาทุกวัน บรรยาย ที่เจอกัน ที่ไปเที่ยวกัน เป็นบันทึกของความสุขที่จับต้องได้ และควรระลึกถึง 

วันหนึ่ง คุณป้า ช.ม. เป็นอัมพาต ครึ่งซีก พูดไม่ได้ คุณลุง ม.ก. เฝ้าดูแล เช็ดขี้เยี่ยว เทียวทำกายภาพบำบัดอยู่นานหลายปี คุณลุงไม่ลืมที่จะเขียนบันทึกเป็นโคลงกลอน มันเป็นบันทึกของความรักและการเอาใจใส่ ที่จับต้องได้ จนวันหนึ่ง คุณป้า ช.ม. เสียชีวิตไป แกเอาบันทึกมาฝากผม ในวันปีใหม่ ผมอ่าน แล้วขอบคุณสำหรับเรื่องราวดี ๆ 

ผ่านไป 3 ปี วันหนึ่ง คุณลุง ม.ก. มาหาผม แต่คราวนี้ มาพร้อม สาววัยดึก ที่อายุรุ่นอ่อนกว่าลุงสัก 7 ปี ผมให้ชื่อว่า ศ.ร. ละกัน คุณลุงเขียน กลอน ให้แม่ ศ.ร.เช่นกัน แต่ความรักของคนแรก คือ ป้า ช.ม. คุณลุงก็ยังระลึกถึง และแฟนใหม่ ก็ให้ความเคารพ มา F/u ผมทุกครั้ง มี นิราศ มาให้ผมอีกเล่มหนึ่ง บรรยายความรักและเรื่องราวดี ๆ เช่นเคย มันเป็นบันทึกของความสุข ความหลัง และความรัก ณ.ปัจจุบันที่จับต้องได้ 

2 ปีที่แล้ว คุณลุงและคุณป้า มาหาผม คราวนี้ คุณป้าบอกผมว่า คุณลุงมีอาการขี้ลืม เขียนโครงกลอนผิด ๆ ถูก ๆ ไม่ตรงอักขระเท่าไรนัก บ่นถึงแฟนเก่าอยู่บ่อยครั้ง ผมได้จับอาการตามประวัติ แล้วก็ทดสอบสมถภาพความจำและสมอง และลงวินิจฉัยว่า เป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะแรกเริ่ม

ผมติดตาม อาการคุณลุงมานานกว่า 2 ปี อาการความจำเสื่อมเป็นมากขึ้นตามลำดับ คู่รักคู่นี้ ดูแลกันด้วยความห่วงใย ตอนมาหาผมในห้องตรวจ จับมือกันตลอดเวลา 

ตอนนี้คุณลุง ความจำไม่ค่อยดี พูดชื่อผิดถูก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องเช็ดขี้เช็ดเยี่ยว บนเตียง 

วันนั้น ลุงมา admit รพ. ผมเข้าเยี่ยม นั่งคุย สภาพและอาการประจำวัน ขณะที่คุณป้า ศ.ร. เช็ดอึ ลุงเสร็จ

ได้คุยกับ คุณป้า ศ.ร. 

หมอ : คุณป้า เป็นยังไงบ้างครับ 

ป้า : ก็เหนื่อยตามสภาพ แต่ก็สุขใจ สบายใจดี ตอนนี้ ย้าย จากเชียงรายมาเชียงใหม่แล้ว จะได้พา มา รพ. สะดวก

หมอ : หาคนดูแลลุงสักคนไหมครับ เพราะ จะได้ มีเวลาทำอย่างอื่น และก็ไม่เหนื่อยมากด้วย 

ป้า : ไม่เป็นไหร่หรอก ป้าเหนื่อย แต่ก็มีความสุข ที่ได้ดูแลคนที่เป็นที่รัก คุณลุง เค้าดูแลป้ามามากแล้ว ทุกอย่างอยู่ในความทรงจำของป้า แม้ว่าความทรงจำของลุงเค้าจะลืมเลือนไปก็ตาม

ผมพยักหน้า มองตามสายตาของป้าที่ทอดไปยังคุณลุง

"ก่อนกลับ ผมเหลือบเห็น นิราศ ที่คุณลุงแต่งวางอยู่หัวเตียง.

