PM 2.5 กับสมอง : เราจะอยู่กับประเทศที่สมองเสียกันไปหมด

Added on by Surattanprawate.

มองไปทางไหน มีแต่ฝุ่น PM 2.5 ที่ปลิวว่อน เหมือนเมืองในนรกเลยไม่ผิด ผลที่มีต่อสุขภาพที่อาจจะมีทั้งคนรู้และไม่รู้เท่าทัน มันมากกว่าที่คิด เพราะทั่วโลกได้วิจัยศึกษากันมานานนับสิบปี ก่อนที่เค้าจะมีนโยบายปราบฝุ่นแบบชัดเจน อันเนื่องจาก คุณหมอสุรัตน์ ต้องตรวจคนไข้โรคสมองที่บางบ้านก็ไม่มีเครื่องกรองฝุ่นอยู่ที่บ้านก็อดสงสารชะตากรรมแบบทำอะไรไม่ได้ ได้แต่เตือนภัยจากความรู้จริง เพราะมันส่งผลกระทบไม่ใช่แค่ความเหม็น ความเซ็งเป็ดที่เห็นบ้านเมืองเป็นสีสนิมฝุ่น มันส่งผลกระทบสุขภาพไปถึงสมอง ซึ่งสมองนี่สำคัญเพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้คนเป็นคน แตกต่างจากลิง และ มันกระทบทุกช่วงวัยเลย ไม่ใช่แค่คนสูงวัยหรือเป็นโรค แต่ยังกระทบไปยังเด็ก ที่จะเกิดมา พัฒนาขึ้นเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ เป็นลูกเป็นหลานเราด้วย

เอาหละ อจ สุรัตน์​เล่าให้ฟัง

การศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2566 นี้เอง Wei Li และคณะ ตีพิมพ์รีวิวใน Font Mol Neurosci ที่เป็นวารสารวิชาการด้านเซลล์ประสาทวิทยา เรื่อง “A review of respirable fine particulate matter (PM2.5)-induced brain damage” หรือ ฝุ่น PM 2.5 ทำลายสมองว่า นอกจาก ฝุ่น PM 2.5 จะ มีการผลเสียต่อหลอดเลือดและปอดแล้ว มันยังมีผลต่อสมองอย่างร้ายแรง

ขนาดที่เล็กของมันที่แทรกเข้าหลอดเลือดผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ “Lung-Gas-Blood Barrier (ผนังกั้นปอด การแลกเปลี่ยนแก๊ซ และ กระแสเลือด” และ “Gut-Microbial-Brain (ลำไส้ ไมโครเบียล และสมอง)” axis

PM 2.5 เพิ่มอัมพาตเฉียบพลัน ถึงตายได้แม้ระยะสั้น

การเข้าไปของ PM 2.5 ทำให้เกิดการทำลายหลอดเลือดได้อย่างไร PM 2.5 ที่ผ่านเข้าหลอดเลือด จะทำให้เกิดภาวะ Oxidative stress หรือ ความเครียดของเซลล์หลอดเลือด ก่อนที่มันจะไปกระตุ้นทำให้เซลล์หลอดเลือดทำงานผิดปกติ ไม่ยืดหยุ่น และอักเสบตามมา

นี่เป็นเหตุให้การสำรวจเชิงประชากรพบว่า PM 2.5 ทำให้อัตราของประชากรเกิดโรคอัมพาตมากขึ้นและหากใครยิ่งมีปัญหาทางหลอดเลือดมากก่อนแล้ว เช่น เป็น stroke หรือ โรคหัวใจ เป็นความดันโลหิตสูงเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือแม้กระตุ้น คนสูงอายุที่มักมีเส้นเลือดเสื่อม ก็จะมีปัญหาเส้นเลือดไม่ยืดหยุ่นและอุดตันตามมา

การที่สูด PM 2.5 มันต้องนานไหมถึงจะกระตุ้นให้หลอดเลือดเสื่อมและแข็งตัวได้ อันนี้เป็นอันที่น่าคิด เพราะการสัมผัส PM 2.5 เป็นบางฤดู ที่เราเรียก ฤดูฝุ่น บางคนก็คิดว่า มันไม่เป็นอะไร เพราะเดี๋ยวมันก็ผ่านไป

