ทฤษฎีความฉลาดและความฉลาดที่ถูกบดบัง

Added on by Surattanprawate.

ความฉลาดคืออะไร

หลายๆ คน อยากเป็นคนฉลาด เพราะคนฉลาด มีโอกาสก้าวหน้าในขีวิต มีหน้าที่การงานที่ดี ประสบความสำเร็จ และแน่นอนว่ามันก็จะส่งผลไปสู่ความมั่งคั่ง ทั้งส่วนตัว ครอบครัว และสถานะทางสังคม

เมื่อเรากล่าวถึงความฉลาด เราก็คงคิดถึง วิธีที่จะพัฒนาให้เรามีความเก่งและฉลาดขึ้น ซึ่งก็คือระบบการศึกษานั่นเอง แต่เป็นที่น่าเศร้าว่า ในขณะที่เราพยายามในการคิดระบบการพัฒนาให้มนุษย์เกิดความฉลาดมากขึ้น แต่ระบบในปัจจุบัน ก็ยังจมปลักกับรูปแบบของการพัฒนาความฉลาดเพียงด้านเดียว ด้วยรูปแบบเหมือนๆ กัน

Sir.Ken Robinson นักพัฒนาระบบการศึกษา นักคิดและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ได้กล่าวว่า ระบบการศึกษาในปัจจุบัน คือภัยอันร้ายแรงที่ทำลายความคิดสร้างสรรค์โดยการตีกรอบมุ่งเน้นสร้างความฉลาดเพียงด้านเดียวและละเลยความฉลาดด้านอื่นที่ใช้ในการดำรงค์ชีวิต ทั้งยังมุ่งวัดผลที่เป็นกับดักทางการศึกษาที่เราก็เห็นผลลัพย์อยู่แล้วว่า มันล้มเหลวในบริบทปัจจุบัน

การศึกษาปัจจุบันและการวัดนี้ เป็นผลพวงของยุคที่มีการเร่งเร้าการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองและแสวงหาความรู้ใหม่ โดย Sir. Ken Robinson ได้กล่าวในหนังสือ “The Element: How Finding your Passion Change Everything” ว่า “ธาตุ (Element)” ที่เป็นคุณสมบัติโดดเด่นเฉพาะตัวของคนคนนั้น ได้ถูกกรอบการศึกษากดทับ

เมื่อการศึกษา เป็นการตีกรอบความฉลาดด้านอื่นๆ แล้วความฉลาดด้านอื่นนั้นคืออะไรกันหละ

จากทฤษฎีของ Robert J. Sternberg นักจิตวิทยา ได้แบ่งความฉลาดออกเป็น 3 ส่วน ตามทฤษฎี Triarchic Theory of Intelligence” ได้แก่

  1. ความฉลาดด้านการวิเคราะห์ (Analytical Intelligence) : เป็นความฉลาดด้านข้อมูล การใช้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสามารถทดสอบได้จากการทดสอบ IQ และ เป็นความฉลาดที่เราคุ้นเคยจากการสอน และการสอบวัดผลในห้องเรียน มักเป็นความฉลาดเฉพาะด้าน บางคนเรียกเป็น “Professional intelligence”

  2. ความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative intelligence) ความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นความฉลาดในการคิดใหม่ คิดประยุกต์ การปรับตัว การเชื่อมโยงมุมมองในแนวขวาง ผนวกข้อมูลจากหลายภาคส่วนและก่อให้เกิดการแก้ปัญหาหรือแสดงมุมมองใหม่ๆ ความฉลาดด้านนี้มักแสดงออกมาทาง “Creative and Innovation Ideas ไอเดียในการสร้างสรรค์และการผลิตนวัตกรรม”

  3. ความฉลาดในทางปฎิบัติ (Practical Intelligence) คือ ความฉลาดในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริง โดยสามารถโต้ตอบกับการใช้ปัญญากับชีวิตประจำวันได้ ได้แก่ การปฎิบัติงาน การสั่งงาน การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การตัดสินใจเฉียบพลัน ซึ่งก็คือความฉลาดในการบริหารจัดการการใช้ชีวิตและการงาน

แต่ละคน มีความฉลาดในแต่ละด้านไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดมาแต่กำเนิด (innate) และสิ่งแวดล้อม (environment)

เพียงแต่เราต้องมีช่องทางในการปะทุความฉลาดของเรา ตามธาตุของตัวเรา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

The Anatomy of Change กายวิภาคของความเปลี่ยนแปลง

Added on by Surattanprawate.