2 ปีที่แล้ว คุณลุงและคุณป้า มาหาผม คราวนี้ คุณป้าบอกผมว่า คุณลุงมีอาการขี้ลืม เขียนโครงกลอนผิด ๆ ถูก ๆ ไม่ตรงอักขระเท่าไรนัก บ่นถึงแฟนเก่าอยู่บ่อยครั้ง ผมได้จับอาการตามประวัติ แล้วก็ทดสอบสมถภาพความจำและสมอง และลงวินิจฉัยว่า เป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะแรกเริ่ม

ผมติดตาม อาการคุณลุงมานานกว่า 2 ปี อาการความจำเสื่อมเป็นมากขึ้นตามลำดับ คู่รักคู่นี้ ดูแลกันด้วยความห่วงใย ตอนมาหาผมในห้องตรวจ จับมือกันตลอดเวลา 

ตอนนี้คุณลุง ความจำไม่ค่อยดี พูดชื่อผิดถูก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องเช็ดขี้เช็ดเยี่ยว บนเตียง 

วันนั้น ลุงมา admit รพ. ผมเข้าเยี่ยม นั่งคุย สภาพและอาการประจำวัน ขณะที่คุณป้า ศ.ร. เช็ดอึ ลุงเสร็จ

ได้คุยกับ คุณป้า ศ.ร. 

หมอ : คุณป้า เป็นยังไงบ้างครับ 

ป้า : ก็เหนื่อยตามสภาพ แต่ก็สุขใจ สบายใจดี ตอนนี้ ย้าย จากเชียงรายมาเชียงใหม่แล้ว จะได้พา มา รพ. สะดวก

หมอ : หาคนดูแลลุงสักคนไหมครับ เพราะ จะได้ มีเวลาทำอย่างอื่น และก็ไม่เหนื่อยมากด้วย 

ป้า : ไม่เป็นไหร่หรอก ป้าเหนื่อย แต่ก็มีความสุข ที่ได้ดูแลคนที่เป็นที่รัก คุณลุง เค้าดูแลป้ามามากแล้ว ทุกอย่างอยู่ในความทรงจำของป้า แม้ว่าความทรงจำของลุงเค้าจะลืมเลือนไปก็ตาม

ผมพยักหน้า มองตามสายตาของป้าที่ทอดไปยังคุณลุง

"ก่อนกลับ ผมเหลือบเห็น นิราศ ที่คุณลุงแต่งวางอยู่หัวเตียง.

"การนั่งอยู่เฉย ๆ มันก็เท่ากับคุณกำลังสูบบุหรี่ทำลายสุชภาพหนะแหละ : sitting is a new smoking"

Added on by Surattanprawate.
ในขณะที่คนเรากำลังตื่นตัวกับการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง jogging ตอนเย็น ปั่นจักรยานทุกวันหยุด หรือ เข้าฟิตเนสวันเว้นวัน แต่มันก็เหมือนกับการทำเพื่อไถ่โทษ การนั่งทำงานออฟฟิต นั่งเล่นคอมพิวเตอร์ เป็นพนักงานในเมืองในสไตร์คนรุ่นใหม่ 

จะเรียกว่าการการออกกำลังเป็นครั้งคราวว่า "การไถ่บาป แก่ร่างกาย" ก็คงไม่ผิดนัก หากเราคิดว่า ธรรมชาติเป็นผู้ให้เราเกิดกายเป็นมนุษย์ผ่านการวิวัฒนาการ (evolution) มาเป็นหมื่น ๆ ล้านปี แต่การที่เทคโนโลยีมันวิวัฒนาการแบบก้าวกระโดดซึ่งแตกต่างจากการวิวัฒนาการทาง biology จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัว (evolve) ให้เข้ากับการทำงานในปัจจุบันซึ่งเต็มไปด้วยการนั่งทำงาน มองจอคอมพิวเตอร์ และดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเป็นกิจวัตร เราก็รู้อยู่แล้วว่าร่างกายถูกออกแบบมาให้ใช้ชีวิตกับการเคลื่อนไหว อวัยวะในร่างกาย จึงป่วยเมื่อการออกกำลังถูกลดทอนลง 

แต่การออกกำลังกายเป็นบางคราว หรือ แม้จะเป็นประจำนั้นเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงของการถดถอยของสุขภาพและการเผชิญหน้ากับโรคในอนาคตหรือเปล่า ? 

