Coca Cola - Beauty Accident: the Discovery originate from Mistake
การค้นพบ อาจเกิดจากความไม่ตั้งใจ อาจเกิดจากเหตุพลาดพลั้ง หรือ ความบังเอิญที่เกิดจากสถานการณ์ที่บีบบังคับ
เมื่อพลาดพลัง สิ่งสวยงามอาจบังเกิด บางคนหยิบฉวย บางคนปล่อยผ่าน
เมื่อบังเอิญ บางคนค้นพบ บางคนต่อยอด บางคนละเลย
ในช่วงสงครามกลางเมือง ในปี ค.ศ. 1886 เภสัชกร จอห์น พิมเบอร์ตัน ผู้ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ที่ให้ยากับทหารที่บาดเจ็บจากการสู้รบด้วยยาแก้ปวดมอร์ฟีน และโชคไม่ดี ที่เขาก็ต้องมีการใช้ มอร์ฟีนในการระงับบาดแผลที่เกิดจากสงครามให้แก่ตัวเองด้วย และมันก็ทำให้เขาติดมอร์ฟีน ด้วยการมีความรู้ด้านยา จอห์นก็ทราบว่า การใช้ยามอร์ฟีนในการระงับปวดนั้น มีผลเสียอย่างไรในระยะยาว แต่มันอาจไม่ง่ายนักในการหักดิบ ในขณะที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการระงับความเจ็บปวดจากบาดแผลอยู่
สถานการณ์ ทำให้จอห์น ต้องหาตัวยาที่มาใช้แทนมอร์ฟีนให้ได้ และสิ่งที่เขาได้ค้นพบก็คือส่วนผสมมหัศจรรย์ที่ ใช้ Coca (Cocaine) ในการระงับปวด และ บำบัดการติดมอร์ฟีนหรือฝิ่นได้ โดยผลิตส่วนผสมของ coca leaves และ kola nuts และมีส่วนผสมของ alcohol ที่เรียกเครื่องดื่มนี้ว่า “French Wine Coca” แต่ต่อมา กฎหมายได้กำหนด ให้เครื่องดื่มห้ามผสม alcohol จึงได้มีการปรับให้ไม่มีส่วนผสมของ alcohol อีกต่อไป และ เครื่องดื่ม Coca-Cola ก็ถือกำเนิดขึ้น และ ถือเป็นเครื่องดื่มที่ทรงพลังที่สุดในโลก
บางการค้นพบเป็นสิ่งบังเอิญ และ กลาย เป็นความสวยงามที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์โลก
จงสร้างสิ่งที่ขยายธุรกิจไม่ได้ก่อน Do thing that don't scale: the most common advise from YC
เมื่อกล่าวถึง ธุรกิจ startup ใคร ๆ ก็คงนึกถึง Grab , Facebook, AirBNB อีกหลายธุรกิจที่มีสิ่งที่เป็นลักษณะจำเพราะคือ สามารถใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีในการช่วยในการขยายตัวทางธุรกิจอย่างไรขีดจำกัด และนี่คือสิ่งที่ ทำให้ Startup ต่างกับ SMEs
แต่คำกล่าวของ Y Combinator ที่เป็นศูนย์บ่มเพาะที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก ได้กล่าวกับผู้เข้าร่วมโปรแกรมบ่มเพาะ startup คือ “Do thing that don’t scale ก่อน” และนี่ก็ถือว่าเป็นคำพูดที่ทำให้คนงง ว่า “อะไรวะ เป็น startup ต้อง scale สิ ไม่ให้ คิดเรื่อง scale up ตั้งแต่ต้นได้อย่างไร”
เบื้องหลัง core concept นี่ เป็นสิ่งที่ถูกต้องและทำให้ startup ไม่ล้มหายตายจากไปเหมือนราวๆ กว่า 90% ที่ล้มเหลว จนจะเป็น norm ไปเสียแล้ว เหตุผลมีดังนี้
สาเหตุที่ startup ล้มเหลวในทางธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การที่ขาดการพัฒนา product ที่ตรงกับความต้องการของตลาด หรือ product market fit นั่นเอง และการเข้าใจความเจ็บปวด หรือ pain point ของ customer ไม่ใช่เป็นส่ิงที่ผู้ก่อตั้งเข้าใจโดยการนึกมโน คิดกันเองว่ามันต้อง work แน่ ๆ ภายในห้องประชุม แล้วสร้าง solution เก๋ ๆ ที่ขยายธุรกิจได้
คำว่า “Do thing that don’t scale” จึงเป็นคำที่หมายถึง การที่เริ่มต้นด้วยการเข้าไปหาลูกค้าก่อน ถ้าตามหลัก Design thinking ก็คือ Empathize ต่อด้วยทำอะไรที่ทำให้ง่าย ๆ หรือที่เรียกว่า MVP แล้ว ไปให้ลูกค้าใช้เอง หยิบยื่นด้วยความใส่ใจ และ ตั้งใจฟัง feedback เพื่อไปปรับให้สิ่งที่สร้างขึ้นนั้นตรงจุด ตรงใจลูกค้า และแก้ปัญหาได้จริง
พูดง่าย แต่ทำยาก โดยเหตุที่ ผู้ก่อตั้ง หรือ ผู้พัฒนาไม่ค่อยทำ ก็เพราะเหตุผลง่ายๆ คือ ขี้เกียจ ไม่เห็นความสำคัญ หรือไม่ก็เหนียมอายเกินไป
มีคำนึ่งที่ Emerson ได้กล่าวไว้ว่า "If a man has good corn or wood, or boards, or pigs, to sell, or can make better chairs or knives, crucibles or church organs, than anybody else, you will find a broad hard-beaten road to his house, though it be in the woods."