แต่ในปี คศ. 2517 Guan และคณะ ได้ศึกษาการสัมผัสกับ PM 2.5 ในหนูแรดเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์แล้วพบว่า เพียง 12 สัปดาห์ของการสูดดม (ประมาณ 3 เดือน) นั่นก็ทำให้หลอดเลือดในสมองเกิดการแข็งตัวได้

ระดับของการเพิ่มขึ้นของ PM2.5 ก็มีผลสำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งตีบและแตก ในนิตยสารประสาทวิทยาเล่มเขียว ทำความสัมพันธ์ของการเกิดอัมพาตและระดับ PM 2.5 พบว่า ทุก ๆ ระดับของ PM 2.5 ที่เพิ่มขี้น 5 μg/m3 จะทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดอัมพาตและโรคหลอดเลือดสมองครั้งใหม่ขึ้น 24% และนอกจากเกิดอัมพาตแล้ว ความรุนแรงของมันก็ทำให้เป็นอัมพาตที่รุนแรงและเสียชีวิตเพิ่มถึง 30%

PM 2.5 และสมองเสื่อม

คุณหมอก็เคยนึกสงสัยว่า คนไข้ช่วงที่มี PM 2.5 จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนไข้ที่สูงอายุ และมีสมองเสื่อม สิ่งที่พบได้แก่ มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง สมองเสื่อมมากขึ้น จำลูกหลานไม่ได้

ในการค้นหาข้อมูลก็ทำให้กระจ่างมากขึ้น โดยคณะวิจัย โดย อ นพ กิตติ เทียนขาว จาก คณะแพทยศาสตร์ มช. เรานี่เอง ที่แสดงข้อมูลให้เห็นว่า PM 2.5 ผ่านเข้าสมองโดยตรงที่ olfactory buld ที่เสมือนทางเชื่อมที่โพลงจมูกกับสมอง เสมือนเป็นที่รับกลิ่นของเราแล้ว PM 2.5 นี้ก็จะเข้าไปกระตุ้นโปรตีนขยะที่อยู่ในสมองที่ชื่อ Beta amyloid (เบต้า อะมัยลอย) ที่เป็นแหล่งกำเนิดโรคสมองเสื่อมอัลไซล์เมอร์

นอกจากนี้ PM 2.5 เมื่อสูดเข้าไป จะเข้าไปสู่การทำงานของเชื้อในลำไส้ ทำให้เชื้อในลำไส้ ปล่อยสารพิษ ผ่านเข้าไปยังกระแสเลือดและเข้าสู่สมองด้วย กระบวนการนี้คือการเปลี่ยนแปลงของ Gut Micro Biota หรือ การเปลี่ยนแปลงของเชื้อในร่างกายเรา

PM 2.5 และการพัฒนาสมองของเด็ก

ยิ่งไปกว่า มีผลต่อสมองของผู้ใหญ่และวัยชรา สิ่งที่น่าเป็นกังวลมากคือ สมองของเด็กที่กำลังพัฒนาจะถูกผลกระทบจาก PM 2.5 หรือไม่

การศึกษาที่น่าตกใจ จาก Environmental International พบว่า อนุภาคของ PM 2.5 อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสมองในวัยกำลังพัฒนาของเด็ก ซึ่งก็เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาด้านการเรียนรู้ ความโง่ ความฉลาด และอารมณ์ในวัยรุ่น โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า ที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย


“ในวัยหนุ่มสาว เซลล์ประสาทในสมองเด็ก กำลังขยายตัว และปรับให้เข้ากับการเรียนรู้สิ่งใหม่ โดยต้องการสารอาหาร การเรียนรู้เซลล์ และสิ่งแวดล้อมต่อการงอกของเซลล์ประสาทที่มีประสิทธิภาพ

การเฉลยผล PM 2.5 ต่อการทำงานของสมองเด็ก ได้ถูกออกแบบงานวิจัยและทำโดย Dora Cserbik และคณะ โดยได้ ศึกษา การสัมผัส PM 2.5 ประจำปี โดยเฉลี่ย แล้วทำ x-ray ดูการทำงานของสมองโดย High Resolution structural T1 MRI และวัดความสมถนะของสมอง ของเด็ก อายุ 9 ถึง 10 ขวบ โดยผลพบว่า ระดับของ PM 2.5 ที่บริเวณที่สูด สัมพันธ์กับ ส่วนของสมองที่เปลี่ยนแปลงไปของเด็ก ได้แก่ gray matter (สมองส่วนที่เป็นเซลล์สมอง) ในส่วนต่าง ๆ ได้แก่ frontal (ส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการคิด) temporal (ส่วนที่เกี่ยวกับจดจำ) occipital lobe (ส่วนที่เกี่ยวกับการมองเห็นและประมานภาพ) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสมองนี้ เกิดขึ้นถึง 9 ตำแหน่งจากสมองทั้งหมด 31 ตำแหน่ง