เมื่อวานได้ดู TEDx CoMo Talk ซึ่งเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและไอเดีย ใน concept ว่า "Idea worth spreading" หรือ "ไอเดียดี ๆ มีไว้แชร์" พูดเรื่อง "Sitting Is the New Smoking but you've got Options" หรือ  "การนั่งมันก็เท่ากับการสูบบุหรี่ หนะแหละ"  โดย Pack Matthews ได้เล่าถึงเรื่องของ concept ที่ว่า หากเราไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายระหว่างวัน เช่น ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งเฉย ๆ หละก็ มันก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ไม่ต่างจากการสูบบุหรี่ที่เราต่างก็ทราบกันดีว่าเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของประชากร 

อ้างจาก งานวิจัย ของ Dr. I-Min Lee, Eric J Shiroma และคณะศึกษาจากมหาวิทยาลัย Havard ในหัวข้อแทงใจวัยทำงาน ว่า 
"Effect of physical inactivity on major non-communicable diseases worldwide: an analysis of burden of disease and life expectancy"
หรือแปลเป็นไทยว่า "ผลของการไม่ออกกำลังหรือเคลื่อนไหวต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (non communicable disease เช่น พวก เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ โรคอ้วน) โดยมีการศึกษาไปถึงอายุไข และคุณภาพของการมีชีวิตอยู่ 

ผลการวิจัยทั่วโลกบ่งชี้ว่า การไม่ออกกำลัง (ไม่ว่าจะเป็นประหว่างวันทำงาน โดยการไม่เคลื่อนไหม หรือ ไม่ออกกำลังเป็นประจำก็ตาม ) มันก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อยู่ระหว่าง 7-10% และก็เกี่ยวข้องกับการตายก่อนวัยอันควรอีกราว 9% และทีมวิจัยก็ยังได้ประมาณการไว้ว่า หาก หากเราเพิ่มการออกกำลังระหว่างทำงานก็จะทำให้เพิ่มอายุไขได้ประมาณ 4-9 เดือนเลยทีเดียว  

"จะขยับแข้งขยับขา เต้นไป รำไป บ้างจะเป็นไร จริงไหมครับ"

Ref. Effect of physical inactivity on major non-communicable diseases worldwide: an analysis of burden of disease and life expectancy (http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0140673612610319)

 

The beautiful death

Added on by Surattanprawate.
image.jpg

ความตาย...หลาย ๆ คนกลัว ... 

 บางคนบอกว่า ไม่กลัวความตายแต่กลัวการพลัดพราก พลัดพรากจากของที่รัก พลัดพรากจากการเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะของรัก คนรัก หรือร่างกายตนเองอันเป็นที่รัก 

บางคนไม่กลัวความตาย แต่กลัวผี ซะงั้น 

ในประเทศไทย การพิจารณาความตาย เป็นกิจของสงฆ์ หรือ ผู้ที่ต้องการปลงและพิจารณาถึงสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน และกฏแห่งธรรมชาติ  สมัยผมเรียนเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 5 วิชานิติเวช ขณะที่เหล่านักศึกษาแพทย์กำลังชำแหละชันสูตร พลิกศพ จะมีอัฒจันทร์ด้านตรงข้ามเป็นที่ยืนของพระสงฆ์ ที่เข้ามาพิจารณาศพ เพื่อปลงสังขารอยู่ด้วย ส่วนพวกเรา นักศึกษาแพทย์ มองด้วยความสนใจใฝ่รู้ หาสาเหตุของการตายผิดธรรมชาติของศพนั้น 

สงฆ์ พิจารณาความตาย เป็นเรื่องธรรมชาติ 

แพทย์ สืบหาสาเหตุตาย ที่ผิดธรรมชาติ 

ศพเดียวกัน ต่างมุมมอง ! 

 

ความตาย...หลาย ๆ คนไม่กลัว...

นอกจากไม่กลัวแล้วยังเห็นความสวยงามของความตายเสียอีก  เรียกว่า Art of Death, and Beautiful of illness

 มองมันเป็นเรื่องธรรมชาติ มองมันเป็นเรื่องของสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ เมื่อเลี่ยงไม่ได้ ก็เผชิญกับมันและมองมันให้งดงาม 

การมองความตายเป็นเรื่องสวยงามเป็นเรื่องยาก แม้สัปเหร่อที่มีหน้่าที่จัดศพให้งดงาม ก็มองความตายเป็นเรื่องที่ไม่น่ารื่นรมย์นัก 

