Filtering by Category: Life

ทฤษฎีความฉลาดและความฉลาดที่ถูกบดบัง

Added on by Surattanprawate.

ความฉลาดคืออะไร

หลายๆ คน อยากเป็นคนฉลาด เพราะคนฉลาด มีโอกาสก้าวหน้าในขีวิต มีหน้าที่การงานที่ดี ประสบความสำเร็จ และแน่นอนว่ามันก็จะส่งผลไปสู่ความมั่งคั่ง ทั้งส่วนตัว ครอบครัว และสถานะทางสังคม

เมื่อเรากล่าวถึงความฉลาด เราก็คงคิดถึง วิธีที่จะพัฒนาให้เรามีความเก่งและฉลาดขึ้น ซึ่งก็คือระบบการศึกษานั่นเอง แต่เป็นที่น่าเศร้าว่า ในขณะที่เราพยายามในการคิดระบบการพัฒนาให้มนุษย์เกิดความฉลาดมากขึ้น แต่ระบบในปัจจุบัน ก็ยังจมปลักกับรูปแบบของการพัฒนาความฉลาดเพียงด้านเดียว ด้วยรูปแบบเหมือนๆ กัน

Sir.Ken Robinson นักพัฒนาระบบการศึกษา นักคิดและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ได้กล่าวว่า ระบบการศึกษาในปัจจุบัน คือภัยอันร้ายแรงที่ทำลายความคิดสร้างสรรค์โดยการตีกรอบมุ่งเน้นสร้างความฉลาดเพียงด้านเดียวและละเลยความฉลาดด้านอื่นที่ใช้ในการดำรงค์ชีวิต ทั้งยังมุ่งวัดผลที่เป็นกับดักทางการศึกษาที่เราก็เห็นผลลัพย์อยู่แล้วว่า มันล้มเหลวในบริบทปัจจุบัน

การศึกษาปัจจุบันและการวัดนี้ เป็นผลพวงของยุคที่มีการเร่งเร้าการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองและแสวงหาความรู้ใหม่ โดย Sir. Ken Robinson ได้กล่าวในหนังสือ “The Element: How Finding your Passion Change Everything” ว่า “ธาตุ (Element)” ที่เป็นคุณสมบัติโดดเด่นเฉพาะตัวของคนคนนั้น ได้ถูกกรอบการศึกษากดทับ

เมื่อการศึกษา เป็นการตีกรอบความฉลาดด้านอื่นๆ แล้วความฉลาดด้านอื่นนั้นคืออะไรกันหละ

จากทฤษฎีของ Robert J. Sternberg นักจิตวิทยา ได้แบ่งความฉลาดออกเป็น 3 ส่วน ตามทฤษฎี Triarchic Theory of Intelligence” ได้แก่

  1. ความฉลาดด้านการวิเคราะห์ (Analytical Intelligence) : เป็นความฉลาดด้านข้อมูล การใช้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสามารถทดสอบได้จากการทดสอบ IQ และ เป็นความฉลาดที่เราคุ้นเคยจากการสอน และการสอบวัดผลในห้องเรียน มักเป็นความฉลาดเฉพาะด้าน บางคนเรียกเป็น “Professional intelligence”

  2. ความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative intelligence) ความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นความฉลาดในการคิดใหม่ คิดประยุกต์ การปรับตัว การเชื่อมโยงมุมมองในแนวขวาง ผนวกข้อมูลจากหลายภาคส่วนและก่อให้เกิดการแก้ปัญหาหรือแสดงมุมมองใหม่ๆ ความฉลาดด้านนี้มักแสดงออกมาทาง “Creative and Innovation Ideas ไอเดียในการสร้างสรรค์และการผลิตนวัตกรรม”

  3. ความฉลาดในทางปฎิบัติ (Practical Intelligence) คือ ความฉลาดในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริง โดยสามารถโต้ตอบกับการใช้ปัญญากับชีวิตประจำวันได้ ได้แก่ การปฎิบัติงาน การสั่งงาน การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การตัดสินใจเฉียบพลัน ซึ่งก็คือความฉลาดในการบริหารจัดการการใช้ชีวิตและการงาน

แต่ละคน มีความฉลาดในแต่ละด้านไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดมาแต่กำเนิด (innate) และสิ่งแวดล้อม (environment)

เพียงแต่เราต้องมีช่องทางในการปะทุความฉลาดของเรา ตามธาตุของตัวเรา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

ด้วยความทรงจำอันพริ้วไหว - Alzheimer and dancing memory

Added on by Surattanprawate.

