วงกลมทองคำ The Golden Circle: The Process, The Product and The Successor

Added on by Surattanprawate.

Golden circle หรือวงกลมส่วนผสมทองคำสำหรับความสำเร็จ เป็นองค์ประกอบสร้างขึ้นโดยนักคิด เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมว่า ความสำเร็จเกิดขึ้นได้อย่างไร อาจเป็นส่วนผสมของวิธีคิด ส่วนผสมของการทำงาน หรือส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ขึ้นกับว่า เป้าหมายคืออะไร อจ. รวม 3 วงกลมสีทอง อันได้แก่ กระบวนการคิด บุคคล และ ผลิตภัณฑ์มาให้อ่านกัน เพื่อจะได้ทราบส่วนที่ต้องประเมินและเพิ่ม ฝึกฝนส่วนที่ขาดได้

“The Process”: Golden Circle by Simon Sinek

สำหรับ กรอบแนวคิดวงกลมทองคำ (Golden Circle) ของ Simon Sinek ซึ่งเน้นที่การตั้งคำถามในการพัฒนาที่เป็นการเน้นที่กระบวนการได้แก่ "ทำไม" (Why), "อย่างไร" (How), และ "อะไร" (What) นำเสนอมุมมองที่มีคุณค่าสำหรับการเข้าใจองค์ประกอบของความสำเร็จในผู้ประกอบการนวัตกรรม โมเดล่ ลักษณะนี้ เป็นส่วนที่เป็นรูปแบบการพัฒนาว่า ควรเริ่มกระบวนการคิด ที่มีการตั้งคำถามอะไรก่อน และเป็นการตั้งคำถามในการพัฒนา product ว่า “ผู้คนไม่ได้ซื้อของเพราะว่า คุณทำอะไร เค้าซื้อว่าคุณทำมันไปทำไม”

“The Successors”: The Element of Success

นอกเหนือจาก process แล้ว องค์ประกอบองค์ประกอบทองคำที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความสำเร็จของผู้ประกอบการ (entrepreneurship) การเป็นผู้ประกอบการ ไม่ง่าย และหากว่าคุณรู้จักคำว่า entrepreneurs จริง ๆ แล้ว มันได้ได้แปลว่า ผู้ประกอบการ หรอก

ที่มาของ Entrepreneurs มีต้นกำเนิดมาจากภาษาฝรั่งเศส "entreprendre" ซึ่งหมายถึง "ผู้รับผิดชอบ" คำนี้ถูกใช้ครั้งแรกในศตวรรษที่ 16 เพื่ออ้างถึงนักผจญภัยและผู้นำทหารที่ต้องรับผิดชอบในการทำภารกิจ

ในศตวรรษที่ 18 นักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Richard Cantillon ได้ใช้คำนี้เพื่ออธิบายบุคคลที่ทำธุรกิจและรับความเสี่ยงเพื่อผลกำไร การใช้งานในปัจจุบันเน้นถึงการสร้าง โอกาสใหม่ๆ ในธุรกิจ และการแบกรับความเสี่ยง (Linkedin meaing of entrepreneurs)

การทำงานร่วมกันของความหลงใหล (passion), พรสวรรค์ (talent), คุณค่า (value), และทักษะ (skill)

ส่วนประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จริง ๆ ได้มีการกล่าวถึงในแง่ของ purpose of life หรือ การประสบความสำเร็จ ไปยังจุดมุ่งหมายของชีวิต โดยที่มัน link (>> Link) เราสามารถนำส่วนประกอบนี้ มาประเมินถึงความเป็นไปได้ของความสำเร็จของความเป็นผู้ประกอบการได้ด้วย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ ทำให้เรารู้ว่า เราต้องปรับ เพิ่มอะไร ดังคำกล่าวที่ว่า

"Find what is present, fill what is missing, expand what is strong." “หาส่วนที่มี เติมส่วนที่ขาด ขยายส่วนที่แกร่ง”
  • passion คุณจะเรียกแรงผลักดัน หรือ พลังใจก็ได้ หากไม่มี ก็ต้องสร้าง inspiration ให่เขาเหล่านี้ ผู้กล้าที่ออกมาแถวหน้าอย่างท้าทาย

  • talent ผู้ที่เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ มันคือ inate ที่ฝังใน DNA มันคือพรสวรรค์ที่เกิดโดยธรรมชาติ เสมือน superman ที่มีพลังด้านใน

  • values คุณค่า ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง หรือ ความรู้ หรือ network นี่แหละ คือ สิ่งที่สำคัญ ของคนนั้น

  • skills คือสิ่งที่ได้จากการฝึกฝน ลงมือทำจริง ล้มลุกกับมัน

    นวัตกรรมเหมือนแทงม้า อย่าดูแต่ม้าดี ดูที่ jockey ด้วย และองค์ประกอบทั้ง 4 ส่วน หาก ขาดส่วนไหน ก็เติมให้ครบ แกร่งส่วนไหนก็ขยายให้เป็นประโยชน์ เป็นข้อได้เปรียบที่คนอื่นตามได้ยาก

“The Innovative Products”: Thinking with design

รวมถึงหลักการของการคิดเชิงออกแบบ (design thinking) ที่ประกอบด้วยความต้องการ (desirability), ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ (viability), และความเป็นไปได้ทางเทคนิค (feasibility) >> Link

กระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ประกอบด้วยความต้องการ ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และความเป็นไปได้ทางเทคนิค ช่วยให้แน่ใจว่านวัตกรรมสอดคล้องกับตลาด ความต้องการมุ่งเน้นไปที่การเข้าใจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ความเป็นไปได้ทางธุรกิจประเมินความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของนวัตกรรม และความเป็นไปได้ทางเทคนิคทำให้แน่ใจได้ว่าผลิตภัณฑ์สามารถพัฒนาและส่งมอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยการรวมกรอบแนวคิดวงกลมทองคำเข้ากับองค์ประกอบเหล่านี้ ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้อย่างมาก ผู้ที่มีความหลงใหลและเข้าใจความต้องการของผู้ใช้อย่างลึกซึ้งมีแนวโน้มที่จะสร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่า ผู้ประกอบการที่มีความสามารถสามารถใช้ทักษะของพวกเขาเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่สุด นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จต้องรวมเอาข้อเสนอคุณค่าที่น่าสนใจเข้ากับโมเดลธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจและการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ

ผู้ประกอบการนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จต้องใช้แนวทางที่ครอบคลุม ซึ่งพิจารณาทั้งความสามารถภายในของผู้ประกอบการและพลวัตของตลาดภายนอก โดยการจัดแนวความหลงใหล ความสามารถ คุณค่า และทักษะให้สอดคล้องกับหลักการของความต้องการ ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และความเป็นไปได้ทางเทคนิค ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า แต่ยังสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน

สรุปได้ว่า กรอบแนวคิดวงกลมทองคำนำเสนอวิธีการที่มีโครงสร้างสำหรับการเข้าใจองค์ประกอบหลักของผู้ประกอบการนวัตกรรม โดยการพิจารณาการทำงานร่วมกันของความหลงใหล ความสามารถ คุณค่า ทักษะ ความต้องการ ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และความเป็นไปได้ทางเทคนิคอย่างรอบคอบ ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จและมีผลกระทบต่อสังคมได้