แล้วคุณแม่ที่ตั้งครรภ์หละ เมื่อเจอ PM 2.5 เป็นอย่างไร

งานวิจัยในประเทศจีนชื่อ "Effects of prenatal exposure to PM2.5 and its composition on cognitive and motor functions in children at 12 months of age: The Shanghai Birth Cohort Study” ที่ศึกษาติดตามแม่ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มี PM 2.5 หนาแน่น แล้วมีการติดตามพัฒนาการของเด็กที่เกิดมา ถึง 1 ปี ด้วยแบบทดสอบความฉลาด ASQ พบว่า คะแนน ASQ ที่วัดทั้งการสื่อสาร การเคลื่อนไหว skill การใช้มือแบบละเอียด การตัดสินใจแก้ปัญหา มันแย่ลง และยังมีส่วนสัมพันธ์กับ ภาะวะ ADHD หรือ สมาธิสั้นอีกด้วย

เด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะฝุ่นพิษสูง มีแนวโน้มในการพัฒนาของสมองช้า IQ ต่ำ หรือจะเรียกว่า โง่ลงก็ได้ เพราะมีการเปรียบเทียบในประเทศสเปนแล้วว่า มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ กับเด็กในตัวอย่างวิจัยถึง  2715 คน (อายุ 9-10 ขวบ)

ฝุ่น PM 2.5 มันเพิ่งมาประมาณ 10 ปี นิด ๆ ผลระยะสั้นคงเห็น แต่ผลระยะยาวรุนแรงกว่า เราจะอยู่กับคนที่เป็นอัมพาตมากขึ้น สังคมคนแก่ที่แข็งแรง อาจไม่ได้เห็น เราอาจเป็นสังคมคนแก่ที่เป็นอัมพาตเต็มเป็นหมด เป็นสมองเสื่อม คิดอ่านอะไรไม่ได้ ลืมหน้าลืมหลัง เราจะอยู่กับสังคมวัยทำงานที่ IQ ต่ำเพราะ PM 2.5 เราจะอยู่กับสังคมที่มีบริษัทที่ทำกำไรไม่เห็นหัวคน มีแต่ป่าวประกาศ sustainable project เป็นแค่ลมปาก มีแต่โครงการปาหี่ (เหมือนรถฉีดน้ำขึ้นฟ้า) อย่างนี้หรือ เราเห็นแต่ผู้ผูกขาด รวยด้วยโลกโทรม (ไม่ใช่รวยด้วยโลกสวย) เราจะเห็น บริษัทที่ทำโครงการเอาหน้าแบบ ฟอกเขียว (green washing) ที่เป็นโครงการเหมือนจะอนุรักษณ์โลก และ ส่งเสริม supply chain ที่เต็มไปด้วยการเผาเห็น ๆ

ไม่ได้เขียนให้ตัวเองอย่างเดียว สงสารลูกหลานและพ่อแม่ ก่อนสมองเสื่อม อัมพาต กันทั้งประเทศ


เอกสารอ้างอิง

Guan L., Geng X., Shen J., Yip J., Li F., Du H., et al.. (2017). PM2.5 inhalation induces intracranial atherosclerosis which may be ameliorated by omega 3 fatty acids. Oncotarget. 9, 3765–3778. 10.18632/oncotarget.23347

Tian, Fei, et al. "Air Pollution Associated With Incident Stroke, Poststroke Cardiovascular Events, and Death: A Trajectory Analysis of a Prospective Cohort." Neurology 99.22 (2022): e2474-e2484.

Fonken L. K., Xu X., Weil Z. M., Chen G., Sun Q., Rajagopalan S., et al.. (2011). Air pollution impairs cognition, provokes depressive-like behaviors and alters hippocampal cytokine expression and morphology. Mol. Psychiatry. 16, 987–95, 973. 10.1038/mp.2011.76

Thiankhaw, Kitti, Nipon Chattipakorn, and Siriporn C. Chattipakorn. "PM2. 5 exposure in association with AD-related neuropathology and cognitive outcomes." Environmental Pollution 292 (2022): 118320.