“ถ้าชายคนหนึ่งทำไม้ หรือ แผ่นกระดาน ที่มันดีมาก ๆ หรือไม่ก็มีวิธีเลี้ยงหมูชั้นดีไว้ขาย อ๊ะ หรือว่า ทำเก้าอี้ หรือ มีด ก็ได้ หรือไม่ก็อะไรต่าง ๆ ที่มันดีกว่าคนอื่น ๆ แน่ ๆ และ ต่อให้เค้าอาศัยอยู่ในป่า ก็จะมีคนถางป่าไปควาญตามหาเขาจนได้”
ทำอะไร เริ่มให้ดี ทำให้มีคุณค่า เมื่อจรวดจุดติดเชื้อเพลิง อ๊อกซิเจนรอบนอกจะถูกดูดเข้าไปแล้วพุ่งทะยานเอง
Everything you hear is an opinion, not fact
ความคิดอ่อนไหวเหมือนสายน้ำ ความคิดเรา ถูกกระทบได้ง่ายทั้งจาก ความคิดภายใน และการได้รับความคิดภายนอก และหากความคิดภายนอก ที่เข้ามานั้นเชี่ยวกราด มันเปลี่ยนแปลงกระแสความคิดภายในให้เปลี่ยนไปได้ และอาจเปลี่ยนไปในทางที่ดีหรือไม่ดี ก็มิอาจคาดเดาได้
ในขณะที่ความคิดของคนบางคนนั้น แข็งแกร่ง ไม่อ่อนไหวในทิศทาง แต่หากมีความคิดอื่นเข้ามา กลับเป็นพลังเสริมเข้ามาในกระแสความคิดหลักเสียด้วยซ้ำ
Timeless lessons for life บทเรียนที่มีคุณค่าของการใช้ชีวิต
Marcus argues that focusing too much on what people think of you is a distraction and a waste of your short life.
มาร์คัส แย้งว่า การไปจดจ่อว่าคนอื่นว่าคิดกับเราอย่างไร ทำให้เราไขว้เขวและเสียเวลามากๆ ไปกับชีวิตอันแสนจะสั้นนี้
Everything we hear is an opinion, not a fact.
ทุกสิ่งที่เราได้ยิน เป็นเพียงความเห็น ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
สิ่งนี้สำคัญ ความคิดคนอื่น หากนำมา หากตระหนักรู้ว่าเป็นข้อคิดเห็น จะทำให้เราเสริมมุมเหลี่ยมของชีวิตเราได้
“Everything we see is a perspective, not the truth.” He wrote. He observed that the only pain we suffer is the pain we create ourselves.
ทุกสิ่งที่เราเห็น มันคือมุมมอง ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เราพบว่า ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น เราสร้างขึ้นมาเองทั้งนั้น
He thought in a rapidly changing world, the best thing you can do for your short life on earth is to choose to live in the present and take full advantage of our finite existence
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเราที่อาศัยในช่วงเวลาอันแสนสั้นคือ การเลือกที่จะอยู่กับความคิดของเรา และทำให้ชีวิตมีคุณค่ากับการที่ได้เกิดมากที่สุด
Reference
https://www.theladders.com/career-advice/the-1-book-you-should-read-at-least-once-in-your-life
Be leader
The CEO of tech giant, they has run company with leadership mind.
They are more eager to facilitate than dictate. Instead of answer, they have questions. Instead of pitching, they listen and learn.
Don’t swim just your own lane
Life is not an olympic game. You don’t need to swim in your lane to win, but let play the whole pool, sharing with other, be joyful and make the life game more valuable and fun.
What’s innovation?
Innovation หรือ นวัตกรรม มีความหมายที่มีการแปลความหลายรูปแบบและหลายความหมาย
หากมองกันในลักษณะของการแปลความจากศัพย์
Innovation มากจากคำว่า : Innovat = In + Novare
In = เข้ามาทำ ; Novare = สิ่งใหม่
หรือ สั้น ๆ ทำสิ่งใหม่
สิ่งใหม่ อาจเป็น สิ่งของ กระบวนการ วิธีการ ตลาด ประสบการณ์ใหม่ของผู้ใช้
การทำให้เกิดการใช้ได้จริง คือ สิ่งหนึ่งที่ได้มีการพัฒนานิยามของ Innovation มากขึ้น
ดั่ง Lewus Dincan กล่าวว่า
”Innovation is the ability to convert ideas into invoices.”
ออกจะมองดูเป็นการขยับไปเป้าของความหมายทางธุรกิจ ไปสักนิด แต่มันคือ ความจริง
สนใจเรื่องความตายจากโควิด
วันนี้คนตายเท่าไหร่ก้น เป็นวันที่คนมาสนใจเรื่องของตัวเลขคนตาย ทั้งที่จริง ๆ แล้ว คนมันก็ตายทุกวัน ตายจากสาเหตุต่างๆ ตายจากอุบัติเหตุ ตายจากโรค ตายจากเหตุไม่คาดฝัน แต่ครั้งนี้ ตายจากโควิด มันเป็นสิ่งที่คนสนใจ สนใจเพราะใกล้ตัว สนใจเพราะมันเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจ สนใจเพราะมันอาจเกี่ยวกับคนที่เรารัก
นอกจากสนใจเรื่องความตายแล้ว ยังสนใจ การที่กำลังรอให้ช่วยเหลือให้พ้นจากความตายด้วย
วานนี้ก็มีครอบครัวหนึ่งที่สูญเสียแม่ไป โดยที่เด็กหญิงทั้งสองคน เป็นเด็กกำพร้าทันที โดยที่มีการถ่ายทอดเรื่องราว ที่แม่สั่งเสียวไว้ให้ด้วย ก่อนหน้าที่ ก็มีเจ้าของร้านอาหารเป็ดพะโล้ชื่อดังเสียชีวิต และตลกดัง เช่น น้าค่อม
นี่ก็คงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าความตายเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะ คนที่ดังดัง ไม่คาดคิดว่าจะตาย กลับตาย และตายอย่างไม่ได้สั่งเสียเสียด้วย
อีกเรื่องที่มีการพูดถึงได้การตายจาก COVID-19 คือ การตายอย่างโดดเดี่ยว เพราะคนป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิต มักอยู่ในห้อง isolation และ มักได้ยานอนหลับ ใส่ท่อช่วยหายใจและยาอื่น ๆ อีกนานับประการหลังม่านบังตาของของ ICU
การจากไปจากโลกนี้อย่างโดดเดี่ยว ทำให้มีการปรับให้คนป่วยได้มีความรู้สึกใกล้ชิดที่สุด โดยการใช้ Telecommunication และนอกจากนี้ยังมีประเด็นหนึ่งคือประเด็นทางศาสนาว่า จะมีการประกอบพิธีทางศาสนาอย่างไร
COVID-19 กระทบทุกมิติจริง ๆ
Meaning of Life