 การจัดฉากความตาย ภพภูมิแห่งความตายในประเทศไทย มักเห็นอยู่ในวัด แต่เป็นลักษณะของการสอนให้ปลงหรือมีความเชื่อทางศาสนาแอบแฝงอยู่ ส่วนในต่างประเทศ ซึ่งผู้คนส่วนหนึ่ง มีความคิดทางวิทยาศาสตร์และตรรกะสูง(ซึ่งก็ทำให้หนังสือ God delusion ขายดีเป็นเทน้ำ เทท่า) มักมองการเกิดใหม่เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้  และมักจะเชื่อมความเจ็บป่วยหรือความตายเข้ากับความงาม และ ศิลปะ

ดังจะได้เห็น museum ในหลาย ๆ ประเทศ เป็น medical museum ที่ว่าด้วยเรื่องความเจ็บป่วย ประวัติศาสตร์ และความตาย 

ผมเคยเปิด web site เรื่องเกี่ยวกับศิลปะของ ร่างกาย ความตาย และการเจ็บป่วย ให้เพื่อน ๆ และบุคคลที่สนิทชิดเชื้อดู แต่ละคนทำหน้า เหมือนผีเข้า แล้วบอกว่า "มึงจะบ้าเหรอ ทำไมไม่ไปดูดอกไม้ ใบไม้ มันน่ารื่นรมย์ กว่าเยอะ"  

ผมบอกว่า "ในขาวมีดำ ในดำมีขาว" (ไม่ใช่ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว นะ) "ในความตาย มีความงามเสมอ และ vise versa ในความงาม มีความทุเรศ เสมอ" 

หลาย ๆ museum เป็น  museum ที่เกี่ยวข้องกับความตายโดยเฉพาะ เช่น Morbid anatomy LIbrary and Museum ที่ New York ซึ่งเป็นนิทรรศการว่าด้วยเรื่องความงามกับความตายโดยเฉพาะ (http://morbidanatomy.blogspot.com/p/morbid-anatomy-library.html)

ผมยังไม่เคยไป New York และ ไม่เคยอยากไป (เพราะแพทย์รุ่นน้องที่ไปเป็นนักศึกษาดูงาน บอกว่า มีขี้หมา เต็มเมือง) แต่อยากไป Museum ที่ New York  ที่มี Museum เกี่ยวกับความตาย 

ใน London ก็มี Museum ที่แม้ว่าไม่ได้เกี่ยวกับ ความตายโดยตรง แต่ก็มีร่างกาย ความเปื่อยแห่งร่างกายที่เป็นโรค การผ่าตัดศพและคน ที่อยู่ใน Museum นั้นเป็นจำนวนมาก โดย Museum ที่ผมเคยไป ใน London ได้แก่  

 

 

Hunterian Museum: http://www.rcseng.ac.uk/museums

 

Wellcome Library: http://wellcomelibrary.org

 

ขอเตือนไว้ก่อนว่า หากคุณเป็นพวกโลกสวย อาจผิดหวังได้ ! 

 

 

 

 

 

Sarah and Her eyes Painting

Added on by Surattanprawate.

Sarah's Story - Motor Neurone Disease Association

​บอกตามตรง วิดีโอข้างบน ถือว่าเป็น video ที่แสดงลักษณะ และผลกระทบของอาการของโรค ที่ "หยุดหัวใจ" ที่สุด ไม่สิ ผมเป็นหมอสมอง ผู้เชื่อว่า ความรู้สึกควบคุมมาจากสมอง มิใช่หัวใจ ขอเปลี่ยนเป็นคำว่า เป็น video ที่ "shock เซลล์ประสาทที่สุด"

ใน video สะท้อนอารมณ์ของคนที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจาก Motor Neuron Disease (Amyotrophic Lateral Sclerosis, ALS) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อม ของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเป็นที่น่าเสียใจว่า เมื่อเป็นโรคนี้แล้ว "รักษาไม่หาย" ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงทั่วตัว จากแขนขา ลำตัว การพูด การหายใจ ซึ่งเป็นโรคที่อาจเรียกได้ว่า มีความทุกทรมานจากโรคมากที่สุดโรคหนึ่ง

ผมเห็น video นี้ ผมว่า การถ่ายทำเป็นเรื่องสั้น ๆ ได้น่าสนใจ กระแทกอารมณ์ อย่างรุนแรง แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น คือ หัวเรื่องที่จั่วว่า "Sarah's story" ​