Sram, Radim J., et al. "The impact of air pollution to central nervous system in children and adults." Neuroendocrinology Letters 38.6 (2017): 389-396

Lei, Xiaoning, et al. "Effects of prenatal exposure to PM2. 5 and its composition on cognitive and motor functions in children at 12 months of age: The Shanghai Birth Cohort Study." Environment International 170 (2022): 107597.

Sunyer, Jordi, et al. "Association between traffic-related air pollution in schools and cognitive development in primary school children: a prospective cohort study." PLoS medicine 12.3 (2015): e1001792.

The Economy of Scale, Scope, Speed and Experience

Added on by Surattanprawate.

หลักการทางเศรษฐศาสตร์ (Economy) คือทำอย่างไรให้คุ้มทุนที่สุด แนวคิดด้านการผลิต เพื่อลดต้นทุนคือหลักการหนึ่งที่สำคัญ ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดได้และมีความเสถียรภาพของธุรกิจของเรา

4 รูปแบบของหลักการทางเศรษฐศาสตร์ (Economy production types) ที่ทำให้ต้นทุนลดลงและเพิ่มการเข้าถึงและการแข่งขันในาตลาดได้คือ.

Economies of Scale คือ การประหยัดจากขนาด

เมื่อผลิตสินค้าได้จำนวนมาก ราคาก็ถูกลง พูดง่าย ๆ คือ scale ยิ่งใหญ่ยิ่งประหยัด

ที่ต้นทุนลดลง เพราะเกิดการประหยัดของต้นทุนที่เป็น fix cost เช่น แรงงาน เครื่องจักร การจัดซื้อ การลงทุน การขนส่ง ทำให้ราคาต่อชิ้นที่ผลิตต่ำลง นอกจากนี้ การสั่งของล๊อตใหญ่ ก็ทำให้ต้นทุนของสิ้นค้าตั้งต้นถูกลงด้วยและมีอำนาจในการต่อรองสูง.

Economy of scale เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการเพิ่มกำไร ในกรณีที่สินค้า ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าในการแข่งขันในตลาดได้มากนัก

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มกำลังการผลิต ก็ต้องมีความเสี่ยงในการแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น กลยุทธ์นี้ ต้องมีตลาดที่รองรับได้แน่นอน

___________________________________

Economies of Scope คือ การประหยัดจากขอบเขต

คือการประหยัดจากการที่มีต้นทุนในการผลิตเท่าเดิมหรือเพิ่มไม่มาก แต่ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ้นค้ามากขึ้น เกิดได้จาก 2 จุดประสงค์ คือ เป็นการใช้ fix cost ให้คุ้มค่า โดยเพิ่มขอบเขตสินค้าให้หลากหลาย เรียกว่า เป็นการใช้ต้นทุนการผลิต ให้คุ้มค่า ด้วยการแชร์ต้นทุนร่วม ทั้งการใช้ต้นทุนวัตถุ การใช้การชนส่ง ต้นทุนทางกำลังคน การตลาด หรือ การทำ cross-sale.

แต่สิ่งที่สำคัญ อาจต้องมีความแน่ใจในตลาดของสินค้าใหม่ที่ได้มีการขยายตลาดขึ้น

___________________________________

Economies of Speed (การประหยัดจากความเร็ว)

เป็นแนวคิดที่เน้นการผลิตสินค้าให้เร็วขึ้น จะช่วยให้ต้นทุนสินค้าลดลง และกำไรเพิ่มขึ้น เป็นการ lean การผลิตสินค้า เมื่อเวลาถูกลดลง ต้นทุนต่าง ๆ ที่ยังคงเดิมแต่เราได้สินค้าที่เพิ่มและมียอดขายเพิ่มขึ้น แต่ต้อง มี demand และ การควบคุม quality ให้ดี

___________________________________

Economies of Experience (การประหยัดจากความชำนาญ)

เป็นการเพิ่มคุณภาพของสินค้า โดยการใช้ความชำนาญของบุคคลหรือความรู้ความชำนาญในการผลิต เพื่อทำให้ได้สินค้ามีความเฉพาะในการแข่งขัน มีคุณภาพ และเพิ่มมูลค่า โดยที่ความ ความชำนาญของพนักงาน จะทำให้ได้สินค้าที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้น ดังนั้น Economies of experience มีความสำคัญเรื่อง Knowledge management และการสร้างระบบขององค์กร ให้คงคุณภาพและความชำนาญนั้นไว้ให้ได้

__________________________________

ทฤษฎีความฉลาดและความฉลาดที่ถูกบดบัง

Added on by Surattanprawate.