what is the meaning of life น่าจะเป็นคำถามที่ สุดแสนจะ classic และ มีคำตอบหลากหลาย ความหลากหลายของคำตอบ เป็นเพราะว่า ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ไม่เหมือนกัน และทำให้มุมมองไม่เหมือนกัน
วันนี้ได้ฟัง Seth Godin ได้พูดใน youtube บทสัมภาษณ์ SETH GODIN - THIS IS MARKETING: How To Find Your Viable Audience & Win Trust From Your Target Market ที่มีส่วนหนึ่งของการพูดคุยว่า “Meaning in life is about making yourself meaningful to other people.” จึงเป็นประโยคที่น่าสนใจ เพราะมันไม่ได้ขึ้นกับประสบการณ์ หรือ มุมมองอะไรทั้งนั้น แต่ขึ้นกับ ความการเกิดเป็นมนุษย์
“Meaning in life is about making yourself meaningful to other people.” เป็นคำกล่าวที่อยู่ใน idea for TED ที่ Frank Matela ได้กล่าวไว้
ทำไม คำกล่าว meaning of life จึงเกิดขึ้นเมื่อเราทำให้เรามีความหมายต่อคนอื่น หละ การคิดนอก framework ของการมองที่ตัวเราเป็นสิ่งสำคัญ คำว่า “meaning” เป็นคำที่น่าฉงนในตัวเอง คำว่า “meaning” มี ความหมายหรือไม่ ? และเพื่อใคร
หลายคนอาจคิดว่า การมีความหมาย ก็หมายถึงทำให้ตัวเองมีความสุขหนะสิ อาจจะมีความสุขในการใช้ชีวิตด้วยการมีครอบครัวที่มีความสุข ไปตกปลาในวันหยุด หรือ ทำงานที่รัก และมีชีวิตที่มีความสมดุลในทุกทุกด้านอย่างลงตัว แต่หากมองโดยความเป็นจริงแล้ว มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ “Belong to other”
เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นมาและมีความรู้สึกของการมีคุณค่าด้วยการที่คนอื่นมาให้ความรู้สึกถึงคุณค่าให้เรา คงจะไม่มีความหมายหรือประโยชน์อะไรหากไม่มีใครให้ค่าเราเลย และนี่คือมนุษย์ ที่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ feel connect
That’s how simple it is.
Growth mindset: The Driving Force to Innovation
Mindset คุณเป็นอย่างไร ?
บางคนอาจไม่รู้จะตอบยังไง บางคนขวนเขินในการตอบ บางคนตอบว่า ฉันก็มี mindset ที่ดียังไงหละ คือ mindset หรือ แปลไทยว่า “กรอบความคิด” “แนวคิด” หรือ “วิธีคิด” มันมีหลายประเภท และ การที่ต้องการคำตอบแบบไหน มันก็คงขึ้นกับบริบทของคนถามด้วย เช่น หากเป็นฝ่ายพัฒนาองค์กร หรือ องค์กรที่กำลังทำนวัตกรรมหละก็ พนักงานที่ตอบว่า ฉันมี “Growth Mindset” ก็คงเป็นคำตอบที่ทำให้ผู้ถามยิ้มได้
“Growth Mindset” vs “Fixed Mindset”
ในองค์กรนวัตกรรม เราอาจเคยได้ยินคำพูดว่า “Fail fast, Fail often” หรือ “การล้มแล้วล้มอีก” คือหนึ่งในกระบวนการนำไปสู่ความสำเร็จผ่านกระบวนการเรียนรู้ การเกิดความผิดพลาดในเหตุการณ์ของหลาย ๆ คน อาจนำไปสู้ความท้อถอยและถูกตำหนิ แต่มันไม่ใช่แนวคิดทางนวัตกรรมแน่ ๆ หากเราได้ย้อนไปดูการทำนวัตกรรมสิ่งของต่าง ๆ ที่เราใช้ในปัจจุบัน เราอาจมองเห็นปลายยอดแห่งความสำเร็จ แต่หากไม่ได้ทราบหรือมองไปยังความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า แต่กุญแจของความสำเร็จ คือไม่ท้อแท้ และพร้อมปรับเสมอ
Stanford Psychologist Carol Dweck ผู้ที่แต่งหนังสือ Mindset: the New Psychology of Success กล่าวไว้ว่า บุคคลที่มี Fixed mindset เป็นบุคคลที่มีแนวคิดและความเชื่อว่า ความฉลาด ศักยภาพของเรา เป็นสิ่งที่ปรับได้ยาก ในขณะที่ Growth mindset เชื่อว่า เราสามารถพัฒนาความสามารถและศักยภาพของเราไปได้อย่างไม่หยุดยั้งผ่านการเรียนรู้ และความล้มเหลว และ ในปัจจุบัน บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ก็รู้แล้วว่า องค์กรจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้นั้น การมี Growth mindset ในองค์กร มีความสำคัญอย่างไร และ กระบวนการทำงานของบริษัท ก็เปลี่ยนจากการเลือกแต่ไอเดียดี ๆ และรับไม่ได้กับการผิดพลาด ก็เริ่มมีการยอมให้มีความผิดพลาดเพื่อให้ได้ลอง และก้าวไปข้างหน้า ต่อไป
การเลือกคนและการพัฒนาคนทำงานก็มีความเปลี่ยนไป
การที่มุ่งไปที่เลือกคนที่เก่งอยู่แล้วแต่ทำงานประจำวัน เดิม ๆ มันกลายเป็นการเดินย่ำกับที่และองค์กรก็จะถูกทับถมด้วยอีโก้ และตอนนี้องค์กรทั้งหลาย ถูกเปลี่ยนเป็นการมองหาคนที่รักความท้าทาย มีมุมมองใหม่ และพร้อมที่จะพลาด
Growth Mindset กับการแสวงหาและผสมผสาน
“[T]echnology alone is not enough—it’s technology married with liberal arts, married with the humanities, that yields us the results that make our heart sing.” — Steve Jobs
“เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวมันไม่เพียงพอหรอก ต้องให้เทคโนโลยี แต่งงานกับศิลปะ แล้วก็ความเป็นมนุษย์ ถึงจะทำให้หัวใจมันร้องเพลงออกมาได้” - Steve Jobs
นี่คือคำกล่าวของ Steve Job ผู้ที่ทุกคนรู้ดีว่า เค้ามีความพยายามและสร้างสรรค์เพียงใด องค์ประกอบหนึ่งของ Growth mindset คือการคิดข้ามสาขา (across discipline)
Tim Brown, CEO ของ IDEO ได้ให้นิยามและความสำคัญของ “มนุษย์ T-Shape” ที่แนวตั้งของตัว “T” หมายถึงความรู้ลึกในแขนงที่มีความชำนาญ ในขณะที่ ยอดของตัว “T” ที่วางในแนวขนาน หมายถึงการแสวงหาหรือสนใจที่หลากหลายและข้ามสาขา การเข้าใจทั้งในแนวตั้งและสนใจในแนวนอน เป็นส่วนผสมที่จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการแก้ปัญหา มองหลายมุม และมีความพลิกแพลงพร้อมด้วยแรงบันดาลใจสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้
"ในการทำนวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จ เรามีความจำเป็นที่ต้องเข้าถึงหลากหลายสาขา และ ตั้งดำลึกลงไปจากเปลือกผิวของสาขานั้น ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ ส่วนผสมนิสัยของการท้าทายและชอบทดลอง จะทำให้สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ “
มนุษย์ยังไม่หยุดวิวัฒนาการ
สิ่งมีชีวิต มีการวิวัฒนาการมาตลอด หากใครอ่านหนังสือ The species ของ Sir. Charles Darwin หรือ Selffish Gene ของ Richard Dowkins แล้ว อาจเห็นอะไร ๆ ที่มันค่อย ๆ ปรับตัวไปกับเวลา
สิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม อากาศ อวกาศ แสง เสียง พฤติกรรม การดำเนินชีวิต จิตใจ ล้วนเคลื่อนไหว เลื่อนไหลไปตามกาลเวลา และมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวตลอดเวลา
ในขณะที่โลกหมุนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วด้วยแรงถาโถมแห่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่อาจลืมนึกไปว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน คือการวิวัฒนาการในเชิงโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ด้วย
งานวิจัยใหม่ ๆ ไม่ได้เพียงแค่แสดงว่ามนุษย์ได้มีการวิวัฒนาการไปข้างหน้าเท่านั้น แต่ความเร็วในการวิวัฒนาการยังเพิ่มขึ้นด้วย เช่น การวิจัยที่พบว่าการหดสั้นลงของใบหน้าทารกที่เพิ่งคลอดในปัจจุบัน การมีการเพิ่มขึ้นของ fabella bone เป็นกระดูกที่อยู่หลังกระดูกหัวเข่า และการเกิดขึ้นใหม่ของกระดูกเท้า
Wisdom teeth หรือ ฟันกรามชุดที่ 3 ที่จะขึ้นมาในช่วงวัยรุ่น และเกิดเป็นฟันคุดขึ้น เนื่องจากมนุษย์ในปัจจุบัน มีแนวโน้มในการมีกรามที่เล็กลง เนื่องจากอาหารต่าง ๆ ถูก process หรือ ถูกปรุงให้ ไม่จำเป็นต้องใช้การบดเคี้ยวที่มากนัก ก็เป็นหนึ่งในวิวัฒนาการที่เกิดขึ้น ทำให้ wisdom teech หายไปในคนยุคใหม่
ได้มีการจินตนาการกันว่า หากมีการ evolve ไปเรื่อย ๆ คาดการว่า หน้ามาของมนุษย์จะเป็นอย่างไร อาจมีผิวที่ซึดลง มีกรามที่เล็กลง ขณะที่ตา อาจโตขึ้น และขนลดลงไปเรื่อย ๆ
สิ่งสังเกตที่น่าสนใจอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของ median artery ที่เป็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณแขน โดยคณะวิจัย จาก Flinders University และ University of Adelaide ที่ South Australia ได้ Pubished งานวิจัยลงใน Journal of Anatomy กล่าวว่า ปกติแล้ว median artery ที่เลี้ยงแขนของทารกในครรภ์ จะฝ่อไปเมื่อคลอดออกมา และถูกแทนที่ด้วย radial และ ulna arteries โดยที่มีบางคนเท่านั้นที่จะยังคงมี median artery อยู่ โดยที่คณะวิจัยค้นพบว่า ในทารกที่คลอดในปัจจุบัน มีการพบว่ามี median artery เพิ่มจาก 10% ในยุคก่อน ค.ศ. 1880 มาเป็น 30% ในยุคปัจจุบัน
สิ่งเหล่านี้ อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ที่เราเรียกว่า micro evolution แต่เมื่อนานไป เราก็จะเห็นได้อย่างชัดเจน
Health Hackathon - Part 1 : Knowing Health Hackathon
คุณเคยเห็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา หรือ การบริการใหม่ ๆ ทางการแพทย์ที่ออกสู่ตลาดไหม เราอาจใช้บริการกันเพลิน ๆ แต่หากมองย้อนไปดูกระบวนการ ขั้นตอน และเวลาในการทำวิจัย จนออกสู่เป็นผลิตภัณฑ์ มันใช้เวลานานมาก ๆ และหากลองมาคิดดูว่า หากผลิตภัณฑ์ที่สร้างออกมาแล้วไม่ตอบโจทย์ในการให้บริการหละ นอกจากเสียเวลาแล้ว ยังเสียเงิน แรงกาย แรงใจในความทุ่มเทในการพัฒนาและวิจัยอีกด้วย
แนวทางแบบการใช้องค์ความรู้แบบ สหวิชาการ หรือ transdisciplinary approach ร่วมกับความคิดเห็นของผู้ใช้ปลายทาง หรือ ลูกค้า ที่เรียกว่า co-creation โดยตรง อาจเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่เป็นนวัตกรรมใหม่อย่างประหยัดต้นทุน ในบริบทนี้ Hackathons (แฮกกะทรอน) หรือ กระบวนการ Hack ได้กลายเป็นกระบวนการที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับสถาบันการดูแลสุขภาพเพื่อสร้างความกระตือรือร้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์และประหยัดเวลา
“Hackathon” = “Hack” + “Marathon”
ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990 แนวคิดในการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญมาเป็นทีมเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันและแก้ปัญหาเร่งด่วนได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนหน้านี้ Hackatron เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ที่ทำงานด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการแก้ปัญหาโดยวิธีที่แตกต่างโดยอาศัยการระดมสมอง แต่เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงและการ disruption วงการต่าง ๆ โดยเฉพาะวงการแพทย์ ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว Hackathon จึงถูกนำมาใช้ในการคิดหาทางแก้ปัญหาด้วยวิธีที่แตกต่างจากการพัฒนาแบบเชื่องช้าแต่อาจไม่ตอบโจทย์ เพื่อให้ทันต่อโลกที่ถูกสายป่านแห่งเทคโนโลยีปั่นให้หมุนเป็นลูกข่าง โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 จาก Literature review พบว่า มีการจัด Hackathon ในด้านสุขภาพกว่าร้อยครั้งทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่จัดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองแห่งนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก นั่นเอง
Hackathon : the best way to build innovation like a fast house ?