Rodolphe Fouillot  เป็นนักเต้น ได้อุทิศเวลาให้กับกิจกรรมและโปรเจคทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย

เค้าได้ใช้เวลาไปโรงพยาบาลเพื่อทำ project workshop การเต้นสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่บ้านพักคนชรา Sainte-Anne d'Auray Châtillon ในประเทศ ฝรั่งเศษ

 โรคอัลไซเมอร์ สมองของคนป่วยจะเสื่อมสภาพลำ้หน้าเดินกว่าวัยที่ควรจะเป็น สมองในส่วนของความจำและวงจรของมันที่เรียกว่า Papez circuit (วงจรของปาเปซ) ที่ทำหน้าที่เสมือนกล่องเก็บความจำจะเป็นส่วนที่เสื่อมสภาพเป็นอันดับแรกเป็นเหตุให้ความจำสูญเสียไปก่อน จากนั้นส่วนเปลือกสมอง  cortex จะเสื่อมตามมา 

เป็นที่น่าสนใจว่า แม้ความจำระยะสั้นจะหลงลืมไป แต่ความจำในสมองส่วนลึกและดั้งเดิมจะยังถูกเก็บรักษาอยู่ และสมองส่วนนี้ มันเก็บอารมณ์ ความรู้สึก เสียงเพลง รวมถึงจังหวะและ ดนตรีที่ชอบ 

Rodolphe Fouillot นำเสรอการเต้นตามจังหวะเพลง และการแสดงอันน่าสนุก ไปใช้รักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จังหวะการเต้น จะเร้าร่างกายให้เต้นไปตามจังหวะเพลงและมันก็ส่งผลดีเหมือนการออกกำลังกาย นอกจากนี้ เนื่องจากสมองมันมีการติดต่อ เชื่อมโยงกัน อย่างแยกเป็นส่วนหนึ่งไม่ได้ จังหวะและการกระตุ้นสมองส่วนลึก จึงเชื่อมไปกระตุ้นความจำที่สูญเสียไปอีกด้วย 

Rodolphe Fouillot, danseur et chorégraphe professionnel, s'investit depuis longtemps dans des projets culturels variés. Pendant un an, dans le cadre d'ateliers danse, il s'est rendu à l'EHPAD Sainte-Anne d'Auray de Châtillon (92) afin de chorégraphier une pièce pour personnes âgées. Lire l'interview : http://maladiealzheimer.fr/actualites.html#52

http://www.rodolphefouillot.com

 

Internet, Plasticity, and the Shallow brain

Added on by Surattanprawate.
index.jpg

ในทุกวันนี้ เราใช้เวลาในการเล่น internet มากกี่ชั่วโมง บางคนบอก 1 ชั่วโมง บางคนบอก 2 ชั่วโมง บางคนบอก uncountable เพราะ มีการเล่นเป็น หย่อม ๆ เป็น puzzle เพราะว่าสมัยนี้ เข้า internet เพื่อโหลดข้อมูลเข้าสมองมันง่ายยิ่งกว่า ปลอกกล้วยเข้าปากเสียอีก หลังจากเข้าสู่ยุค handheld surfing ก็ทำให้มีการฆ่าเวลาโดยการนั่งเล่น internet ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เห็นกันจนชาชินกับการเห็นคนนั่งยิ้มหน้าโทรศัพท์มือถือ มากกว่า ยิ้มให้คนที่อยู่ตรงหน้า แต่ผมประมาณการณ์ว่า มีการเล่น internet (รวมการเข้า web, facebook, check mail, Line, Instagram, etc.) มากเกิน 1 ชั่วโมง/คน/วัน

โลกแคบลง สั งคมกว้างขึ้น สะดวกหาความรู้ ติดต่องานง่าย ทำธุรกิจคล่องตัว ติดตามข่าวสารทันสมัย และอีกหลายเหตุผลที่จะอธิบายประโยชน์ของการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายใยแมงมุม หากแต่เดี๋ยวก่อน คุณรู้สึกอะไรไหม รู้สึกเหมือนกับที่ผมรู้สึกไหม รู้สึกว่าพฤติกรรม นิสัย การคิด ความรู้สึก การยับยั้งชั่งใจ การอ่าน สมาธิ ของเราเปลี่ยนไปไหม ผมว่าหลายคนบอกว่าใช่ อีกหลายคนบอกไม่แน่ใจ เพราะการสังเกตตัวเอง มันไม่ง่ายเหมือนการสังเกตคนอื่นนี่นา อยากบอกว่า ผมรู้สึก กับ life style ของผมเปลี่ยนไปจากเมื่อสมัย 5-6 ปีก่อน จากคนชอบอ่านหนังสือเป็นเล่ม ๆ จากที่เคยนั่งคิดนั่งเขียนบันทึกประจำวัน (diary) ได้เป็นชั่วโมง ๆ นั่งพิเคราะห์รูปภาพอย่างมีสมาธิได้่นาน ๆ มาเป็นนั่งเล่น internet, check mail, update facebook เวลาว่าง เดี๋ยวนี้ผมรู้สึกว่าตัวเองอ่านหนังสือได้ไม่ถึง 3 หน้าก็เบื่อ ไม่มีสมาธิ ความจำสั้นลง (poor concentration) ความรู้กว้างแต่ไม่รู้ลึก (broad, but superficial)  อารมณ์ไม่ค่อยคงที่ (emotinal instability)