ใครคือ Sarah  แล้ว มี Story อะไร​

Sarah Ezekiel เป็นผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงทั่วตัวด้วยโรค Motor Neuron Disease โรคกล้ามเนื่้ออ่อนแรง (ยกเว้นกล้ามเนื้อตา) แต่เธอฟื้นชีวิตของเธอใหม่ด้วยการใช้การกลอกตาในการวาดรูปผ่านคอมพิวเตอร์ ​

Sarah Ezekiel เป็นผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงทั่วตัวด้วยโรค Motor Neuron Disease โรคกล้ามเนื่้ออ่อนแรง (ยกเว้นกล้ามเนื้อตา) แต่เธอฟื้นชีวิตของเธอใหม่ด้วยการใช้การกลอกตาในการวาดรูปผ่านคอมพิวเตอร์


​Sarah ใน video มีตัวตนจริง โดยชื่อเต็มชื่อ Sarah Ezekiel เป็นผู้ป่วยที่เป็น Motor neuron disease จริง ๆ ที่มีอาการอ่อนแรงจนเดินไม่ได้

แต่อาการอ่อนแรงเดินไม่ได้ ไม่ได้ทำให้จิตใจของ Sarah ได้อ่อนล้าลงไปเลย โดยเธอได้ปลุกพลังแห่งความหวังในตัวขึ้นมาสู้กับโรคร้ายและผันให้เป็นพลังแห่งการมีชีวิตอยู่ด้วย การถ่ายทอดเรื่องราว (Sarah's story) ด้วยการช่วยจาก computer อัจฉริยะ E Z key ซึ่งเธอสามารถใช้การกรอกตาในการเขียนหนังสือได้ นอกจากนี้เธอยังใช้ความสามารถในการกรอกตา วาดรูปโดยใช้ program computer ได้อีกด้วย ​

​The Tobii PCEye เป็น peripheral eye tracker ซึ่งสามารถใช้ความรวดเร็ว ตำแหน่ง ในการกลอกตา ในการควบคุมและสั่ง computer ซึ่งเปรียบไปก็เหมือนกับการใช้ mouse เพียงแต่ต่างกันเพียงแต่การควบคุมโดยการกรอกตาเท่านั้น >> http://www.tobii.com/pceye

Video ด้านล่างเป็นตัวอย่างของการใช้ computer The Tobii PCEye

​Sarah เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่มีความพยายามในการแสวงหาความหมายและความสุขของการมีชีวิต ท่ามกลางมรสุมและอุปสรรคทางร่างกาย​

เห็น Sarah แล้ว ​ลองกลับไปมองคนที่มีแขนขา อวัยวะครบ 32 ประการ ที่มีความท้อแท้ต่อการใช้ชีวิตว่า และอยากบอกว่า "ได้เกิดมาครบ 32 ประการและไม่มีโรคถือเป็นกำไรของชีวิตแล้ว"

​Sarah's paiting

​Sarah's paiting

​Short story of Sarah

Everything was pretty straightforward for me until the age of 34. I was happily married with a beautiful little girl and pregnant with my much longed for second child. I was healthy, fit and enjoying my pregnancy. I couldn't have asked for more.

In February 2000, I noticed some weakness in my left arm and my speech was slurring. By April 2000 I had a definite diagnosis of motor neurone disease. It happened that quickly and I was absolutely terrified. My world was shattered. My marriage collapsed as I became progressively disabled. I couldn't physically care for my children or myself anymore,  and spiralled into deep depression. I'm now a single, disabled parent who is totally dependant on carers for everything. I never expected my life to change so tragically and it took me years to see anything positive about my situation.

BUT, I pulled myself up from rock bottom and if I could do it then I believe that anyone can. The first step was to start attending my local Marie Curie hospice in April 2001. I receive amazing care and really love going there.

I started writing my story next, using a program called E Z Keys with a chin switch. I'm now using the Tobii PCEye . I've had articles published, given presentations to health professionals, made two films, participated in several photo shoots and had my portrait painted. I'm the London Jewish News Community Hero 2010, and the Sarah in the MNDA's advert 'Sarah's Story'. I'm also the Secretary of the NW London branch of the MNDA.

Approximately 5,000 people have this devastating illness in the UK and 5 people die from it every day. My aim is to continue to raise awareness of MND until a cure is found.

​Sarah's website: http://sarahezekiel.com/#