การพัฒนาเทคโลยีด้านการแพทย์มีหลายวิธี แล้ว Hackathon เป็นวิธีที่ดีในการทำนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพจริงหรือ ?
คำตอบนี้ The Consortium for Affordable Medical Technologies (CAMTech) (http://camtech.mgh.harvard.edu) ที่เป็นแผนกเทคโนโลยีด้านสุขภาพของ Massachusetts General Hospital ได้เผยแพร่ผลลัพธ์ของการทำ Health Hackathon 12 ครั้งตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2558 ในอินเดียยูกันดาและสหรัฐอเมริกา พบว่า ภายหลังการทำ Health Hackathon ได้มีการพัฒนาการแก้ปัญหาใหม่ ๆ มีการนำการแก้ปัญหานั้นไปผลิต product และนำเข้าสู่งานวิจัย และยังพบว่า มีการตั้งบริษัทใหม่ ที่ประสบความสำเร็จด้วยดีในภายหลังอีกด้วย โดยการทำ Hackathon ในช่วงหลัง ๆ จึงมีการทำงาน ติดตามอย่างเป็นระบบ และยอมรับกันมากทั่วโลก
Health Hackathon Resource
Hacking Health >> https://hacking-health.org
การทำ Health Hackatron เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีหลักการที่หลากหลายแต่ในระยะหลัง เริ่มมีแนวทางในการจัดการอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยหากกล่าวถึง การติดต่อและสร้างแนวทางการทำ Healh Hackathon ต้องกล่าวถึง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรชื่อว่า Hacking Health ซึ่งก่อตั้งและดำเนินการใน Montreal, Cannada ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 ที่มีการสร้างเครือข่ายและให้ความช่วยเหลือโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการ provide resource และให้คำแนะนำแก่กลุ่มที่ได้ทำ Health Hackathon ทั่วโลก รวมถึงที่ USA, Germany, Netherland , France และ อื่น ๆ โดยนอกจากผลพวงในการสร้างผลิตภัณฑ์และวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการกับปัญหาสุขภาพแล้ว ยังได้มีความร่วมมือในการจัดกิจกรรมในท้องถิ่นต่างๆตั้งแต่การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวการแพทย์ไปจนถึงการพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพดิจิทัล ตั้งแต่นั้นมาบทและเครือข่ายก็ค่อยๆเติบโตขึ้น
MIT Hacking Medicine >> https://hackingmedicine.mit.edu
MIT Hacking Medicine ก่อตั้งขึ้นที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ในบอสตันสหรัฐอเมริกาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเร่งนวัตกรรมทางการแพทย์โดยดำเนินการ Health Hackathon และ การประชุมเชิงปฏิบัติการหรือการรวมเครือข่ายทั่วโลก โดย MIT Hacking Medicine ได้สร้างหนังสือแนวทางในการทำ Health Hackathon Hand Book ที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการจัดระเบียบ Hackathon ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
มีให้บริการทางออนไลน์ฟรี >> Download here >> MIT Hacking Medicine Handbook
Science Startup: Getting Science out of the Lab
การค้นอะไรใหม่ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น แต่การนำสิ่งที่ค้นพบออกมาใช้จริงได้แก่สังคม เป็นเรื่องที่น่า challenge และวิธีการของมันก็แทบจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการปิ้งแว้บไอเดียออกมาแล้วก็ปั้นออกมาเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสารที่มี Impact Factor สูงลิบลิ่ว
การจะ spinning out science ออกจากการทำงานด้านวิชาการไม่ใช่เรื่องใหม่ หน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นอย่าง Technology Transfer Officers (TTOs) มีอยู่ในทุกมหาวิทยาลัย เพื่อเป้าหมายในการนำงานวิจัยที่วางอยู่บนหิ้งมาใช้งานจริงในตลาดจริงๆ และจุดมุ่งหมายของ TTOs เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองที่จะคอยสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยอีกทางนึง
แต่ การที่จะนำการค้นพบ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่มีการทดลองในสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดเพื่อขจัดปัจจัยที่เรียกว่า confounding factors แล้วนำมาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง กลับมีเปอร์เซ็นต์ในการประสบความสำเร็จต่ำเสียน่าตกใจ จนหลายๆ คนนิยามการกระโดดจากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ว่าเป็น “Valley of Dealth” หรือหุบเขาแห่งความตายที่จะกระโดดข้ามไปที ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ประเด็นสำคัญของการล้มเหลวในการ Transfer research to market หลัก ๆ คือ โจทย์วิจัยทำในสิ่งที่ไม่แก้ปัญหาของตลาด ถ้าไม่นับการทดลองผลิตยาที่เป็นการค้นพบในการแก้ปัญหาในการรักษาโรคอย่างตรงไปตรงมาแล้ว การทดลองวิจัยอื่น ๆ แทบจะไม่ประสบความสำเร็จเอาเสียเลย หรืออาจเรียกได้ว่า “สร้างของดี แต่อาจจะไม่มีคนซื้อ” นั่นคือประเด็นอยู่ที่ market validation และ market size และสิ่งนี้แทบจะเรียกได้ว่า ต้องอาศัยทักษะและความรู้ของการเป็นผู้ประกอบการนอกเหนือจากการเป็นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นที่การทดสอบสมมุติฐานและทักษะการวิพากษ์และเขียนงาน paper ลงตีพิมพ์
เมื่อโลกเปลี่ยนไป และหมุนไวกว่าเดิม การสร้างนักวิทยาศาสตร์ และ นักวิจัย ที่มีวิธีคิดที่แตกต่างและใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบ เริ่มด้วยปัญหามาก่อน (problem-led) แล้วใช้วิธี approche ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบ startup จึงเป็นจุดเปลี่ยน ไม่สิ เป็นจุดรอด ของนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ที่ต้องมีเป้าเป็นการตอบโจทย์ตลาดและสังคม หรือเราเรียกนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ว่า “Science Startup”