ความฉลาดคืออะไร

หลายๆ คน อยากเป็นคนฉลาด เพราะคนฉลาด มีโอกาสก้าวหน้าในขีวิต มีหน้าที่การงานที่ดี ประสบความสำเร็จ และแน่นอนว่ามันก็จะส่งผลไปสู่ความมั่งคั่ง ทั้งส่วนตัว ครอบครัว และสถานะทางสังคม

เมื่อเรากล่าวถึงความฉลาด เราก็คงคิดถึง วิธีที่จะพัฒนาให้เรามีความเก่งและฉลาดขึ้น ซึ่งก็คือระบบการศึกษานั่นเอง แต่เป็นที่น่าเศร้าว่า ในขณะที่เราพยายามในการคิดระบบการพัฒนาให้มนุษย์เกิดความฉลาดมากขึ้น แต่ระบบในปัจจุบัน ก็ยังจมปลักกับรูปแบบของการพัฒนาความฉลาดเพียงด้านเดียว ด้วยรูปแบบเหมือนๆ กัน

Sir.Ken Robinson นักพัฒนาระบบการศึกษา นักคิดและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ได้กล่าวว่า ระบบการศึกษาในปัจจุบัน คือภัยอันร้ายแรงที่ทำลายความคิดสร้างสรรค์โดยการตีกรอบมุ่งเน้นสร้างความฉลาดเพียงด้านเดียวและละเลยความฉลาดด้านอื่นที่ใช้ในการดำรงค์ชีวิต ทั้งยังมุ่งวัดผลที่เป็นกับดักทางการศึกษาที่เราก็เห็นผลลัพย์อยู่แล้วว่า มันล้มเหลวในบริบทปัจจุบัน

การศึกษาปัจจุบันและการวัดนี้ เป็นผลพวงของยุคที่มีการเร่งเร้าการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองและแสวงหาความรู้ใหม่ โดย Sir. Ken Robinson ได้กล่าวในหนังสือ “The Element: How Finding your Passion Change Everything” ว่า “ธาตุ (Element)” ที่เป็นคุณสมบัติโดดเด่นเฉพาะตัวของคนคนนั้น ได้ถูกกรอบการศึกษากดทับ

เมื่อการศึกษา เป็นการตีกรอบความฉลาดด้านอื่นๆ แล้วความฉลาดด้านอื่นนั้นคืออะไรกันหละ

จากทฤษฎีของ Robert J. Sternberg นักจิตวิทยา ได้แบ่งความฉลาดออกเป็น 3 ส่วน ตามทฤษฎี Triarchic Theory of Intelligence” ได้แก่

  1. ความฉลาดด้านการวิเคราะห์ (Analytical Intelligence) : เป็นความฉลาดด้านข้อมูล การใช้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสามารถทดสอบได้จากการทดสอบ IQ และ เป็นความฉลาดที่เราคุ้นเคยจากการสอน และการสอบวัดผลในห้องเรียน มักเป็นความฉลาดเฉพาะด้าน บางคนเรียกเป็น “Professional intelligence”

  2. ความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative intelligence) ความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นความฉลาดในการคิดใหม่ คิดประยุกต์ การปรับตัว การเชื่อมโยงมุมมองในแนวขวาง ผนวกข้อมูลจากหลายภาคส่วนและก่อให้เกิดการแก้ปัญหาหรือแสดงมุมมองใหม่ๆ ความฉลาดด้านนี้มักแสดงออกมาทาง “Creative and Innovation Ideas ไอเดียในการสร้างสรรค์และการผลิตนวัตกรรม”

  3. ความฉลาดในทางปฎิบัติ (Practical Intelligence) คือ ความฉลาดในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริง โดยสามารถโต้ตอบกับการใช้ปัญญากับชีวิตประจำวันได้ ได้แก่ การปฎิบัติงาน การสั่งงาน การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การตัดสินใจเฉียบพลัน ซึ่งก็คือความฉลาดในการบริหารจัดการการใช้ชีวิตและการงาน

แต่ละคน มีความฉลาดในแต่ละด้านไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดมาแต่กำเนิด (innate) และสิ่งแวดล้อม (environment)

เพียงแต่เราต้องมีช่องทางในการปะทุความฉลาดของเรา ตามธาตุของตัวเรา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

The Anatomy of Change กายวิภาคของความเปลี่ยนแปลง

Added on by Surattanprawate.