ตอนแรก ๆ ก็ไม่ค่อยได้แอะใจอะไร แต่หลัง ๆ นี้ มันเริ่มมีอาการมากขึ้น และความรู้ก็กระจ่างเมื่ออ่านงานเขียนของ Nicolas Carr เรื่อง The Shallows: What the Internet Is Doing to Our Brains ผนวกกับความเกี่ยวกับการทำงานของสมองและระบบประสาทของตัวเอง ก็เริ่มรู้สึกตระหนักถึงสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลง มนุษย์และสังคม

งานเขียนของ Nicolas Carr ได้เน้นความตระหนักรู้ถึงอิทธิพลของ การเล่น internet ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วิธีคิด และการเรียนรู้ ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในระดับการทำงานของสมอง ลงไปถึงระดับของเซลล์ประสาท (neurons) ผ่านข้อเท็จจริง เรื่อง neuroplasticity ของสมอง

นักประสาทวิทยา Alvaro Pascual-Leone ได้กล่าวว่า "Plasticity" is the normal ongoing state of the nervous system throughout the life span. 

Neural plasticity หรือกระบวนการปรับตัวของเซลล์ประสาท: เป็นข้อเท็จจริงของเซลล์ประสาท และสมองของมนุษย์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก ที่มีผลต่อระบบประสาท (plasticity หมายถึง ความยืดหยุ่น ซึ่งรวมถึงการปรับตัว)  

เช่น เมื่อมนุษย์เผชิญกับภาวะเครียด และภาวะบีบคั้น เซลล์ประสาทและสมอง ก็จะมีการปรับตัวให้เกิดความทนทานต่อภาวะนั้นเมื่อเวลาผ่านไป , เมื่อผู้ป่วยเกิดอาการบาดเจ็บ ที่มีอาการปวดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกายเรื้อรัง สมองก็มีการแปลงสัญญาณความเจ็บปวดให้มีสัญญาณที่อ่อนลง เป็นต้น  

ในคนปกติ มนุษย์ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมองแบบ plasticity ทั้งโดยการตอบสนองของสิ่งแวดล้อมและต่อการกระทำหรือพฤติกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการกระทำที่ทำซ้ำ ๆ หรือ ทำเป็นกิจวัตร  

จากการศึกษาโดยการเอ็กซเรย์สมองของคนขับ Taxi ในกรุงลอนดอน พบว่ามีขนาดของสมองส่วน hippocampus ใหญ่กว่าขนาดของคนขับรถ Bus ซึ่งสมองส่วน hippocampus เป็นสมองส่วนที่เก็บความจำที่ซับซ้อน นั่นแสดงว่า สมองของคนขับ Taxi ในลอนดอนที่มีการใช้การจดจำถนนหนทางที่ซับซ้อนได้รับการกระตุ้นและใช้งานอย่างต่อเนื่องจนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างให้ขนาดใหญ่กว่าปกติ (Maguire, Wool­lett, & Spiers, 2006) ซึ่งปรากฎการณ์นี้ ก็เกิดเฉกเช่นเดียวกับสมองของผู้ที่พูดได้สองภาษา (bilinguals) ซึ่งมีขนาดของสมอง parietal lobe ด้านซ้ายที่ใหญ่กว่าผู้ที่พูดได้ภาษาเดียว (monolinguals

นั่นแสดงว่า พฤติกรรม หรือสิ่งแวดล้อมที่ได้กระทำทุกวัน แบบซ้ำ ๆ มีผลในการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่แค่นิสัยเท่านั้่น แต่ยังมีผลเปลี่ยนแปลง ไปถึงระดับโครงสร้าง และ ยิ่งกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ หากมีเวลาที่นานพอ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปถึงระดับเซลล์ ระดับยีนซึ่งอาจถ่ายทอดไปทางพันธุกรรมได้