ยกตัวอย่าง London-based Deep Science Venture (DSV) ที่เป็น venture-focused science institute ที่มองหาทางแก้ปัญหาในเรื่อง Alzheimer’s disease, antimicrobial resistance มาก่อน จากนั้น ขบวนการระดมผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ ที่มีความเข้าใจในการประกอบธุรกิจและการบ่มเพาะแบบ startup จึงเริ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และเขาก็นำทีมเข้า accelerator programme โดยที่ให้ทีมนำเสนอ ideas ในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย แล้ว seed เงินทุนลงไปเพื่อพัฒนา prototype ผ่านการทดลองวิจัย จนออกมาเป็น Living neural implants, efficient bioprocessing และ one-day antibody design
ในการแข่งขัน Helsinki Challenge เป็นการเข่งขันที่เป็น science-based competition และ accelerator ที่รวบรวมนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักพัฒนา ที่มีแนวคิดแบบ science startup เพื่อเฟ้นหากลุ่มผู้ประกอบการนักคิดค้น เป้าหมายในการช่วย UN Sustainable Development
Mikael Sokero นักวิจัยและเจ้าของโครงการ Demos Helsinki ได้บอกว่า แนวทางการ approach แบบนี้ไม่เป็นเพียงการนำงานวิจัยและวิทยาศาสตร์มาถ่ายทอดสู่เชิงพาณิชย์เท่านั้น แต่มันเป็นการเปิดแนวทางการทำงานของนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ ให้มาแก้ปัญหาของโลกให้เร็วขึ้น กว้างขวางขึ้น และ เปลี่ยนจากผู้สังเกตการเป็นไปของโลก มาเป็นผู้ลงมือและเกี่ยวเนื่องกับการใช้ผลิตผลแห่งงานวิจัยที่แก้ปัญหาตรงประเด็นและแท้จริงได้มากขึ้น
Dave Messina ที่จบการศึกษาจากโปรแกรม Genomics และเริ่มจากที่เข้ามาเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านยีน แต่เพียงเริ่มไปได้ไม่นาน Messina ก็พบว่า การที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านยีนที่แสนสมาร์ทและตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ รวมถึงอยู่ในวงการวิชาการนั้นมันไม่ได้เป็นไปตามฝันเขานัก จนในที่สุดเขาก็ได้ออกมาทำ PhD ด้าน computational biology ที่พัฒนา software ที่ทำการวิเคราะห์ยีน และก่อตั้งบริษัทชื่อ Cofactor Genomics โดยได้รับเงินลงทุนและการเริ่งการเติบโตโดย Y Combinator (https://cofactorgenomics.com)
เดี๋ยวนี้ในมหาวิทยาลัยที่มีการผลิตแพทย์ ก็ได้เริ่มมีการมุ่งเน้นด้านนวัตกรรมและการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ร่วมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยให้มีความเป็นนวัตกรมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างจาก StartX ที่มีส่วนทางการแพทย์ StartX Med (https://startx.com/med) ในการบ่มเพาะและขยายผลให้เกิดนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริงมากมาย รวมถึงการดึงผู้ประกอบการมาอยู่ในโครงการ accelerator ของมหาวิทยาลัยและก่อกำเนิด ecosystem ในมหาวิทยาลัย Standford ขึ้น โดยที่มีการพัฒนาให้เป็น problem-led organization และเชื่อมโยง ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมแก้ปัญหาและนำออกสู่ตลาดเพื่อขยายผลงานออกสู่เชิงพาณิชย์ให้มากที่สุด
จริง ๆ แล้ว การทำงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ค้นหาและทดสอบสิ่งที่เป็นพื้นฐานของธรรมชาติและมนุษย์ ก็มีความสำคัญมาก แต่หากจะขยายขอบเขตออกมาสู่สังคมแบบใช้นวัตกรรมได้จริงและฉับไว คงต้องคิดแบบ science startup เพื่อจะได้ไม่ออกแรงกระโดดมากเท่าไหร่ ก็ตก Valley of Dealth อยู่ร่ำไป
Reference
https://www.ycombinator.com/library/3y-how-scientists-can-thrive-in-the-startup-world
https://www.hottopics.ht/16111/top-science-startups-supercharge-science-tech-industry/
StandX: the Great Ecosystem for Med Tech Startup
หากจะคิดถึง ชุมชนแห่ง tech startup ที่มีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จในการสร้างระบบนิเวศในการติดต่อ ช่วยเหลือ และ บ่มเพาะให้เกิดความสำเร็จในการสร้าง Health Tech Startup แล้วละก็ StandX ชุมชน startup ของ Standford University ต้องถูกนึกถึงอย่างแน่นอน
“ เป็นเวลากว่า 10 ปี StartX ได้พิสูจน์แล้วว่าในฐานะองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรสามารถสร้างระบบนิเวศที่ให้อำนาจแก่ชุมชนสแตนฟอร์ดในการให้คำปรึกษาผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จซึ่งจะมีส่วนร่วมกับสังคมผ่านเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำและนวัตกรรมทางการแพทย์” เจอร์รีหยาง ผู้ก่อตั้ง Yahoo หนึ่งในตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จของ StartX ได้กล่าวไว้
StartX ก่อตั้งขึ้นโดย Cameron Teitelman ในปี 2009 ในฐานะองค์กรที่ดำเนินกิจการโดยนักศึกษา StartX ตั้งอยู่ริมถนนจากวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นวิทยาเขต ที่มี บริษัท ราว 700 แห่งได้เริ่มต้นแล้วและตอนนี้มีการประเมินมูลค่ารวมกันมากกว่า $ 19 พันล้าน หนึ่งในแบรนด์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากชุมชน StartX ได้แก่ Arterys, Branch, Eko, GenapSys, Kodiak Sciences (IPO), Life360 (IPO), Lime, Patreon, Poynt และอีกหลายร้อยบริษัท