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ มีโครงสร้างที่เอื้อหนุนต่อการเปลี่ยนแปลง ที่จะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ วันนี้บทความจาก website :Mastey ได้อธิบายด้วยพิรามิดของการเปลี่ยนแปลงเอาไว้

5 ระดับที่เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลง

ระดับที่ 1. System and Structure ระบบและโครงสร้าง

A system is “a regularly interacting or interdependent group of items forming a unified whole”. ระบบคือการเชื่อมต่อ ประสานงานของหน่วยย่อย ๆ ให้กลายเป็นหนึ่งเดียว

A structure is “the arrangement of and relations between the parts or elements of something complex.” คือ การจัดเรียงตัว ตามความสัมพันธ์กันระหว่างส่วนต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อน

มนุษย์ เต็มไปด้วยโครงสร้างและระบบ เรามีลำดับของครอบครัวเป็น พ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า น้า อา และ เราก็มีระบบในการดูแลซึ่งกันและกัน จากครอบครัว เราก็มีโครงสร้างของเมือง มีระบบในการสั่งงานกัน

โครงสร้างและระบบนั้น เป็นส่วนประกอบอันทำให้เกิดการดำรงค์อยู่ของทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ต้ังแต่มนุษย์ ระบบนิเวศแห่งป่า เล็ก ๆ กระทั่งอะตอม เซลล์ หรือ ใหญ่ ๆ กระทั้งระบบสุริยะจักรวาล

ระดับที่ 2. Knowledge and Understanding ความรู้และความเข้าใจ

ความรู้ คือ ความเชื่อที่ถูกพิสูจน์แล้ว ซึ่งต่างจากความเห็น และความรู้มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอด นอกจากนี้ ความรู้ยังขึ้นกับบริบททางสังคมนั้น ๆ โดยการก่อเกิดความรู้ จะมีกระบวนการพิสูจน์ ผ่านการทำแบบจำลอง (model) และ สร้างรูปแบบ (pattern) ขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้ ผ่านรูปแบบการทำการทดลอง การทำการวิจัย การพิสูจน์โดยกระบวนการทำนวัตกรรม

ระดับที่ 3. Paradigm and World View กระบวนทัศน์และโลกทัศน์

เมื่อกระบวนการสร้างความรู้ ผ่านการทำแบบจำลอง การสร้างรูปแบบแล้ว ก็จะถูกกลั่นกรองออกมาเป็น กระบวนทัศน์ (paradigm) เพื่อสร้างองค์ความรู้ต่อไปเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ได้ถูกบัญญัติไว้ในคำว่า Paradigm shift โดยที่ Thomas Khun ได้เขียนไว้ในหนังสือ The structure of scientific revolution โดยได้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงออกเป็น 4 ระยะได้แก่ Normal science, Extraordinary research, Adoption of new paradigm, Aftermath of the scientific revolution

ส่วน โลกทัศน์ หรือ มุมมอง เป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจทิศทางของสังคมของแต่ละบุคคลหรือครอบคลุมทั้งของบุคคลหรือความรู้และสังคมของมุมมอง โลกทัศน์สามารถรวมปรัชญาธรรมชาติ ; สมมติฐานพื้นฐานอัตถิภาวนิยมและเชิงบรรทัดฐาน หรือธีมค่านิยมอารมณ์และจริยธรรม

ระดับที่ 4. Values and Beliefs คุณค่าและความเชื่อ

Values are judgements of what is important in life. คุณค่าคือสิ่งที่ถูกตัดสินว่ามีความสำคัญสำหรับชีวิต

Beliefs are the things we accept to exists and to be true. ความเชื่อ คือสิ่งที่เรายอมรับว่ามันมีอยู่และเป็นความจริง

ระดับที่ 4. Law of though กฎแห่งความคิด

นักตรรกวิทยา (logician) ได้ให้คำนิยามของตรรกะ คือวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการมีเหตุผลที่มีความถูกต้อง และเชื่อว่า ตรรกวิทยาขึ้นกับหลักการที่ชื่อว่า กฎแห่งความคิด

โดยกฎแห่งความคิด แบ่งออกได้เป็น

  • Law of identity

  • Law of contradiction

  • Law of excluded middle