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ มีโครงสร้างที่เอื้อหนุนต่อการเปลี่ยนแปลง ที่จะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ วันนี้บทความจาก website :Mastey ได้อธิบายด้วยพิรามิดของการเปลี่ยนแปลงเอาไว้

5 ระดับที่เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลง

ระดับที่ 1. System and Structure ระบบและโครงสร้าง

A system is “a regularly interacting or interdependent group of items forming a unified whole”. ระบบคือการเชื่อมต่อ ประสานงานของหน่วยย่อย ๆ ให้กลายเป็นหนึ่งเดียว

A structure is “the arrangement of and relations between the parts or elements of something complex.” คือ การจัดเรียงตัว ตามความสัมพันธ์กันระหว่างส่วนต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อน

มนุษย์ เต็มไปด้วยโครงสร้างและระบบ เรามีลำดับของครอบครัวเป็น พ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า น้า อา และ เราก็มีระบบในการดูแลซึ่งกันและกัน จากครอบครัว เราก็มีโครงสร้างของเมือง มีระบบในการสั่งงานกัน

โครงสร้างและระบบนั้น เป็นส่วนประกอบอันทำให้เกิดการดำรงค์อยู่ของทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ต้ังแต่มนุษย์ ระบบนิเวศแห่งป่า เล็ก ๆ กระทั่งอะตอม เซลล์ หรือ ใหญ่ ๆ กระทั้งระบบสุริยะจักรวาล

ระดับที่ 2. Knowledge and Understanding ความรู้และความเข้าใจ

ความรู้ คือ ความเชื่อที่ถูกพิสูจน์แล้ว ซึ่งต่างจากความเห็น และความรู้มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอด นอกจากนี้ ความรู้ยังขึ้นกับบริบททางสังคมนั้น ๆ โดยการก่อเกิดความรู้ จะมีกระบวนการพิสูจน์ ผ่านการทำแบบจำลอง (model) และ สร้างรูปแบบ (pattern) ขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้ ผ่านรูปแบบการทำการทดลอง การทำการวิจัย การพิสูจน์โดยกระบวนการทำนวัตกรรม

ระดับที่ 3. Paradigm and World View กระบวนทัศน์และโลกทัศน์

เมื่อกระบวนการสร้างความรู้ ผ่านการทำแบบจำลอง การสร้างรูปแบบแล้ว ก็จะถูกกลั่นกรองออกมาเป็น กระบวนทัศน์ (paradigm) เพื่อสร้างองค์ความรู้ต่อไปเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ได้ถูกบัญญัติไว้ในคำว่า Paradigm shift โดยที่ Thomas Khun ได้เขียนไว้ในหนังสือ The structure of scientific revolution โดยได้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงออกเป็น 4 ระยะได้แก่ Normal science, Extraordinary research, Adoption of new paradigm, Aftermath of the scientific revolution

ส่วน โลกทัศน์ หรือ มุมมอง เป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจทิศทางของสังคมของแต่ละบุคคลหรือครอบคลุมทั้งของบุคคลหรือความรู้และสังคมของมุมมอง โลกทัศน์สามารถรวมปรัชญาธรรมชาติ ; สมมติฐานพื้นฐานอัตถิภาวนิยมและเชิงบรรทัดฐาน หรือธีมค่านิยมอารมณ์และจริยธรรม

ระดับที่ 4. Values and Beliefs คุณค่าและความเชื่อ

Values are judgements of what is important in life. คุณค่าคือสิ่งที่ถูกตัดสินว่ามีความสำคัญสำหรับชีวิต

Beliefs are the things we accept to exists and to be true. ความเชื่อ คือสิ่งที่เรายอมรับว่ามันมีอยู่และเป็นความจริง

ระดับที่ 4. Law of though กฎแห่งความคิด

นักตรรกวิทยา (logician) ได้ให้คำนิยามของตรรกะ คือวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการมีเหตุผลที่มีความถูกต้อง และเชื่อว่า ตรรกวิทยาขึ้นกับหลักการที่ชื่อว่า กฎแห่งความคิด

โดยกฎแห่งความคิด แบ่งออกได้เป็น

  • Law of identity

  • Law of contradiction

  • Law of excluded middle

Copycat : when the cat imitate me

Added on by Surattanprawate.

While the “Curiosity kill the cat”, I am so agree with this term on observing my cat behavior. But, I just realize that the copycat is also the cat behavior.

If you are an owner of two cat, you could see they play, doing the same thing, imitate their posture and behavior.

I own one cat named “Wor War” as its sound. I think she imitate me as feeling I am a big cat.

Mirror+Neurons+and+Togetherness.jpg

Imitation behavior is commonly seen in many creature. In human, we usually imitate someone behavior automatically, such as laughing, yawning, or doing some body gesture. The mirror neurons are behind the scene, that Brain cells have been evolved for social contact, and contribution to social.