StartX เป็นชุมชนที่เริ่มต้นและดำเนินไปอย่างไม่แสวงหาผลกำไร ช่วยให้บริษัท ศิษย์เก่า เข้ามาตั้งบริษัทและเติบโตไปพร้อม ๆ กัน โดยมีทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และทรัพยากรที่สำคัญคือบุคลากรจาก Standford University เอง โดยนอกเหนือจากการทำงานกับแผนกต่าง ๆ ทั่วมหาวิทยาลัยแล้ว อาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ที่สแตนฟอร์ด ยังได้นำผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มทำตลาดมาเป็นผู้ก่อตั้ง StartX โดยการช่วยเหลือต่าง ๆ นั้น StartX ไม่ได้เข้ามามีส่วนแบ่งผลกำไร หรือ หุ้นแต่อย่างใด
ส่วนที่เรียกได้ว่าโดดเด่นของ StartX คือ StartX Med ที่เป็นชุมชนที่มุ่งเน้นไปที่การเร่งพัฒนาผู้ประกอบการด้านการแพทย์ชั้นนำของ Stanford ผ่านทางการศึกษา การวิจัยและวิเคราะห์ และการทดลองประสบการณ์
อุตสาหกรรมทางการแพทย์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความจำเพาะ โดยแรกเริ่ม StartX Med ได้รับการพัฒนาโดย Divya Nag ศิษย์เก่าของ StartX ผู้ก่อตั้ง Stem Cell Theranostics และผู้ร่วมก่อตั้ง Andrew Lee โดยแรกเริ่ม ได้มีการพัฒนาแหล่งข้อมูลสำหรับการทดลองทางการแพทย์ ได้แก่ ห้องปฎิบัติการ ห้องทดสอบสัตว์ทดลอง การสร้างศูนย์ให้คำปรึกษาทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีทางการแพทย์และขั้นตอนการอนุมัติจาก FDA ให้กับ บริษัท ทางการแพทย์ โดย มุ่งเน้นไปที่ "การพัฒนาเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพขั้นสูงด้วยการเร่งการพัฒนาผู้ประกอบการด้านการแพทย์ที่มีศักยภาพสูงสุดของสแตนฟอร์ด"
StartX Med กำลังเปลี่ยนแปลงโลกด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์และการทดลองวิจัยเพื่อช่วยชีวิตที่ประสบความสำเร็จรวมถึงค่าเฉลี่ยของการอนุมัติของ FDA มากกว่าหกครั้งต่อปี พันธมิตรทางคลินิกของ บริษัท StartX Med ประกอบด้วยโรงพยาบาลมากกว่า 250 แห่งศูนย์ดูแล 30,000 แห่งแพทย์ 50,000 คนและผู้ป่วย 65 ล้านคนต่อปี
เห็นได้ว่า StartX Med ถือเป็น model ที่น่าสนใจและเป็นแหล่งบ่มเพาะ startup และ medical enterpreneur ที่ประสบความสำเร็จ เราลองมาดู ตัวอย่างของ ผลิตภัณฑ์ทางนวัตกรรมของ StartX Med กัน
Remedly
https://www.remedly.com
Remedly เป็น software ที่มีระบบปฎิบัติการที่จะช่วยจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล รวมถึงระบบจัดการ customer management system ที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ทำให้การจัดการข้อมูลและการนัดหมายต่าง ๆ สะดวกและรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพมากเขึ้น
นอกเหนือจากระบบในการจัดการระบบและฐานข้อมูลของโรงพยาบาล Remedly ยังขยายระบบให้ครบวงจรด้วย Patient portal ทำให้เพิ่มการเข้าถึงคนไข้และลูกค้าได้ Practice management เป็นระบบจัดการการรักษา นัดหมาย จ่ายยา และติดตามผู้ป่วย Revenue cycle management ระบบจัดการด้านการเงิน และ stock ทำให้บริหารต้นทุนและรายจ่ายได้ง่าย และยังผนวก Marketing และ ระบบ eCommerce เข้าอีกด้วย ทำให้นอกจากให้บริการ แล้วยังมีการจำหน่ายสินค้า online เพื่อเติมเต็มระบบมากยิ่งขึ้น
การทำงานแบบจากหลังบ้านถึงหน้าประตูบ้านของคนไข้ เป็นการ integrate แบบ Full stack ที่แท้ทรูเลย
Link : https://www.remedly.com
Tag.Bio: Your data, Your question
https://tag.bio
เดี๋ยวนี้เป็นดังที่กล่าวไว้ว่า Data มีค่ากว่าทองคำ มันทั้งจริง และไม่จริง จริงหากคนรู้ว่าจะเอา data ไปทำอะไรต่อ เพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ โดยเฉพาะการสร้างนวัตกรรมใหม่ ไม่จริง หากรู้ว่ามี data แต่ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
tag.bio เป็นบริษัทที่นำข้อมูลต่าง ๆ จากส่วนประกอบต่าง ๆ ของ ทั้งจากผู้ป่วยและ expert มาประมวลผล โดยมีแนวคิดที่ว่า เมื่อได้ data แล้วนำมา analyze ที่ดีแล้ว จะสามารถมีคำตอบของคำถามต่าง ๆ มากมาย และนั่นก็จะนำไปสู่ new discovery ใหม่ ๆ ตามด้วย solution ใหม่ ๆ ด้วย โดยการทำงาน นั้น เป็นการทำงาน แบบ real time ในแต่ละ team ก็จะมีการ analyze แล้วมีคำตอบใหม่ ๆ ออกมา แล้วก็นำไป share กัน across team ได้ ทำให้ จะได้พัฒนาและค้นพบเรื่อง ใหม่ ๆ เข้าไปอีก โดยกระบวนการทำงาน จะใช้ Process: Data map - Algorhythm - User experience มองไปคล้ายการทำ Lean startup เลยแฮะ และนี่ result ออกมาคงเป็น Fast speed of discovery นะฮะ
Spiral Therapeutics: The new solution for hearing loss
https://www.spiraltx.com/spiral-therapeutics-begins-phase-1-trial-of-hearing-loss-drug/
ข้ามมาฝั่งยารักษาบ้าง แม้ว่า spiral therapeutics จะมียาที่ผลิตเริ่ม clinical trail ที่ phase 1 ก็ตามแต่ว่า ได้ค้นพบปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาใหญ่ที่ยังไม่มี solution ที่ดีพอ
Spiral therapeutics เป็นบริษัทที่คิดค้นยาในการรักษาอาการหูไม่ได้ยิน หรือ หูเสื่อม โดยมุ่งเน้นไปที่ปัญหาหูเสื่อมในผู้สูงอายุที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน ที่อาจเกิดจากปัญหาทางหลอดเลือด หรือ การเสื่อม ตามวัย (degenerative change) โดยที่การรักษาหูเสื่อมที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจนในปัจจุบัน คือการฉีดสเตียรอย แต่ว่า ทำไมไม่ค้นหายาใหม่ ๆ และวิธีการนำยาเข้าช่องหูใหม่ ๆ หละ และนี่ เป็นหมุดหมายของ spiral therapeutics จะทำให้ได้ ต้องอดใจรอกัน
References:
https://www.businesswire.com/news/home/20190924005395/en/StartX-Celebrates-10-Years-Helping-Stanford’s-Top
https://www.dotmed.com/news/story/50535
https://startx.com/med
จะสร้าง Startup Ecosystem ในเมืองของคุณได้อย่างไร?