  ในปัจจุบันคงไม่มีใครเถียงได้ว่า พฤติกรรมที่หลาย ๆ คนทำกัน หรืออาจเรียกได้ว่า พฤติกรรมเสพติด ได้แก่ การเล่นอินเตอร์เนต หรือ การเข้า social media เช่น facebook, twitter, google จุดประสงค์เพื่อเสพความรู้ เพื่อการติดต่อ หรือ กิจการอื่น ๆ จากเคยเล่นบางเวลาทุกวัน เป็นวันละหลายชั่วโมง เป็นทุกชั่วโมง และแน่นอน ยิ่งบ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ

การหาข้อมูลทาง internet

การ เข้าหาข้อมูลใน internet เป็นการหาความรู้ได้อย่างรวดเร็ว และ กว้างกว่าการหาความรู้ในสมัยก่อนซึ่งต้องใช้เวลาในการอ่านหนังสือ ใช้เวลาในการย่อยข้อมูล  

อย่างไร ก็ตามการหาข้อมูลทาง internet เป็นการหาข้อมูลที่มีกระบวนการหาความรู้ที่มีการ skim และ scan ข้อมูลโดยที่ข้อมูลต่าง ๆ ที่ไหลบ่าเข้าสมองนั้น ไม่มีในมิติของความรู้เชิงลึก ซึ่งต่างกับการอ่านหนังสือที่มีการใช้สมาธิและการจิตนาการที่สูง

หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า กระบวนการหาข้อมูลและความรู้จาก internet เป็นการหาความรู้ที่ "Greater access to knowledge is not the same as greater knowledge."

หรือเรียกได้ว่า "รู้รอบแต่ไม่รู้ลึก"  ซึ่งเมื่อมีการกระทำซ้ำ ๆ สมองในเชิงหน้าที่และในเชิงโครงสร้างจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบถาวรได้ ซึ่งทำให้กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆเปลี่ยนไปเป็นแบบลวก ๆ ไม่มีความถี่ถ้วน ไม่มีการวิเคราะห์ในเชิงลึก และมีสมาธิสั้น ที่สำคัญการหาความรู้ใน internet ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ ที่มากมายมหาศาลทำให้สมองเกิด ภาวะ hunger หรือ ภาวะสมองหิวข้อมูล ทำให้เกิดการเสพติดข้อมูลเกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านั้น เป็นความรู้ที่ไม่ใช้ความรู้เชิงลึก

Facebook

  ส่วนการติดต่อ การตอบสนอง การมีตัวตน หรือการแสดงตัวตนทาง facebook ก็เป็นช่องทาง online ที่ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อกัน การตอบสนองทางอารมณ์และพฤติกรรม อย่างรวดเร็วและถึงลูกถึงคน

 สมองและพฤติกรรมที่ได้กระทำในการใช้  facebook ได้แก่

- การตอบสนองที่รวดเร็ว จนทำให้บางคร้ั้งต้องยอมรับว่า ตอบสนองแบบใช้ reflex หรือ ยังมิทันได้ไตร่ตรองเลยว่าเข้าในสิ่งที่เราอ่านหรือดูหรือไม่ แต่ กด "Like" แล้ว  

- การตอบโต้ผ่าน "keyboard" ที่ใช้อารมณ์มากว่าการกลั่นกรองทางความคิดว่า สิ่งนั้นควรตอบหรือไม่ เรียกได้ว่า "เป็นการสื่อสารที่ใช้อารมณ์ มากกว่าสมอง" 

- การแสดงตัวตน ที่บางครั้งไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เป็นตัวตนที่อยากให้คนอื่นเห็น เรียกง่าย ๆ ว่าอาจเป็น "Fake"  

สมองที่ถูก train จากการเล่น facebook ซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ คืออะไร 

 คือการกลายเป็นพฤติกรรมที่ ตอบสนองที่ใช้อารมณ์ มากกว่าความคิด และ พยายามสะท้อนด้านบวกของตัวเอง

เขียน มาทั้งหมดนี้ มิใช่ว่า ต้องการบ่นกร่นด่า ว่าเป็นคน anti-new technologies เพียงแต่เอาประสบการณ์ส่วนตัวที่เป็นการสังเกตตัวเองและเริ่มพบการ เปลี่ยนแปลงของตัวเอง และ หลาย ๆ คนที่พบมาเล่าให้ฟังเป็นการเตือนใจ ว่าการ technology เป็นสิ่งที่ดี หากใช้แต่พอดี และ ไม่ควรละเลยการอ่านหนังสือ การพูดคุยกัน ติดต่อกัน ในโลกแห่งความเป็นจริง  และเงยหน้ามาคุยกันกับคนที่อยู่ข้างหน้าบ้างก็เท่านั้นเอง