การเป็น Startup ที่แสนโดดเดี่ยว และไม่มีระบบที่นิเวศน์ที่ดีเพียงพอหล่อเลี้ยง นอกจากจะเหี่ยวเฉาแล้ว โอกาสที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนมันก็ไม่ง่ายนัก และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ Startup Ecosystem สำคัญยิ่งนัก
การที่จะสร้างเมืองของเราให้มี Ecosystem ของ Startup ที่ดี มีขั้นมีตอนที่น่าสนใจ
Adeo Ressi ผู้ประกอบการ startup และนักเขียน Forbs ได้เขียนขั้นตอน “Five steps to build a Startup Ecosystem in your city” ให้เป็นแนวทาง
แต่ก่อนอื่น มาดูกันก่อนว่า เหตุที่ทำให้การทำ startup มันเหลวเป๋ว เสียตังค์กันไป (ทั้งตังค์ของ founder เอง และตังค์ของรัฐบาลผ่านการสนับสนุนต่าง ๆ ด้วย) คืออะไร
ทั้งที่มีความพยายามของแหล่งทุนรัฐบาลที่ทั้ง นั่งยัน ตอนยัน เข็ญการทำ startup ผ่านนโยบาย โปรแกรมต่าง ๆ แต่ว่า ลักษณะของการให้ทุนต่าง ๆ ที่ seed เข้ามานั้นยังเป็นลักษณะ Top down เป็นหลักใหญ่ กล่าวคือ มี grant funding มา แล้วก็ให้แต่ละทีมเข้ามา pitch ดู แต่ปรากฎว่า คณะกรรมการ ไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่า ทีมนั้น มีการทำ product market fit จริง ๆ หรือเปล่า และ ผ่านการ valudate customer แค่ไหน จึงทำให้ startup นั้นโผล่ ๆ มาแล้วก็หายไป และอีกส่วนหนึ่งคือ Ecosystem ที่ถูกสร้างขึ้น ไม่แข็งแรงพอที่จะ support นั่นเอง
มาดู 5 ข้อที่ Adeo Ressi แนะนำกัน
Start with a Collaborative Mentality หรือการสร้างความสัมพันธ์
ก่อนอื่น ต้องทราบก่อนว่า startup ต้องเลิกคิดว่า ไอเดียของฉันออกไป เดี๋ยวมีคนมาลอกนะเฟ้ย และเลิกคิดถึงการแข่งขันคือการแบ่ง pie ก้อนเดียว แต่จริง ๆ แล้วมันคือการขยายตลาดที่เติบโตไปด้วยกัน หรือว่า make the pie bigger for all. ดังนั้น การมีปัจจัยเกื้อหนุนอย่างจริงจัง ได้แก่
A.ต้องไม่โตไปในแบบที่มีคนคุ้มประตู gate keeper ในแนวดิ่ง
B. ต้องประกอบไปด้วย คนที่เชี่ยวชาญจากหลากหลายแขนง หลายกลุ่ม
C. มี startup mentor ที่จะช่วยผู้ประกอบการหลากหลายโปรแกรม
D. แชร์ idea กัน
จำไว้
“Remember: the definition of an ecosystem is "a group of interconnected elements, formed by the interaction of a community of organisms with their environments." Startup ecosystems that operate with a "me-first" mentality die, and they die quickly”
2. เขียนแผนที่ของตลาดพื้นที่ Map the local market
เราต้อง list startup, event, ecosystem, networking event, professional network, accelerators and incubators, educational institutions, government organizations, and more
การทำ สามารถทำผ่าน Startup Ecosystem Canvas
3. ร่วมพบปะเครือข่าย Gather the network
ขั้นตอนนี้สำคัญ เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้รู้จัก แลกเปลี่ยน idea อาจเป็นงาน Boot Camp, Startup Founder 101, Meet up ก็ได้ เป้าหมายคือ มีการพบปะในบรรยากาศที่ low pressure , open environment และสร้าง connection และมีแรงบันดาลใจ
4. ทำงานร่วมกับรัฐบาลของคุณ Work with your government
แม้ว่า การพัฒนา startup เป็นเรื่องที่คุณจะต้องลอง test market และสร้างทีมของคุณ ผ่านกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ รัฐบาล สามารถเข้ามาช่วย เมื่อ ระบบนิเวศน์ ได้เริ่มมีการ seed แล้ว และเริ่มก่อตัวที่เข้มแข็งขึ้น การทำความรู้จัก หอการค้า การเชิญรัฐบาลเข้าร่วม และการขยายเครือข่ายในระดับที่สูงกว่า
5. มีความซื่อตรงต่อสิ่งที่เกิดขึ้น Stay honest
จงมีความซื่อตรง การสร้าง startup กล้าพูด กล่าวตรงไปตรงมา วัดผลกันด้วย metrics และ กรณีที่ผลลัพย์มันยังไม่ได้เรื่องละก็ ต้องวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา ถึงเหตุที่ทำให้แย่ ในการวิจารณ์และแนะนำ ต้องใช้กฎ “No 3’s allow” กล่าวคือหากมี คะแนน 1-5 ละก็ ไม่มีคำว่าพอใช้ มีแต่ ดี กับ ไม่ดี เพื่อความชัดเจน
Reference: https://www.forbes.com/sites/adeoressi/2017/02/16/five-steps-to-build-a-startup-ecosystem-in-your-city/#435e3be552aa